ให้นมมากไป ลูกป่วย (รักลูก)
เรื่อง : ก้านแก้ว เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ คุณศิริลักษณ์ ถาวรวัฒนะ พยาบาลวิชาชีพ คลินิกนมแม่ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
คุณแม่ให้นมลูกมากเกินไปหรือเปล่าคะ ! เพราะถ้าลูกน้อยกินนมมากเกินไป แทนที่ลูกจะได้ประโยชน์จากนม กลับทำให้ลูกป่วยได้ค่ะ
อาการแบบนี้ หนูกินนมมากเกินไป
ตามธรรมชาติของเด็กเล็กจะชอบดูดนม เพราะได้ทั้งความอิ่มและความรู้สึกปลอดภัยที่ได้อยู่ในอ้อมอกของคุณแม่ การดูดนมจากเต้าเวลาลูกอิ่มลูกก็จะหยุดดูด แต่ถ้าดูดนมจากขวด น้ำนมจะไหลมาเรื่อย ๆ โดยลูกไม่ต้องออกแรงดูด ลูกก็จะกินไปเรื่อย ๆ ทำให้ได้รับนมมากเกินไป (Overfeeding) จนเกิดอาการต่อไปนี้ตามมาได้ เช่น
ร้องงอแง
มีเสียงคลืดคราดในลำคอ คล้ายมีเสมหะในคอ
แหวะนมหรืออาเจียนพุ่ง
นอนบิดตัวไปมา
อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญ ว่าร่างกายของลูกน้อยพยายามขับนมที่อยู่เต็มท้องให้ออกมา ทำให้ลูกไม่สบายตัว และมักร้องกวนหลังกินนมเสร็จ
Overfeeding ทำลูกป่วย
ถ้าลูกน้อยได้รับนมมากเกินไป สุขภาพลูกอาจต้องเจอกับ 3 โรคนี้ค่ะ
1. โรคอ้วน เกิดจากได้รับปริมาณนมที่มากเกินความต้องการ
2. หลอดอาหารเป็นแผล จากกรดในกระเพาะ มักเกิดขึ้นเวลาที่ลูกแหวะนม
3. โรคปอดอักเสบ เป็นผลจากอาเจียน ทำให้น้ำนมไหลจากหลอดอาหารลงสู่ปอด จนกลายเป็นปอดอักเสบได้
เตรียมนมให้พอดีกับลูกน้อย
วิธีที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการให้นมมากเกินไป คือการคำนวณปริมาณนมให้พอดีกับน้ำหนักและความต้องการของลูก โดยใช้สูตรคำนวณดังนี้
สังเกตสัญญาณหิวของลูก
ถ้าลูกแลบลิ้นน้ำลายไหล หรือเอามือเข้าปาก มักเป็นสัญญาณว่าหนูหิวแล้ว คุณแม่สามารถให้นมได้เลย
เด็กแรกเกิด - 3 เดือน = 150 x น้ำหนักตัวลูก (กิโลกรัม) = CC ต่อมื้อ 8 มื้อ
ถ้าลูกวัย 3-6 เดือน ก็หารด้วยนม 6 มื้อแทน 8 มื้อ เพื่อทำให้ได้ปริมาณนมที่เพียงพอกับความต้องการของลูก รวมทั้งต้องตอบสนองความต้องการองลูกให้เหมาะสม เพราะการที่เด็กร้องไห้ไม่ได้หมายความว่าหิวนมเสมอไปค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ปีที่ 31 ฉบับที่ 376 พฤษภาคม 2557