
อุบัติเหตุยอดฮิต ของเจ้าหนูวัยเตาะแตะ (Mother & Care)
เคยนับกันบ้างไหมว่าใน 1 วัน คุณพ่อคุณแม่เกิดอาการใจหายใจคว่ำกับการใฝ่รู้ใฝ่เรียน (เอ๊ะ! หรือว่าใฝ่ซน) ของลูกน้อยวัยเตาะแตะบ่อยครั้งแค่ไหน?
เพราะเด็ก ๆ ในวัยนี้อยู่ในช่วงแห่งการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว แม้จะยังทรงตัวได้ไม่ดี เดินไม่แข็ง วิ่งไม่คล่อง หยิบจับอะไรก็ยังไม่กระชับเหมาะมือ แต่เจ้าหนูน้อยไม่สนซะล่ะ ก็อะไร ๆ ที่อยู่รอบกายของน้องหนูดูน่าสนใจ น่าหยิบจับ น่าเข้าไปหาไปดู ไปเล่น จนอดใจไม่ไหวนี่นา ด้วยเหตุนี้อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงเหตุอันตรายร้ายแรงต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นกับเจ้าหนูได้ตลอดเวลา
1.ไฟดูด
เพราะความอยากรู้อยากเห็นและไม่ทราบถึงอันตรายจากการเล่นปลั๊กไฟหรือการเอานิ้วหรือสิ่งของต่างๆ ไปแหย่ปลั๊กไฟ จึงทำให้บ่อยครั้งที่ได้ยินว่าเจ้าหนูวัยเตาะแตะได้รับอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด หากคุณพ่อคุณแม่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ร้าย ๆ แบบนี้ให้รีบถอดปลั๊กหรือสับคัทเอาท์ลงเพื่อตัดกระแสไฟฟ้าก่อน จากนั้นให้ใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น ไม้ ผ้า เชือก สายยาง เป็นต้น มาเขี่ยสายไฟให้หลุดออกจากตัวเด็ก หรืออาจใช้ถุงมือยางหรือผ้าแห้งพันมือให้หนาแล้วผลักเด็กให้หลุดออกมา ในขณะให้การช่วยเหลือต้องแน่ใจว่าผู้เข้าไปช่วยร่างกายต้องไม่เปียกขึ้นและห้ามใช้มือเปล่าในการช่วยเด็ดขาด หลังจากที่ช่วยออกมาแล้วหากเด็กหมดสติและและหัวใจหยุดเต้นให้รีบนวดหัวใจไปพร้อม ๆ กับการผายปอด และรีบนำส่งโรงพยาบาล
2.จมน้ำ
ประมาทไม่ได้เลยเชียวเรื่องเด็ก ๆ กับการเล่นน้ำอุบัติเหตุจากการจมน้ำส่วนใหญ่ก็หนีไม่พ้นแหล่งน้ำใกล้ ๆ ตัว เช่น ถังน้ำ อ่างน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ หรือคู คลอง หนอง บึงละแวกบ้าน แม้ระดับน้ำจะแค่ตื้น ๆ แต่หากพลั้งเผลอก็อาจเกิดเหตุร้ายกับเจ้าตัวเด็กขึ้นมาจริง ๆ ได้ ดังนั้นหากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น "สติ" คือสิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องมี จากนั้นดูอาการของลูกหากเขารู้สึกตัวและหายใจได้เอง คุณพ่อคุณแม่ก็เพียงเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น และสังเกตว่าลูกหายใจเป็นปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที กรณีที่ร้ายแรงกว่านั้น คือหากลูกไม่ได้สติ หายใจช้า หรือไม่หายใจ ให้ช่วยโดยใช้วิธีผายปอดและรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้า...



ข้อควรระวัง คือ เมื่อช่วยเด็กขึ้นมาจากน้ำแล้วไม่ควรจับอุ้มพาดบ่าแล้ววิ่ง หรือกระโดดเพื่อกระทุ้งให้น้ำออก เพราะจะยิ่งทำให้เด็กขาดอากาศหายใจนานายิ่งขึ้น
3.สิ่งแปลกปลอมติดในหลอดลม
เผลอเป็นไม่ได้กับเจ้าหนูวัยเตาะแตะที่มักจะเห็นอะไรก็ไขว่คว้าหยิบจับ และที่น่าหนักใจก็คือหยิบปุ๊บเอาเข้าปากปั๊บนี่สิ อันตรายจริงๆ ลูกเอ๋ยที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติ ห้ามใช้นิ้วควานช่องปากช่องคอ เพราะอาจดันให้สิ่งแปลกปลอมเลื่อนลึกลงไป ไม่ควรจับเด็กห้อยศีรษะลงและตบหลังเพราะสิ่งที่เข้าไปอุดตันอาจตกไปอุดที่กล่องเสียงได้ วิธีช่วยเหลือที่ถูกต้อง คือ จับเด็กนอนคว่ำพาดตัก โดยกดศีรษะให้อยู่ต่ำกว่าลำตัว จากนั้นตบที่กลางหลัง เพื่อให้เด็กไอเอาสิ่งแปลกปลอมออกมา หากยังไม่ได้ผลให้รีบพาส่งโรงพยาบาล
อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้า...




4.อันตรายจากของมีคม
ของต้องห้ามสำหรับเด็ก ๆ มักดึงดูดความอยากรู้อยากเห็นของเจ้าหนูอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นของมีคมอย่างกรรไกร มีด เข็มกลัด ส้อม ไม้แหลม หรือแม้กระทั่ง ของเล่นที่มีส่วนคมหรือปลายแหลมออกมา ก็มักจะทำให้ลูกน้อยต้องร้องโอดโอย มีแผลเลือดไหลอยู่ร่ำไป หากไม่ทันระวังปล่อยให้ลูกรักได้แผลจากของมีคม อันดับแรกให้ห้ามเลือดก่อนโดยใช้สำลีหรือผ้าสะอาดกดแช่ที่บาดแผล หากเลือดหยุดแล้วให้ล้างแผลด้วย น้ำสะอาดแล้วใส่ยาทาแผลสด จากนั้นปิดแผลด้วย ผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์ยา
อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้า...



5.ลื่น ล้ม ตก กระแทก
จะด้วยความซนของเจ้าหนูหรือความประมาทของคุณพ่อคุณแม่ อันตรายจากการลื่นหกล้ม ตกจากที่สูง หรือวิ่งชนสิ่งต่าง ๆ ฯลฯ มักฝากบาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างรอยฟกซ้ำดำเขียว ปากแตก หัวโน ไปจนถึงอาการสาหัสอย่างแขนขาหัก หัวแตก สมองกระทบกระเทือน และอาจถึงขั้นหมดสติหรือมากกว่านั้นก็เป็นได้
สำหรับการดูแลในเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่คงต้องดูไปตามอาการที่เจ้าหนูเป็น เช่น หากเจ้าตัวน้อยตัวโน มีอาการฟกช้ำให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวม จนผ่านไป 24 ชั่วโมงจึงค่อยใช้น้ำอุ่นประคบ เพื่อลดอาการช้ำ แต่ถ้ามีแผลแตกถลอกให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดแล้วค่อยทายาใส่แผลสด กรณีที่เจ้าหนูมีอาการสาหัสมากกว่านี้ให้รีบพาไปโรงพยาบาลทันที
อุบัติเหตุป้องกันได้ถ้า...



ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.7 No.82 ตุลาคม 2554