ฝึกให้ลูกนอนยาว ใครกำลังประสบปัญหาลูกนอนยาก ตื่นมาร้องกลางดึก จนพ่อแม่กลายเป็นแพนด้าโดยไม่รู้ตัว ลองทำตามเทคนิคง่าย ๆ วิธีฝึกลูกนอนยาวที่เรานำมาฝากกันดู รับรองว่าหลับสบายทั้งครอบครัว
สิ่งที่กวนใจคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนเสมอมา หนีไม่พ้นปัญหาการนอนของลูกน้อย ที่ร้องไห้โยเยตลอดคืน หรือนอนหลับไปครู่เดียวก็ไม่ยอมนอนต่อ ทำให้พ่อแม่กลายสภาพเป็นแพนด้าในตอนกลางวัน และเป็นนกฮูกในช่วงกลางคืน นานเข้าก็จะอาจเป็นซอมบี้ไปเลย แบบนี้ไม่ดีแน่ ๆ วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีเคล็ดลับให้ลูกหลับ ฝึกให้ลูกนอนยาวมาฝาก เพราะการที่ลูกนอนหลับสบาย ครอบครัวก็ผ่อนคลายตลอดคืนไปด้วย อีกทั้งการนอนหลับที่ยาวนานขึ้นยังส่งผลดีต่อพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็ก ๆ ด้วย ไปดูกันเลยว่ามีวิธีเลี้ยงลูกให้นอนยาวแบบไหนบ้าง
ลูกนอนยาว ความจริงคือแบบนี้...
ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของการนอนหลับยาวสำหรับทารกกันเลย คำว่า “หลับยาว” ทั่วไปตามการแพทย์ก็คือ การที่เด็กนอนหลับยาวกว่า 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป เริ่มนอนตรงเวลา หลับได้สนิท และตื่นนอนตรงเวลา ซึ่งเป็นเป้าหมายของการนอนหลับที่ดี
ฝึกลูกให้นอนยาว เริ่มตอนกี่เดือนดี ?
หากมองย้อนตั้งแต่แรกเกิดและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เด็กจะเริ่มเรียนรู้กลางวัน-กลางคืนได้หลังอายุ 1-2 เดือน โดยที่น้ำหนักขึ้นดีและกินนมได้ดี เด็กจะเริ่มนอนยาวขึ้นในช่วงกลางคืนอยู่แล้ว จาก 2-3 ชม. ต่อรอบ ใน 1-2 เดือนแรก เป็น 3-6 ชม. ต่อรอบ ตอนอายุ 3-4 เดือน
โดยในช่วง 2 เดือนแรก หากเด็กนอนยาวเกิน 4 ชม. คุณแม่ควรต้องปลุกลูกมาเข้าเต้าหรือกินนม ไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิด "ภาวะน้ำตาลต่ำ" ได้
8 เทคนิค ฝึกลูกให้นอนยาว
1. สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูก
แม้จะอ่านตำรามามากมาย อย่างไรก็แล้วแต่ เด็กแต่ละคนจะมีช่วงเวลาและนิสัยในการนอนไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็คือให้คุณแม่สังเกตว่าเจ้าตัวน้อยของเรานอนนานช่วงไหน และใช้ช่วงนั้นฝึกให้เขานอนยาวขึ้น เช่น ลูกนอนยาวได้ช่วงตี 1 ถึงตี 5 ก็อาจใช้ช่วงนี้ฝึกให้เขานอนเป็นเวลาและนานขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหลังจาก 4 เดือน ลูกจะสามารถนอนยาวตลอดทั้งคืนได้แล้ว
2. สอนให้ลูกรู้จักกลางวัน-กลางคืน
ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาแล้ว เป็นธรรมดาที่เขาจะยังไม่สามารถแยกระหว่างกลางวันและกลางคืนเองได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกตื่นบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสอนให้ลูกรู้ว่าช่วงไหนคือตอนกลางวัน และตอนกลางคืน เพื่อฝึกให้ลูกเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นตั้งแต่เช้า
ช่วงเช้า 07.00-08.00 น. เป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะฝึกให้ลูกตื่นนอน เปิดหน้าต่างให้แสงสว่างเข้า หรือเปิดไฟ เปิดเพลง และเริ่มกิจวัตรประจำวันยามเช้า เช่น ล้างหน้า เช็ดก้น เปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้ลูกน้อยรู้ว่าต้องตื่นแล้ว
ช่วงกลางวัน พูดคุยและเล่นกับลูก สามารถให้ลูกนอนกลางวันได้ตามปกติ แต่ไม่ควรให้นอนมากเกินไป หรือนอนตอนเย็น เพราะอาจมีผลกับช่วงเวลานอนกลางคืนได้
ช่วงกลางคืน ควรพาเข้านอนไม่เกิน 21.00 น. หลังจากให้ลูกกินนมก่อนนอน 45 นาที และจับให้ลูกเรอแล้ว ควรปิดไฟให้มืด นำลูกห่างจากจอสีฟ้า อยู่ไกลจากทีวีและมือถือ พยายามอย่าให้มีเสียงรบกวน
ลองทำตามขั้นตอนแบบนี้ ลูกจะเริ่มเรียนรู้เองว่ากลางวันจะมีแสงสว่าง มีเสียงต่าง ๆ ส่วนกลางคืนจะมืดและเงียบสงบ
3. สร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน
ห้องนอนน่าอยู่ ชวนให้หลับ ก็จะช่วยให้หนูน้อยนอนยาวขึ้นได้เหมือนกันนะ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอุณหภูมิห้องไม่ให้ร้อนหรือหนาวเกินไป จัดที่นอนที่อบอุ่นให้ลูก ใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว ปรับแสงไฟให้มืดหรือสลัว ๆ เสียงไม่ดังหนวกหู อาจมีเสียงพัดลมหึ่งเบา ๆ เสียงนาฬิกาเดิน จะทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้นและทำให้ห้องดูไม่วังเวงเกินไป
4. ทำช่วงเวลาก่อนนอนให้เป็นกิจวัตร
ฝึกลูกให้รู้ว่าใกล้เวลานอนแล้ว โดยทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนแบบเดิม เช่น อาบน้ำอุ่น ใส่ชุดนอน กินนม แปรงฟัน กล่อมนอนโดยร้องเพลงหรือเล่านิทาน เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน พร้อมกล่าวราตรีสวัสดิ์กับลูกน้อย ซึ่งควรใช้คำพูดเดิมซ้ำ ๆ ทุกครั้ง น้ำเสียงโทนต่ำ ราบเรียบ แม้ลูกจะยังฟังไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้ น้ำเสียงแบบนี้บนที่นอน คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว โดยทั่วไปลูกอาจร้องอยู่นาน 1-2 ชม. ในวันแรก ๆ แต่จะร้องน้อยลงและหยุดร้องภายใน 1-2 สัปดาห์ค่ะ
5. เพิ่มนมตอนกลางวัน งดมื้อดึกตอนกลางคืน
ลองเพิ่มนมหรืออาหารในช่วงกลางวันให้มากขึ้น โดยมื้อกลางวันอาจเพิ่มอาหารเสริมที่ให้พลังงานกับลูก ลูกจะได้อิ่มนานและอยู่ท้องไปจนถึงกลางคืน พอลูกอิ่มมาก ๆ หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อนนั่นเอง แต่ควรงดมื้อดึกให้ไว หลังลูกอายุ 6 เดือน เพื่อช่วยให้ลูกนอนยาวขึ้น และดีต่อสุขภาพฟันด้วย
6. ปล่อยให้ลูกเล่นเต็มที่ในช่วงกลางวัน
การที่ลูกเล่นตอนกลางวัน ใช้พลังงานเต็มที่ เมื่อถึงเวลากลางคืน ลูก ๆ จะหมดแรงและทำให้หลับได้เร็วและยาวนานขึ้น เพราะฉะนั้น ในช่วงกลางวัน คุณแม่อาจเตรียมของเล่นหรือพื้นที่ให้ลูกอย่างเหมาะสม ปลอดภัย เช่น มีคอกกั้นบริเวณบ้าน เพื่อให้ลูกคลานเล่น แต่เตือนไว้นิดหนึ่งว่า เด็กบางคนอาจฝันร้ายได้จากการเล่นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอน ดังนั้นควรงดการเล่นอะไรที่ตื่นเต้นในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนนอนนะคะ
7. อย่าลุกหาลูกทันทีที่ลูกส่งเสียงร้อง
ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความใจแข็งของคุณแม่ แต่ต้องลองทำดูค่ะ โดยกรณีที่ลูกนอนคนละห้อง เมื่อลูกร้องเรียก ให้แอบดูก่อนว่ามีปัญหาอะไร สามารถช่วยเหลือได้โดยไม่เปิดไฟสว่างจ้า แล้วจัดให้ลูกนอนลง ตบก้นลูกเบา ๆ โดยไม่ต้องอุ้ม รอจนลูกสงบ หากลูกร้องอีกให้รอประมาณ 5 นาทีแล้วค่อยเดินกลับไปหาลูก เมื่อลูกเริ่มสงบให้เดินออก ถ้าลูกร้องอีกก็ให้รอนานขึ้นครั้งละ 5 นาที เชื่อเถอะว่าลูกจะร้องไห้จนหลับไปเองในที่สุด ซึ่งหากทำเหมือนเดิมในคืนต่อไป ช่วงเวลาการร้องไห้ของลูกจะสั้นลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่จะหยุดร้องใน 1 สัปดาห์
ในกรณีที่นอนห้องเดียวกัน หลังจากโอ๋ลูกแล้ว ให้คุณแม่เดินออกจากห้องแล้วรอให้ลูกหลับเองก่อน แล้วจึงกลับเข้ามาในห้อง อย่าลืมบอกทุกคนในบ้านด้วยว่าคุณกำลังฝึกลูกนอนยาว อาจจะต้องขอให้อดทนกับเสียงร้องไห้กันสัก 1-2 สัปดาห์นะ
8. หาสาเหตุที่ลูกตื่นกลางดึก
บางครั้งที่ลูกมีปัญหาตื่นกลางดึก อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดฟัน เวลาฟันขึ้น ให้แก้ไขโดยใช้นิ้วมือสะอาดนวดเหงือกบ่อย ๆ ปัญหาเจ็บป่วยอย่างผิวหนังแพ้ทำให้เกิดอาการคันมาก ปวดหูจากการอักเสบ คัดจมูกมากจากการเป็นหวัดหรือภูมิแพ้ ซึ่งการแก้ไขที่ต้นเหตุจะช่วยให้ลูกเป็นปกติได้ดังเดิมค่ะ
การนอนยาวของลูก นับเป็นสวรรค์ของคุณพ่อคุณแม่มาก ๆ ดังนั้นทุกบ้านควรจะสร้างสุขลักษณะการนอนหลับที่ดีให้กับลูก ๆ เพื่อจะได้ลาออกจากคลับพ่อแม่ลูกอ่อนนอนน้อย แต่นอนนะ กันสักที คราวนี้ทั้งครอบครัวก็จะได้นอนเต็มที่ ตื่นมาก็สดใส แฮปปี้ทุกวันแล้วล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก เลี้ยงลูกตามใจหมอ, เฟซบุ๊ก สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, happymom.in.th
ลูกนอนยาว ความจริงคือแบบนี้...
ก่อนอื่นมารู้จักความหมายของการนอนหลับยาวสำหรับทารกกันเลย คำว่า “หลับยาว” ทั่วไปตามการแพทย์ก็คือ การที่เด็กนอนหลับยาวกว่า 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป เริ่มนอนตรงเวลา หลับได้สนิท และตื่นนอนตรงเวลา ซึ่งเป็นเป้าหมายของการนอนหลับที่ดี
ฝึกลูกให้นอนยาว เริ่มตอนกี่เดือนดี ?
หากมองย้อนตั้งแต่แรกเกิดและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เด็กจะเริ่มเรียนรู้กลางวัน-กลางคืนได้หลังอายุ 1-2 เดือน โดยที่น้ำหนักขึ้นดีและกินนมได้ดี เด็กจะเริ่มนอนยาวขึ้นในช่วงกลางคืนอยู่แล้ว จาก 2-3 ชม. ต่อรอบ ใน 1-2 เดือนแรก เป็น 3-6 ชม. ต่อรอบ ตอนอายุ 3-4 เดือน
โดยในช่วง 2 เดือนแรก หากเด็กนอนยาวเกิน 4 ชม. คุณแม่ควรต้องปลุกลูกมาเข้าเต้าหรือกินนม ไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยงในการเกิด "ภาวะน้ำตาลต่ำ" ได้
เมื่ออายุประมาณ 3 เดือน เราอาจเริ่มฝึกให้ทารกเริ่มนอนเป็นเวลาได้แล้ว โดยพาเข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยช่วงกลางวันจะหลับ 2 ช่วง คือ ช่วงสาย 09.00-10.00 น. และช่วงเที่ยง 12.00-13.00 น. ส่วนช่วงกลางคืนควรพาลูกเข้านอนตั้งแต่เวลา 19.00 น. ทั้งนี้ ทารกส่วนใหญ่จะหลับยาวได้ที่อายุ 5 เดือน
1. สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูก
แม้จะอ่านตำรามามากมาย อย่างไรก็แล้วแต่ เด็กแต่ละคนจะมีช่วงเวลาและนิสัยในการนอนไม่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็คือให้คุณแม่สังเกตว่าเจ้าตัวน้อยของเรานอนนานช่วงไหน และใช้ช่วงนั้นฝึกให้เขานอนยาวขึ้น เช่น ลูกนอนยาวได้ช่วงตี 1 ถึงตี 5 ก็อาจใช้ช่วงนี้ฝึกให้เขานอนเป็นเวลาและนานขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหลังจาก 4 เดือน ลูกจะสามารถนอนยาวตลอดทั้งคืนได้แล้ว
2. สอนให้ลูกรู้จักกลางวัน-กลางคืน
ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในท้องแม่ เมื่อคลอดออกมาแล้ว เป็นธรรมดาที่เขาจะยังไม่สามารถแยกระหว่างกลางวันและกลางคืนเองได้ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกตื่นบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสอนให้ลูกรู้ว่าช่วงไหนคือตอนกลางวัน และตอนกลางคืน เพื่อฝึกให้ลูกเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำและตื่นตั้งแต่เช้า
ช่วงเช้า 07.00-08.00 น. เป็นช่วงเวลาที่เหมาะจะฝึกให้ลูกตื่นนอน เปิดหน้าต่างให้แสงสว่างเข้า หรือเปิดไฟ เปิดเพลง และเริ่มกิจวัตรประจำวันยามเช้า เช่น ล้างหน้า เช็ดก้น เปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้ลูกน้อยรู้ว่าต้องตื่นแล้ว
ช่วงกลางวัน พูดคุยและเล่นกับลูก สามารถให้ลูกนอนกลางวันได้ตามปกติ แต่ไม่ควรให้นอนมากเกินไป หรือนอนตอนเย็น เพราะอาจมีผลกับช่วงเวลานอนกลางคืนได้
ช่วงกลางคืน ควรพาเข้านอนไม่เกิน 21.00 น. หลังจากให้ลูกกินนมก่อนนอน 45 นาที และจับให้ลูกเรอแล้ว ควรปิดไฟให้มืด นำลูกห่างจากจอสีฟ้า อยู่ไกลจากทีวีและมือถือ พยายามอย่าให้มีเสียงรบกวน
ลองทำตามขั้นตอนแบบนี้ ลูกจะเริ่มเรียนรู้เองว่ากลางวันจะมีแสงสว่าง มีเสียงต่าง ๆ ส่วนกลางคืนจะมืดและเงียบสงบ
ห้องนอนน่าอยู่ ชวนให้หลับ ก็จะช่วยให้หนูน้อยนอนยาวขึ้นได้เหมือนกันนะ ไม่ว่าจะเป็นการปรับอุณหภูมิห้องไม่ให้ร้อนหรือหนาวเกินไป จัดที่นอนที่อบอุ่นให้ลูก ใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว ปรับแสงไฟให้มืดหรือสลัว ๆ เสียงไม่ดังหนวกหู อาจมีเสียงพัดลมหึ่งเบา ๆ เสียงนาฬิกาเดิน จะทำให้ลูกนอนหลับง่ายขึ้นและทำให้ห้องดูไม่วังเวงเกินไป
4. ทำช่วงเวลาก่อนนอนให้เป็นกิจวัตร
ฝึกลูกให้รู้ว่าใกล้เวลานอนแล้ว โดยทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนแบบเดิม เช่น อาบน้ำอุ่น ใส่ชุดนอน กินนม แปรงฟัน กล่อมนอนโดยร้องเพลงหรือเล่านิทาน เข้านอนให้ตรงเวลาทุกวัน พร้อมกล่าวราตรีสวัสดิ์กับลูกน้อย ซึ่งควรใช้คำพูดเดิมซ้ำ ๆ ทุกครั้ง น้ำเสียงโทนต่ำ ราบเรียบ แม้ลูกจะยังฟังไม่รู้เรื่องก็ไม่เป็นไร เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ว่า เมื่อพ่อแม่พูดคำนี้ น้ำเสียงแบบนี้บนที่นอน คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว โดยทั่วไปลูกอาจร้องอยู่นาน 1-2 ชม. ในวันแรก ๆ แต่จะร้องน้อยลงและหยุดร้องภายใน 1-2 สัปดาห์ค่ะ
5. เพิ่มนมตอนกลางวัน งดมื้อดึกตอนกลางคืน
ลองเพิ่มนมหรืออาหารในช่วงกลางวันให้มากขึ้น โดยมื้อกลางวันอาจเพิ่มอาหารเสริมที่ให้พลังงานกับลูก ลูกจะได้อิ่มนานและอยู่ท้องไปจนถึงกลางคืน พอลูกอิ่มมาก ๆ หนังท้องตึง หนังตาก็หย่อนนั่นเอง แต่ควรงดมื้อดึกให้ไว หลังลูกอายุ 6 เดือน เพื่อช่วยให้ลูกนอนยาวขึ้น และดีต่อสุขภาพฟันด้วย
การที่ลูกเล่นตอนกลางวัน ใช้พลังงานเต็มที่ เมื่อถึงเวลากลางคืน ลูก ๆ จะหมดแรงและทำให้หลับได้เร็วและยาวนานขึ้น เพราะฉะนั้น ในช่วงกลางวัน คุณแม่อาจเตรียมของเล่นหรือพื้นที่ให้ลูกอย่างเหมาะสม ปลอดภัย เช่น มีคอกกั้นบริเวณบ้าน เพื่อให้ลูกคลานเล่น แต่เตือนไว้นิดหนึ่งว่า เด็กบางคนอาจฝันร้ายได้จากการเล่นมากในช่วงเย็นหรือก่อนนอน ดังนั้นควรงดการเล่นอะไรที่ตื่นเต้นในช่วง 1 ชั่วโมงก่อนนอนนะคะ
7. อย่าลุกหาลูกทันทีที่ลูกส่งเสียงร้อง
ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความใจแข็งของคุณแม่ แต่ต้องลองทำดูค่ะ โดยกรณีที่ลูกนอนคนละห้อง เมื่อลูกร้องเรียก ให้แอบดูก่อนว่ามีปัญหาอะไร สามารถช่วยเหลือได้โดยไม่เปิดไฟสว่างจ้า แล้วจัดให้ลูกนอนลง ตบก้นลูกเบา ๆ โดยไม่ต้องอุ้ม รอจนลูกสงบ หากลูกร้องอีกให้รอประมาณ 5 นาทีแล้วค่อยเดินกลับไปหาลูก เมื่อลูกเริ่มสงบให้เดินออก ถ้าลูกร้องอีกก็ให้รอนานขึ้นครั้งละ 5 นาที เชื่อเถอะว่าลูกจะร้องไห้จนหลับไปเองในที่สุด ซึ่งหากทำเหมือนเดิมในคืนต่อไป ช่วงเวลาการร้องไห้ของลูกจะสั้นลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่จะหยุดร้องใน 1 สัปดาห์
ในกรณีที่นอนห้องเดียวกัน หลังจากโอ๋ลูกแล้ว ให้คุณแม่เดินออกจากห้องแล้วรอให้ลูกหลับเองก่อน แล้วจึงกลับเข้ามาในห้อง อย่าลืมบอกทุกคนในบ้านด้วยว่าคุณกำลังฝึกลูกนอนยาว อาจจะต้องขอให้อดทนกับเสียงร้องไห้กันสัก 1-2 สัปดาห์นะ
8. หาสาเหตุที่ลูกตื่นกลางดึก
บางครั้งที่ลูกมีปัญหาตื่นกลางดึก อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ได้แก่ ปวดฟัน เวลาฟันขึ้น ให้แก้ไขโดยใช้นิ้วมือสะอาดนวดเหงือกบ่อย ๆ ปัญหาเจ็บป่วยอย่างผิวหนังแพ้ทำให้เกิดอาการคันมาก ปวดหูจากการอักเสบ คัดจมูกมากจากการเป็นหวัดหรือภูมิแพ้ ซึ่งการแก้ไขที่ต้นเหตุจะช่วยให้ลูกเป็นปกติได้ดังเดิมค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟซบุ๊ก เลี้ยงลูกตามใจหมอ, เฟซบุ๊ก สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, happymom.in.th