
วัคซีนสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี ( Momypedia)




การรับวัคซีนเข้าสู่ร่างกายเป็นวิธีป้องกันโรคที่ได้ผลดีที่สุด ซึ่งก็มีทั้งแบบฉีดและแบบรับประทาน โดยต้องใส่ใจเตรียมตัวและเตรียมลูกให้พร้อมก่อนไปรับวัคซีนทุกครั้ง ด้วยวิธีต่อไปนี้





วัคซีนแนะนำสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี
อายุการรับวัคซีน | วัคซีนแนะนำโดยกระทรวงสาธารณสุข |
12-18 เดือน | ไข้สมองอักเสบเจอี#1 และ#2 (วัคซีนเชื้อตาย : ห่างกัน 1-4 สัปดาห์) |
18 เดือน | คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดปกติ#4 หยอดโปลิโอ#4 |
2 – 2 ½ ปี | ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตาย#3 |
4-6 ปี | คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดปกติ#5 หยอดโปลิโอ#5 หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม#2 |
วัคซีนเสริมสำหรับเด็กวัย 1-3 ปี
อายุการรับวัคซีน | วัคซีนเสริม |
12-18 เดือน | ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดวัคซีนเชื้อมีชีวิต#1 และ#2 ห่างกัน 3 เดือน -1 ปี ไอพีดี#4 (ไม่สามารถรวมกับวัคซีนอื่นได้) อีสุกอีใส#1 ตับอักเสบเอ#1 และ #2 (ห่างกัน 6-12 เดือน) |
18 เดือน | คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์ โปลิโอชนิดฉีด ฮิบ#4 |
2 – 2 ½ ปี | ไม่ต้องฉีดไข้สมองอักเสบเจอี#3 หากใช้วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต หากยังไม่ฉีดอีสุกอีใสหรือตับอักเสบเอให้ฉีดได้เลย |
4-6 ปี | คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดชนิดไร้เซลล์สูตรเด็ก โปลิโอชนิดฉีด (หรือคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน ชนิดไร้เซลล์สูตรผู้ใหญ่-โปลิโอชนิดฉีด)#5 อีสุกอีใส#2 |

การฉีดวัคซีนเป็นเรื่องปกติที่เด็กทุกคนต้องเจอ ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนทางเลือก เพื่อเป็นเกราะป้องกันซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับลูก แต่การฉีดวัคซีนนั้น อาจมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับลูกบ้าง
เด็กที่มีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีน อาจไม่ได้มีอาการจากตัววัคซีนโดยตรง เนื่องจากในวัคซีนป้องกันโรค นอกจากจะประกอบด้วยสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรคแล้ว ยังมีสารอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนด้วย เช่น





ดังนั้นถ้าเด็กที่มีอาการแพ้จากสารที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีน ก็จะมีอาการข้างเคียงเมื่อได้รับวัคซีนได้

อาการข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตาย เช่น วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ภายในวันที่ฉีดวัคซีนและมักมีอาการไม่เกิน 2-3 วัน ส่วนวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อเป็น เช่น วัคซีนป้องกันโรคสุกใสหรือหัด หัดเยอรมันและคางทูม อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ไข้และผื่น ภายหลังฉีด 5-7 วัน นอกจากนี้วัคซีนป้องกันโรคหัด หัดเยอรมันและคางทูม ยังอาจทำให้มีอาการปวดข้อภายหลังฉีด 2-4 สัปดาห์ แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่า



อย่างไรก็ตามอาการแพ้วัคซีนขั้นรุนแรงโดยมีผื่นลมพิษ, หน้า ปาก มือและเท้าบวม, หายใจหอบ, ความดันโลหิตต่ำและช็อก มีจำนวนไม่มากนัก อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังฉีดวัคซีนไม่กี่นาทีจนถึง 2-3 วัน ต้องนำเด็กไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนและควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ วัคซีนพื้นฐานและวัคซีนทางเลือก ต่างก็ทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งนั้น ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ยังสามารถให้วัคซีนนั้น ๆ ซ้ำได้ แต่ถ้าลูกมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงมาก ไม่ควรให้วัคซีนนั้น ๆ อีก หากลูกที่มีไข้สูงหรือชักหลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดสเต็มเซลล์ ควรให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไม่มีเซลล์ซึ่งมีราคาสูงกว่า
โดยทั่วไปคุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ยาลดไข้กับลูกก่อนฉีดวัคซีน แต่ถ้าลูกเคยชักมาก่อน อาจให้ยาลดไข้ก่อนให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรนและบาดทะยัก ประมาณ 30 นาที รวมทั้งหลังได้วัคซีนแล้ว ก็อาจให้ยาลดไข้ต่อทุก 4-6 ชั่วโมง เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ถึงแม้การฉีดวัคซีนในเด็กอาจทำให้มีอาการข้างเคียงบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ลูกของคุณแม่ยังคงได้รับประโยชน์จากการรับวัคซีนมากกว่าปล่อยให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
