เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
เตือน ! คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังอาการแก้วหูทะลุ หรือ หูชั้นกลางอักเสบ เหตุจากการว่ายน้ำบ่อยและมักเกิดขึ้นกับลูก ๆ ที่อายุต่ำกว่า 8 ปี แล้วปัจจัยเสี่ยงเกิดจากอะไร วันนี้กระปุกดอทคอม มีเกร็ดความรู้เริ่องแก้วหุทะลุจากนิตยสาร momypedia มาฝากคุณพ่อคุณแม่รวมทั้งวิธีสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด มาฝากกัน พร้อมแล้วไปหาคำตอบกันเลย ^^
แก้วหูทะลุ....เด็กเป็นบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ ไม่ปวดด้วย สักพักก็หาย ??
ปกติอาการแก้วหูทะลุพบบ่อยมากในเด็ก โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 8 ปี เพราะ eustachian tube พัฒนายังไม่เต็มที่ และจะยิ่งพบมากในเด็กที่มีเรียนว่ายน้ำที่โรงเรียนด้วยแล้ว เป็น ๆ หาย ๆ จริงค่ะ แต่ปัญหามันไม่ได้ชิลล์เลยนะคะ เพราะ...
เป็น ๆ หาย ๆ ...เนื้อเยื่อแก้วหูกำลังดีขึ้น แต่ก็มาเล่นน้ำใหม่ หรือหยุดการกินยาไป หรือด้วยอะไรก็ตาม อาจรบกวนกระบวนการที่เนื้อเยื่อแก้วหูคืนสภาพ ลองคิดเล่น ๆ ค่ะ แผลกำลังจะหาย แต่มือซนแกะแล้วแกะอีก นอกจากจะหายช้าแล้ว ยังจะทำให้รูปร่าง/ทำหน้าที่ได้ไม่ดีเท่าเดิมด้วยนะคะ
การปล่อยให้เด็กมีอาการเรื้อรัง เด็กอาจต้องรับการรักษาอื่นเพิ่ม ทั้งๆที่หากเราเฝ้าระวังดีๆ เด็กอาจไม่ต้อง ผ่าตัด, เสื่องต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น
พัฒนาการล่าช้า เรียนไม่ทันเพื่อน หงุดหงิดง่าย
มีปัญหาการได้ยิน
พูดไม่ชัด (แหงค่ะ ได้ยินไม่ชัดจะพูดไม่ชัดได้อย่างไร?)
ปัญหาพฤติกรรม นึกถึงตอนผู้ใหญ่เราหูอื้อ ไม่ได้ยินนะคะ นอกจากตัวเราเองยังหงุดหงิดเอง เวลาคนอื่นบอก เราก็ไม่สามารถทำตามได้ 100% เพราะไม่ได้ยิน พอทำตามไม่ได้ ก็จะยิ่งหงุดหงิดอีกค่ะ วนไปวนมาอย่างนี้ไปเรื่อย
ดังนั้นถ้ามีปัญหาหรืออาการเรื้อรังบางอย่างสบายใจได้ค่ะ ว่าเดี๋ยวก็หาย แต่ผลกระทบของมันก็มี อยากให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ
วิธีสังเกตอาการ
มีน้ำไหลออกมาจากหู
หากมีการติดเชื้อเฉียบพลัน เด็กมักจะมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อนค่ะ เช่น น้ำมูกมาก ๆ เป็นมานาน ๆ มีไข้ ปวดหู (ช่วงยังไม่ทะลุจะมีอาการปวดค่ะ) เด็กจะร้องไห้ ดึงหู ขยี้หู แหย่หูบ่อย ๆ เรียกแล้วหันน้อยลง ถ้าส่องหูอาจจะพบว่าหูบวมแดง ขุ่น (ส่องยากนิดนึงค่ะ ยกเว้นเด็กบางคนช่องหูตรงมากก็อาจจะเห็น)
การอักเสบของหูชั้นกลาง มี 3 ชนิด ได้แก่ Acute otitis media, otitis media with effusion, chronic otitis media ค่ะ
การรักษา มีตั้งแต่ให้ยาปฏิชีวนะ แต่หากเป็นมาก ๆ ครั้ง อาจต้อง suction, polymyxin B ear drops, tympanoplasty (ผ่าตัด) ซึ่งมันแทบจะไม่ต้องเกิดขึ้นเลย หากเราดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
แต่ละคนมีรูปแบบเนื้อเยื่อไม่เหมือนกันค่ะ บางคนแก้วหูทะลุบ่อย ๆ บางคนไม่เคยเป็นเลย บางท่านอาจแย้งว่า "เด็กเขาเป็นอย่างนี้เอง เป็นบ่อยจนชินแล้ว...." แต่ถ้าผู้ใหญ่ทราบเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว ก็ควรหาทางระวัง เตือนเด็กจะดีกว่าไหมคะ ? ให้เขารู้จักรักษาตัวเอง ดีกว่าเกิดผลข้างเคียงอื่นไปเรื่อย ๆ นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก