
หัวใจลูก 9 เดือน ในครรภ์แม่ (รักลูก)
โดย : พ.ญ.เฉลิมศรี ธนันตเศรษฐ
ติดตามการเติบโตและวิธีดูแลหัวใจลูกในท้องแม่

1. หัวใจ...เป็นอวัยวะเดี่ยวที่ไม่มีสำรองเหมือนอวัยวะอื่น ๆ เช่น ปอด ไต และตับ ดังนั้น ถ้าเกิดการชำรุดเสียหาย เช่นรั่ว หรือตีบ ก็จะเป็นอันตรายได้
2. หัวใจ....ทำงานเหมือนเครื่องปั๊มน้ำที่มีความพิเศษคือ รับเลือดดำที่เปรียบเหมือนน้ำเสียไปฟอกที่ปอด ในขณะเดียวกันก็ส่งเลือดแดงที่เหมือนน้ำสะอาดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เบ็ดเสร็จ 2 ระบบ ในอวัยวะเดียวกัน แล้วหน้าที่ดังกล่าวจะเริ่มต้นตั้งแต่ชีวิตตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่
แล้วด้วยที่เราต้องใช้หัวใจดวงเดียวตราบจนมีชีวิตอยู่ แล้วเป็นการทำงานอย่างที่ไม่มีเวลาหยุดพัก ด้วยเหตุนี้หัวใจจึงมีโครงสร้างกล้ามเนื้อชนิดพิเศษที่แข็งแรงมาก มีหลอดเลือดแตกแขนงมากมายไปเลี้ยงกล้ามเนื้ออย่างทั่วถึงเพื่อทำหน้าที่อย่างทรหดอดทดนี้ได้


เนื้อเยื่อชั้นกลางนี้เอง จะมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นอวัยวะที่มีความพิเศษในด้านความทนทานในการทำงาน คือ หัวใจ ไต ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ กระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นนั่นเอง จากนั้นใน 2 สัปดาห์ต่อมา หัวใจจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ตามโครงสร้างที่กำหนดไว้แล้วในแบบแผนภูมิของยีนส์
ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องระวังมากที่สุดในการดูแลตนเอง เพราะถ้าได้รับเชื้อโรคบางอย่าง เช่น ไวรัสหัดเยอรมัน หรือคุณแม่ที่เป็นเบาหวานและคุมน้ำตาลได้ไม่ดี หรือไม่รู้ตัวว่าเป็นก็ตาม หรือสูบบุหรี่ หรือกินยาบางอย่างที่เป็นอันตราย ก็จะเป็นผลให้ลูกมีหัวใจพิการได้




จากนั้นหัวใจจะมีหน้าที่ต่อเนื่องในระบบไหลเวียนของเลือด ตั้งแต่ในครรภ์ตลอด 9 เดือน ซึ่งหัวใจทารกจะมีอัตราการเต้นเร็วมาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่เพราะมนุษย์จะมีการเติบโตที่เร็วที่สุด ในช่วงชีวิตตอนอยู่ในครรภ์คุณแม่ จะเต้นประมาณ 140 -160 ครั้งต่อนาที และจะลดลงตามลำดับในระยะหลังคลอด ตามอัตราการเจริญเติบโตตามวัย ความสมบูรณ์ของหัวใจและความแข็งแรงของสุขภาพ
หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่และไปจนตลอดชีวิตอย่างไม่เคยได้หยุดพักและไม่มีอวัยวะสำรองใช้เหมือนอวัยวะอื่น จะให้ดีคุณแม่ควรดูแลรักษาหัวใจลูกตั้งแต่อยู่ในคุณแม่ให้สมบรูณ์แข็งแรงที่สุด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
