ท่าสบายสำหรับแม่ท้อง (Mother&Care)
ยืนอย่างไร ไม่ให้เมื่อย?
ยืนตัวตรง ศีรษะและคอตั้งตรง โดยให้น้ำหนักสมดุลอยู่ตรงกลางของบ่าทั้งสองข้าง ปล่อยไหล่ตามสบาย ไม่เอียงศีรษะ เพราะจะทําให้ปวดเมื่อยคอและหลัง
วางเท้าทั้งสองข้างให้หันไปในทิศทางเดียวกัน ปลายเท้าแยกจากกันเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักตัวลงระหว่างส้นเท้าและกลาง- เท้า พยายามเฉลี่ยน้ำหนักตัวให้สมดุลบนเท้าทั้งสองข้าง หลีกเลี่ยงการยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน เพราะจะทําให้กล้ามเนื้อเกร็งตลอดเวลา เกิดอาการเมื่อยและเป็นตะคริว อาจขยับเปลี่ยนน้ำหนักโดยก้าวขาข้างหนึ่งไปข้างหน้าและถ่ายน้ำหนักสลับไปมา จะช่วยให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงและเลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
หากต้องยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน คุณแม่อาจพักเท้าข้างหนึ่งบนเก้าอี้เล็กๆ สลับไปมาระหว่างเท้าทั้งสองข้างทุก ๆ 5-15 นาที ก็จะช่วยคลายอาการเมื่อยลงได้
นั่งท่านี้..ไม่มีปวดหลัง
นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและที่วางแขน เบาะรองนั่งไม่นุ่มจนเกินไป ควรนั่งในท่าเอนเล็กน้อย หลังพิงพนัก-เก้าอี้ในท่าที่ผ่อนคลาย และมีหมอนเล็กมาหนุนไว้ที่หลังบริเวณสะโพก
ให้ข้อพับขาเหลือออกมาขอบเก้าอี้ประมาณ 1 นิ้ว และมีเก้าอี้ตัวเล็กรองไว้ที่เท้า ให้เข่าอยู่ในลักษณะตั้งฉาก เพิ่มการไหลเวียน โลหิตให้ดีขึ้นและช่วยลดอาการบวมตามเท้า
เมื่อต้องลุกขึ้นยืน ค่อย ๆ เลื่อนเก้าอี้ออกพร้อมกับใช้มือช่วยพยุงตัวและลุกขึ้นอย่างช้า ๆ
ยกของให้ปลอดภัย
ก่อนจะยกของ เท้าจะต้องอยู่ในระยะที่เหมาะสมและอยู่ในท่ายืนตัวตรง แยกเท้าออกจากกันประมาณ 1 ฟุต โดยให้ปลายเท้า เฉียงออก
หากยกสิ่งของที่อยู่ระดับต่ำกว่าเอว หลังต้องตั้งตรง งอเข่าและย่อตัวลงโดยให้น้ำหนักอยู่กลางลําตัวและลงที่ส่วนก้น
ยกของจากพื้น ให้ใช้กําลังแขนและไหล่ แล้วใช้กําลังขาพยุงตัวให้ยืนขึ้นโดยไม่ใช้หลัง ค่อย ๆ ยกของขึ้นมา เพื่อมิให้เสียการทรงตัวและจะช่วยผ่อนแรงไม่ให้หลังรับน้ำหนักมากจนเกินไป ทั้งนี้ ไม่ควรก้มลงยกของจากพื้นตรง ๆ เพราะจะทําให้กล้ามเนื้อ หลังโค้งงอและรับน้ำหนักมากเกินกําลัง
แม่ท้อง..นอนสบาย
เมื่อตั้งท้องได้ 16 สัปดาห์ขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากมดลูกจะเริ่มโตขึ้น การนอนหงายจะทําให้มดลูกอาจไปกดทับ เส้นเลือดใหญ่บริเวณส่วนกลางหลัง เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหลัง ความดันโลหิตต่ำลง เวียนศีรษะหรือหน้ามืด เป็นลมได้
ท่านอนที่ดีที่สุดสําหรับแม่ท้อง คือท่านอนตะแคงข้างซ้าย โดยใช้หมอนรองรับในส่วนคอและไหล่ใบหนึ่ง และใช้หมอนอีกใบสอดที่หว่างขาขวา เพื่อช่วยรองรับน้ำหนักและป้องกันไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดใหญ่ ทําให้เลือดหมุนเวียนได้ดีตลอดร่างกาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก