อาการท้องผูกในทารก ปัญหาของลูกน้อยที่คุณแม่ควรทำความเข้าใจ พร้อมรู้จักวิธีสังเกตอาการ สาเหตุ และวิธีแก้ไข ก่อนเจ้าตัวเล็กจะงอแงกว่าเดิม
ลูกท้องผูกควรทำอย่างไรดี ? ปัญหายอดฮิตที่สร้างความเครียดให้กับคุณแม่อยู่ไม่น้อย เพราะไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร และจะทำยังไงให้หาย วันนี้ไม่ต้องเป็นกังวลใจแล้วค่ะ เพราะกระปุกดอทคอมจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ อาการท้องผูกในเด็กทารก พร้อมคำแนะนำดี ๆ ที่สามารถช่วยให้ลูกน้อยของคุณไม่ต้องทรมานกับการขับถ่ายลำบากค่ะ
ลูกท้องผูก มีอาการอย่างไร ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ระยะเว้นช่วงขับถ่ายไม่ใช่สิ่งที่จะบอกว่าลูกของเราท้องผูกหรือไม่ เพราะเด็กที่ไม่ถ่ายหลายวันแต่อุจจาระออกมานิ่ม ไม่คล้ำ ก็เป็นเรื่องปกติ คุณแม่จึงควรสังเกตจาก "อุจจาระ" เป็นหลัก เด็กที่ท้องผูกจะมีอุจจาระแข็งเป็นเม็ดเล็กคล้ายกระสุน เนื้อแห้งเหนียว มีอาการท้องอืด ท้องแข็ง ขับถ่ายลำบาก และขับถ่ายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ติดต่อกันนาน ๆ
ทั้งนี้ อาการดังกล่าวยังไม่ใช่เรื่องใหญ่และสามารถแก้ไขได้เบื้องต้น แต่ถ้าเห็นว่าลูกน้อยเริ่มนอนนิ่ง งอแงเวลาพลิกตัว ไม่ยอมกินข้าว น้ำหนักตัวลดมากผิดปกติ มีไข้ อาเจียน หรืออุจจาระมีเลือดผสมมากอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
ลูกท้องผูก มีสาเหตุมาจากอะไร ?
อาการท้องผูก เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะอาหารการกิน แต่บางทีเรื่องร่างกายหรือพันธุกรรมก็มีส่วนเช่นกัน ดังนี้ค่ะ
- รับสารอาหารไม่ดีผ่านน้ำนมแม่ เพราะการกินของคุณแม่นั้นมีผลต่อน้ำนม ใครชอบของหมักดอง หรืออาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง พวกสารอาหารที่ไม่ดีก็จะส่งถึงลูกน้อยโดยตรงด้วยค่ะ
- แพ้อาหารหรือนมผง เด็กที่เริ่มดื่มนมผงและกินอาหารเหลว ร่างกายจะยังไม่คุ้นชินกับการย่อยอาหารที่ไม่ใช่น้ำนมแม่ ยิ่งถ้าแพ้ส่วนผสมบางอย่าง จะเกิดอาการอาหารไม่ย่อยและท้องผูกจนขับถ่ายลำบากได้ง่าย
- ดื่มนมหรือน้ำน้อย เมื่อเด็กได้รับน้ำนมหรือน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะดูดซึมน้ำจากอาหารที่กินเข้าไป ทำให้ท้องผูก อุจจาระแห้งและแข็งจนขับถ่ายลำบากได้
- มีโรคประจำตัว เด็กบางคนมีระบบการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติ หรือได้รับยารักษาบางชนิด ที่ทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร ดื่มน้ำ ส่งผลให้ระบบย่อยไม่ทำงาน ตามด้วยปัญหาท้องผูก ไม่ขับถ่าย
วิธีแก้ลูกท้องผูก ควรทำอย่างไร ?
การปรับพฤติกรรมการกินและพิถีพิถันเรื่องอาหาร ทั้งของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง คือวิธีแก้ไขและได้ผลดีที่สุด ซึ่งเด็ก ๆ ก็มีข้อจำกัดในการรับสารอาหารแตกต่างกัน เราจึงขอแบ่งออกง่าย ๆ ตามนี้ค่ะ
- ทารกที่ยังไม่หย่านมแม่ คุณแม่ควรดื่มน้ำปริมาณมาก และกินผลไม้ที่ดีต่อการขับถ่ายอย่าง ส้ม ลูกพรุน มะละกอ หรือมะขามเยอะ ๆ เพื่อให้น้ำนมมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ สำหรับลูกน้อย ควบคู่ไปกับการเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน และของหวาน
- ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ให้ผสมน้ำผลไม้อย่าง แอปเปิล ลูกพรุน หรือลูกแพร์ วันละ 30-60 มิลลิลิตร ในนมให้ลูกดื่ม และควรให้ลูกกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่าง บรอกโคลี ลูกพรุน มะละกอ แอปเปิลปอกเปลือก หรือธัญพืชปรุงสุก แทนอาหารย่อยยาก จำพวกข้าว แครอต และกล้วย
นอกจากนี้ คุณแม่ยังช่วยบริหารลำไส้ให้ลูกน้อยได้ด้วยการคลึงและนวดเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกาที่ท้องด้านขวา หรือยกขาถีบคล้ายปั่นจักรยาน ส่วนใครที่ลูกกินนมผง ก็ควรสังเกตด้วยว่าลูกของเราแพ้ส่วนผสมอะไรหรือไม่ หากมีก็ควรปรึกษาแพทย์และเปลี่ยนยี่ห้อทันทีค่ะ
อย่างไรก็ดี การใช้ยารักษาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและรักษาได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ถ้าอยากให้เจ้าตัวเล็กของเรามีสุขภาพที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายในระยะยาว คุณแม่ก็ต้องพิถีพิถันเรื่องอาหารการกิน และควรฝึกให้เด็ก ๆ ขับถ่ายเป็นประจำกันด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก : babycenter.com, pobpad.com, mayoclinic.org
ลูกท้องผูก มีอาการอย่างไร ?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ระยะเว้นช่วงขับถ่ายไม่ใช่สิ่งที่จะบอกว่าลูกของเราท้องผูกหรือไม่ เพราะเด็กที่ไม่ถ่ายหลายวันแต่อุจจาระออกมานิ่ม ไม่คล้ำ ก็เป็นเรื่องปกติ คุณแม่จึงควรสังเกตจาก "อุจจาระ" เป็นหลัก เด็กที่ท้องผูกจะมีอุจจาระแข็งเป็นเม็ดเล็กคล้ายกระสุน เนื้อแห้งเหนียว มีอาการท้องอืด ท้องแข็ง ขับถ่ายลำบาก และขับถ่ายน้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ติดต่อกันนาน ๆ
ทั้งนี้ อาการดังกล่าวยังไม่ใช่เรื่องใหญ่และสามารถแก้ไขได้เบื้องต้น แต่ถ้าเห็นว่าลูกน้อยเริ่มนอนนิ่ง งอแงเวลาพลิกตัว ไม่ยอมกินข้าว น้ำหนักตัวลดมากผิดปกติ มีไข้ อาเจียน หรืออุจจาระมีเลือดผสมมากอย่างเห็นได้ชัด คุณแม่ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
ลูกท้องผูก มีสาเหตุมาจากอะไร ?
อาการท้องผูก เกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ส่วนใหญ่จะเป็นเพราะอาหารการกิน แต่บางทีเรื่องร่างกายหรือพันธุกรรมก็มีส่วนเช่นกัน ดังนี้ค่ะ
- รับสารอาหารไม่ดีผ่านน้ำนมแม่ เพราะการกินของคุณแม่นั้นมีผลต่อน้ำนม ใครชอบของหมักดอง หรืออาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง พวกสารอาหารที่ไม่ดีก็จะส่งถึงลูกน้อยโดยตรงด้วยค่ะ
- แพ้อาหารหรือนมผง เด็กที่เริ่มดื่มนมผงและกินอาหารเหลว ร่างกายจะยังไม่คุ้นชินกับการย่อยอาหารที่ไม่ใช่น้ำนมแม่ ยิ่งถ้าแพ้ส่วนผสมบางอย่าง จะเกิดอาการอาหารไม่ย่อยและท้องผูกจนขับถ่ายลำบากได้ง่าย
- ดื่มนมหรือน้ำน้อย เมื่อเด็กได้รับน้ำนมหรือน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายจะดูดซึมน้ำจากอาหารที่กินเข้าไป ทำให้ท้องผูก อุจจาระแห้งและแข็งจนขับถ่ายลำบากได้
- มีโรคประจำตัว เด็กบางคนมีระบบการเผาผลาญที่ทำงานผิดปกติ หรือได้รับยารักษาบางชนิด ที่ทำให้ไม่รู้สึกอยากอาหาร ดื่มน้ำ ส่งผลให้ระบบย่อยไม่ทำงาน ตามด้วยปัญหาท้องผูก ไม่ขับถ่าย
การปรับพฤติกรรมการกินและพิถีพิถันเรื่องอาหาร ทั้งของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง คือวิธีแก้ไขและได้ผลดีที่สุด ซึ่งเด็ก ๆ ก็มีข้อจำกัดในการรับสารอาหารแตกต่างกัน เราจึงขอแบ่งออกง่าย ๆ ตามนี้ค่ะ
- ทารกที่ยังไม่หย่านมแม่ คุณแม่ควรดื่มน้ำปริมาณมาก และกินผลไม้ที่ดีต่อการขับถ่ายอย่าง ส้ม ลูกพรุน มะละกอ หรือมะขามเยอะ ๆ เพื่อให้น้ำนมมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อน ๆ สำหรับลูกน้อย ควบคู่ไปกับการเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน และของหวาน
- ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป ให้ผสมน้ำผลไม้อย่าง แอปเปิล ลูกพรุน หรือลูกแพร์ วันละ 30-60 มิลลิลิตร ในนมให้ลูกดื่ม และควรให้ลูกกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอย่าง บรอกโคลี ลูกพรุน มะละกอ แอปเปิลปอกเปลือก หรือธัญพืชปรุงสุก แทนอาหารย่อยยาก จำพวกข้าว แครอต และกล้วย
นอกจากนี้ คุณแม่ยังช่วยบริหารลำไส้ให้ลูกน้อยได้ด้วยการคลึงและนวดเบา ๆ วนตามเข็มนาฬิกาที่ท้องด้านขวา หรือยกขาถีบคล้ายปั่นจักรยาน ส่วนใครที่ลูกกินนมผง ก็ควรสังเกตด้วยว่าลูกของเราแพ้ส่วนผสมอะไรหรือไม่ หากมีก็ควรปรึกษาแพทย์และเปลี่ยนยี่ห้อทันทีค่ะ
อย่างไรก็ดี การใช้ยารักษาเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและรักษาได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ถ้าอยากให้เจ้าตัวเล็กของเรามีสุขภาพที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่ายในระยะยาว คุณแม่ก็ต้องพิถีพิถันเรื่องอาหารการกิน และควรฝึกให้เด็ก ๆ ขับถ่ายเป็นประจำกันด้วยนะคะ
ข้อมูลจาก : babycenter.com, pobpad.com, mayoclinic.org