
5 วิธีดูแลบาดแผลให้ลูกวัยซน (Mother&Care)
เรื่อง : แม่ออมจัง
เมื่อเจ้าตัวเล็กเปลี่ยนวัยเป็นเจ้าหนูจอมซน อุบัติเหตุจากการเล่นซุกซนตามวัยอาจมีให้เห็นกันได้ ฉะนั้นเรื่องเด่นที่คนเป็นพ่อแม่ต้องป้องกัน คือ เรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อถึงขั้นเจ็บตัว มีบาดแผล สิ่งที่ทำได้คือการปฐมพยาบาล ดูแลลูกวัยซนอย่างเหมาะสม ถูกวิธี ด้วยคำแนะนำต่อไปนี้ค่ะ
1.แผลฟกซ้ำ
เป็นแผลที่เกิดได้จากการถูกของแข็งหนีบ, การกระทบกระแทก จะไม่มีบาดแผลฉีดขาดหรือเลือดออกให้เห็นจากภายนอก แต่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง และหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ทำให้เลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง ลักษณะที่เห็นชัดคือเป็นรอยช้ำ บวม และสีผิวเปลี่ยนไป (สีม่วงแดง)




2.แผลถลอก
เกิดจากการที่ผิวหนังชั้นนอกเสียดสีกับพื้นผิวที่ขรุขระ เช่น การหกล้ม สะดุด ลื่นล้ม เป็นต้น และมักเป็นแผลถลอกแบบตื้น มีเลือดซึมออกมาเล็กน้อย บางครั้งก็มีน้ำใส ๆ เหนียว ๆ ออกมา และมักมีฝุ่นผงหรือสิ่งสกปรกเล็ก ๆ ติดมาด้วย เป็นแผลที่มีโอกาสติดเชื้อ อักเสบได้




3.แผลถูกบาด
ลักษณะของแผลที่ถูกบาด แบ่งได้หลายลักษณะตามวัตถุ สิ่งของ เช่น มีด เศษแก้ว โลหะ รวมถึงของแหลมมีคมที่แทงเนื้อเยื่อ เช่น เข็มหมุด ตะปู ของปลายแหลม ทั้งนี้หลักการเบื้องต้นในการดูแลแผลที่ถูกบาด เน้นการป้องกันการติดเชื้อเหมือนกันค่ะ




4.แผลปากแตก ฟันโยก
เกิดได้ทั้งจากการหกล้ม วิ่งชนของแข็ง ตกจากที่สูง ฯลฯ ทำให้เกิดแผลที่ริมฝีปาก และส่งผลให้ฟันหน้าลูกโยกเล็กน้อย หรือมีเลือดออกซึม ๆ จากขอบเหงือกรอบฟันหน้า




5.แผลที่ศีรษะ
หลังจากที่ศีรษะกระแทกกับของแข็งเส้นเลือดจะมารวมตัวอยู่มากบริเวณที่ถูกกระแทก เห็นเป็นลักษณะปูด พูดติดปากเรียกว่า หัวปูด หัวโนนี่แหละค่ะ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.8 No.92 สิงหาคม 2555