
สาเหตุ..คลอดก่อนกำหนด (momypedia)
การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร
สาเหตุที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด
อาการเริ่มต้นของการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
สิ่งที่อาจเกิดขึ้นกับทารกคลอดก่อนกำหนด
การดูแลลูกคลอดก่อนกำหนดเมื่อกลับบ้าน
การคลอดก่อนกำหนดคืออะไร
การตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ เราจะเรียกว่าครบกำหนดที่ 38-41 สัปดาห์ คือประมาณ 9 เดือนโดยเฉลี่ย หากคลอดก่อน 37 สัปดาห์ ทางการแพทย์ถือว่าคลอดก่อนกำหนด แต่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดน้อย ๆ เช่น 1-2 สัปดาห์ คือคลอดเมื่อ 35 หรือ 36 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ทารกที่จะมีปัญหามาก ๆ คือทารกที่คลอดก่อนกำหนดมาก ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยมาก ๆ คือ มีน้ำหนักตัวตอนเกิดน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ทารกในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นทารกที่การตั้งครรภ์สิ้นสุดที่อายุครรภ์ประมาณ 32-33 สัปดาห์ ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไรปัญหาก็ยิ่งมากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด

















อาการเริ่มต้นของการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด
โดยปกติในระยะตั้งครรภ์เกิน 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่ามดลูกหดตัวเบา ๆ เป็นพัก ๆ ไม่รู้สึกเจ็บปวด (อย่างที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเด็กโก่งตัว) เป็นการฝึกหัดตัวเองของมดลูกที่จะบีบตัวเมื่อถึงกำหนดคลอด การหดตัวของมดลูกแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามีการหดตัวบ่อย ๆ ถี่เกินไป ท้องตึงแข็งอยู่เป็นเวลานาน และมีอาการอื่นร่วมด้วย ก็แสดงว่าอาจจะมีการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด






การป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
ถ้ามีอาการเหล่านี้ขอให้รีบไปพบแพทย์ ซึ่งจะต้องรับตัวคุณแม่ไว้ในสถานพยาบาล และให้ยายับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าปากมดลูกยังขยายไม่มากก็จะได้ผลดี สามารถให้ทารกอยู่ในครรภ์ต่อไปได้อีกจนกระทั่งใกล้กำหนดคลอดมากที่สุด
แต่ถ้าแพทย์ประเมินแล้วว่าไม่สามารถหยุดยั้งการหดตัวของมดลูกได้ แพทย์จะให้ยาสเตียรอยด์พวกเบตาเมธาโซน (Betamethasone) หรือเด็กซาเมธาโซน (Dexamethasone) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อช่วยให้ปอดของทารกทำหน้าที่ได้ดีขึ้น ช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดนั้นมีโอกาสรอดมากขึ้น
ยานี้จะได้ผลเมื่อฉีดเข้าไปอย่างน้อย 24-48 ชั่วโมง และยาจะมีประโยชน์อยู่ 7 วัน หลังจากนั้นอาจจะต้องให้ซ้ำ แต่ยานี้ก็มีจำกัดการใช้ด้วย คือไม่สามารถให้ได้ทุกราย ในกรณีที่มีน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด หรือสงสัยว่าจะมีการอักเสบในร่างกายของคุณแม่ ไม่สามารถให้ยาชนิดนี้ได้
การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านอนามัยแม่และเด็ก แม้ว่าความเจริญทางด้านการแพทย์จะสามารถช่วยให้ทารกที่คลอดออกมาก่อนกำหนดนั้นมีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้นกว่าสมัยก่อน แต่ก็มีจำนวนมากที่มีความพิการหรือเสียชีวิต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกันไว้ก่อนโดยการส่งเสริมสุขภาพของคุณแม่ให้ดีก่อนที่จะตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็รีบไปฝากครรภ์ และปฏิบัติตนตามที่ได้รับคำแนะนำ เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นก็ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมและทันท่วงที ถ้าป้องกันแล้วยังเกิดการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดอีก ก็ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อให้ยาระงับการเจ็บครรภ์และให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป


ภาวะปอดไม่สมบูรณ์ ยิ่งอายุครรภ์น้อยยิ่งเกิดมาก อย่างที่รู้กันว่าทารกคลอดก่อนกำหนดปอดไม่ค่อยสมบูรณ์ เป็นเพราะขาดสารเคมีบางชนิดในปอด ซึ่งสร้างไม่พอในช่วงตอนที่เกิด สารตัวนี้ทารกส่วนใหญ่ก็จะสร้างครบได้เมื่อ 35 สัปดาห์ สารตัวนี้เป็นสารลดความตึงผิวของถุงลม (Surfactant) ทำหน้าที่ให้ถุงลมโป่งง่าย ทำให้หายใจโดยที่ใช้แรงน้อยลง ในผู้ใหญ่เรามีประมาณ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในทารกแรกเกิดแม้ครบกำหนดก็จะขาดนิดหน่อย มีประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
ภาวะเลือดออกในสมองอย่างเฉียบพลัน เพราะสมองทารกที่คลอดก่อนกำหนดยังค่อนข้างนิ่มมาก ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไรสมองยิ่งนิ่มมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งเมื่อคลอดต้องผ่านอะไรหลาย ๆ อย่าง มีการเขย่า เจอแสงสว่าง เจอความตกใจ เจอร้อนเย็นต่างกัน ไม่เหมือนอยู่ในท้องแม่ ก็ทำให้ความดันเลือดค่อนข้างผันผวน อาจทำให้เส้นเลือดในสมองบางเส้นแตก ซึ่งเกิดได้ประมาณ 30% ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม
ปัจจุบันยังไม่มีทางป้องกัน ทารกคนไหนเลือดออกในสมองมากก็จะเสียชีวิต ทารกที่เลือดออกน้อย 90% จะไม่ออกอาการอะไรเลย แล้วก็เติบโตได้โดยไม่มีปัญหา
โรคติดเชื้อ ทารกคลอดก่อนกำหนดบางส่วนจะคลอดเพราะแม่มีการติดเชื้อในช่องคลอดหรือน้ำเดิน ถุงน้ำแตก ทำให้ทารกได้รับเชื้อเข้าไป เมื่อทารกติดเชื้อปุ๊บ ร่างกายของแม่จะขับทารกออกก่อนกำหนด เทารกบางคนจึงอาจมีภาวะติดเชื้อออกมาตั้งแต่เกิดเลย ก็ทำให้ทารกตายได้ แต่กรณีนี้เกิดไม่บ่อยเท่าไร

ภาวะลำไส้เน่าตายอย่างเฉียบพลัน ลำไส้ทารกคลอดก่อนกำหนดที่ทำงานอยู่อาจเน่าขึ้นมาโดยที่ไม่มีทางป้องกัน ไม่ทราบสาเหตุ ภาวะนี้เกิดได้ประมาณ 10% ของทารกทั้งหมดที่เกิดมาตัวเล็ก ยิ่งตัวเล็กก็ยิ่งเกิดเยอะ ใน 10% นี้ ครึ่งหนึ่งจะมีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีลำไส้ขาดเลือดชั่วคราว ท้องอืด กินนมไม่ได้ประมาณ 7-10 วัน อีก 25% มีลำไส้ตายแต่ไม่ทะลุ ซึ่งไม่ต้องทำอะไร รอเฉย ๆ แต่ต้องงดนมไปประมาณ 1-2 อาทิตย์ ให้ลำไส้รักษาตัวเอง ส่วนใหญ่ก็จะหายไปเองโดยไม่มีปัญหา ส่วน 25%ที่เหลือลำไส้ทะลุแล้วทารกเสียชีวิต
การหยุดหายใจในทารกแรกเกิด เนื่องจากอยู่ในท้องแม่ ทารกไม่จำเป็นต้องหายใจเอง หายใจเองบ้าง ลืมบ้างได้ พอคลอดออกมาใหม่ ๆ บางทีอยู่เฉย ๆ เขานอนเงียบไปเลย เมื่อก่อนเราต้องใช้วิธีผูกขากระตุกเอาเป็นการป้องกัน เพราะทารกจะหยุดหายใจตอนหลับ แต่ตอนตื่นกระดุกกระดิกไม่ค่อยหยุดหายใจ แต่พวกนี้บางทีนอนหลับไปเฉย ๆ เขียวไปเลยตายได้ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อทารกครบกำหนดคลอด เช่น บางคนคลอดเมื่อ 32 สัปดาห์ พอเราเลี้ยงไปสัก 5 สัปดาห์เป็น 37 สัปดาห์ อาการหยุดหายใจก็จะหายไปเอง แต่บางครั้งก็ทำให้พ่อแม่เกิดความกลัวและกังวลกับอาการนี้เช่นกัน
ภาวะโรคปอดเรื้อรัง ทารกคนไหนที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ พอโรคปอดในระยะแรกหายแล้ว แต่เขายังหายใจเองไม่ได้ ไอเองไม่เป็น ไอไม่ค่อยแรง เสมหะก็ออกจากปอดไม่ได้ ทำให้ทารกต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจไปถึงจุดซึ่งทารกอ้วนพอที่จะมีแรงไอได้ บางทีก็ทำให้ปอดทารกมีปัญหาคล้าย ๆ คนสูบบุหรี่ คือ โดนออกซิเจน โดนแก๊สไม่ได้ จะไอเรื้อรัง แต่โรคปอดนี้หลังจากเอาเครื่องช่วยหายใจออกจะหายไปเองภายใน 1-2 ปี แต่ บางคนที่มีปัญหามาก พอเด็กอายุสัก 9-10 ปีก็อาจเป็นหอบได้ ส่วนใหญ่ที่รอดจากระยะแรกก็จะเป็นปกติ ภายใน 1-2 ปี อาจจะมีบางคนที่เป็นหวัดแล้วจะปอดบวมเพราะเด็กพวกนี้ระยะแรกปอดยังไม่ค่อยดีเท่าไร
พัฒนาการช้า พบได้ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งครึ่งหนึ่งสามารถเป็นปกติได้โดยการกระตุ้น ปัจจุบันเมืองไทยมีโครงการกระตุ้นเด็กเรียกว่า early intervention คือ การกระตุ้นเด็กระยะแรก มีการสอนพ่อแม่ให้กระตุ้นเด็ก ทำให้พัฒนาการเขาดีขึ้นได้ อีกครึ่งหนึ่งค่อนข้างจะลำบาก คือสมองพิการไปเลย ทำอะไรไม่ได้มาก แล้วยังมีเดินไม่ค่อยได้ แต่สมองปกติ ไอคิวปกติ กลุ่มนี้ต้องใช้เครื่องช่วยเดิน แต่เขายังสามารถช่วยตัวเองได้
การดูแลลูกคลอดก่อนกำหนดเมื่อกลับบ้าน
ขณะอยู่โรงพยาบาลแพทย์จะคอยดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนดอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งทารกมีน้ำหนักมากกว่า 1.8–2 กิโลกรัม หรือจนสามารถลดการใช้ตู้อบ มีการดูดกลืนได้ดี และไม่มีภาวะแทรกซ้อน จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ แต่ก็ยังคงนัดไปตรวจอีกครั้งเมื่ออายุประมาณ 1-2 อาทิตย์ และเมื่อกลับมาอยู่บ้านคุณพ่อคุณแม่ต้องมีการดูแลลูก ดังต่อไปนี้





อาการที่บ่งบอกว่าไม่สบาย หากลูกเกิดมีไข้ ตัวร้อน ติดเชื้อน้ำมูกเขียวข้น ดูดนมได้น้อยลง น้ำหนักไม่ขึ้น ตัวเหลือง หรือตาเหลือง คุณแม่ต้องรีบพาไปพบแพทย์ก่อนถึงเวลานัด ถือเป็นกรณีเร่งด่วนที่ต้องรีบไปให้ทันเวลา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
