
โรคมะเร็งจอตาในเด็ก เสี่ยง ! ในเด็กตั้งแต่ 1 ขวบ ไปจนถึง 5 ขวบ วันนี้กระปุกดอทคอมมีวิธีสังเกตอาการตาวาวในเด็ก และสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีภาวะเสี่ยงเป็น มะเร็งจอตา มาฝากคุณพ่อคุณแม่ ส่วนอาการแบบไหนถึงเรียกว่าลูกอยู่ในภาวะเสี่ยง เรามีข้อมูลความผิดปกติและวิธีสังเกตอาการลูกน้อยมาแนะนำ ส่วนอาการตาวาวจะเป็นอย่างไรไปดูคำตอบจาก นิตยสารรักลูก กันค่ะ
ภาวะตาวาวคือ การที่บริเวณจอประสาทตาด้านในมีก้อนสีขาวเกิดขึ้นเมื่อมีแสงไฟมากระทบ จึงทำให้สะท้อนออกมาเป็นลักษณะวาว ๆ ที่ดวงตา ซึ่งเป็นสัญญาณเบื้องต้นว่าลูกเสี่ยงเป็นมะเร็งจอประสาทตา และรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ฉะนั้นหากคุณแม่เห็นความผิดปกตินี้ได้เร็ว ก็จะทำให้คุณหมอวินิจฉัยและรักษาโรคได้เร็วขึ้น
สังเกตลูก ก่อนเป็นมะเร็งจอตา
โรคตาวาวพบได้บ่อยในเด็กอายุ 1-2 ปี หรือไม่เกิน 5 ปีค่ะ โดยเกิดจากความผิดปกติของยีนตั้งแต่กำเนิด ถ้ามีประวัติทางพันธุกรรมด้วย ลูกก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากขึ้น อาการตาวาวเป็นอาการแสดงของโรคต้อกระจก น้ำวุ้นตาเสื่อม การอักเสบของจอประสาทตา กระจกตาดำเป็นแผลตั้งแต่กำเนิด การติดเชื้อในลูกตา รวมทั้งเป็นมะเร็งจอประสาทตาทั้งในขั้นเริ่มต้น และขั้นรุนแรงที่เชื้อแพร่กระจายไปยังสมองจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
การวินิจฉัยแยกแต่ละโรคนั้นขึ้นอยู่กับว่าเด็กมีอาการมากน้อยแค่ไหน ซึ่งคุณแม่จะสังเกตได้จากอาการผิดปกติเหล่านี้ เพื่อรีบพาลูกมาตรวจวินิจฉัยกับจักษุแพทย์ และรักษาตามอาการได้ทันท่วงที



การรักษา
เมื่อพบว่าเด็กมีอาการตาวาว คุณหมอจะวินิจฉัยด้วยการขยายม่านตาเพื่อดูจอประสาทตาด้านใน ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้อาจอัลตราซาวด์ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อวินิจฉัยแยกโรคก่อนนำไปถึงการรักษาตามอาการ แต่ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งจอตา คุณหมอจะรักษาดังนี้



หลังจากนั้นคุณหมอจะรอดูอาการประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อดูผลตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งผลการรักษาของโรคนี้ค่อนข้างดี หากเด็กมาตรวจได้เร็วและรักษาอย่างถูกต้อง ผลการรักษาก็มีโอกาสหายได้ถึง 95%
ดูแลระยะยาว โรคหายขาด
มะเร็งจอตาเป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของยีน แต่คุณแม่ดูแลและติดตามผลการรักษาเพื่อให้เกิดผลดีกับลูกในระยาวได้ ดังนี้



เมื่อเห็นความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ควรรีบพาลูกมาพบจักษุแพทย์ เพราะยิ่งตรวจพบความผิดปกติได้เร็ว ก็ยิ่งช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ และลดความรุนแรงของโรคที่จะเกิดได้มากขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 33 ฉบับที่ 388 พฤษภาคม 2558