
ท้องแล้วทำไมถึงนอนกรน ? เพราะน้ำหนักตัวคุณแม่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้เวลานอนของแม่ท้องหายใจไม่สะดวกและเกิดเสียงกรน วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้อาการนอนกรนในแม่ท้อง พร้อมทั้งวิธีการรักษาการนอนกรนจากนิตยสาร MODERNMOM มาฝากกันค่ะ
การนอนกรน เกิดจากเวลาที่คนเรานอนหลับกล้ามเนื้อที่ลิ้นและที่โคนลิ้นจะคลายตัวลงไปด้วย ทำให้ลิ้นตกลงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อากาศที่เราหายใจผ่านจมูกลงไปยังโพรงจมูกด้านหลัง ผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการหมุนวนของกระแสลมคล้ายการกระพือที่บริเวณโคนลิ้น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรน
ในหญิงตั้งครรภ์เกิดจากการเปลี่ยนแปลทางสรีระ เช่น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เนื้อเยื่อบริเวณช่องคอส่วนบนจะขยายจนอาจมาปิดช่องทางเดินหายใจ ทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องปากส่วนบนและหลอดลมบวม และเกิดการหย่อนตัวลงมาปิดขวางช่องทางเดินหายใจ ส่งผลให้เวลานอนจะรู้สึกหายใจไม่สะดวกและเกิดเสียงกรนขึ้น ดังนั้น การปรับท่านอนมีส่วนช่วยในเรื่องการนอนกรนได้ เมื่อเรานอนตะแคงตำแหน่งของลิ้นไม่ตกไปปิดด้านหลังของหลอดลม ทำให้เราหายใจได้สะดวกขึ้น
นอกจากนี้การนอนตะแคงในช่วงอายุครรภ์มาก ๆ หรือช่วงใกล้คลอด โดยเฉพาะนอนตะแคงทับด้านซ้ายจะช่วยลดการกดทับของเส้นเลือดดำใหญ่ที่อยู่ทางด้านหลัง ที่รับเลือดจากส่วนล่างของร่างกายทำให้ไม่เกิดภาวะหน้ามืดเป็นลมเหมือนท่านอนหงายนาน ๆ และช่วยเพิ่มปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจ และสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีขึ้นทำให้ลูกในท้องได้รับออกซิเจนมากขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพที่ดี และการเจริญเติบโตที่ดีของลูกในท้อง แต่ไม่ได้หมายความว่าให้คุณแม่ทุกคนนอนท่านี้ตลอด เพราะคนไข้หลายคนมาหาหมอด้วยอาการเจ็บบริเวณซี่โครง จนถึงขั้นมีอาการอักเสบของซี่โครง หรือกระดูกอ่อนของซี่โครง ซึ่งเกิดจากการนอนทับด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน ทำให้น้ำหนักตัวแม่และน้ำหนักมดลูกกดทับไปที่ตำแหน่งดังกล่าว
การนอนที่ดีในขณะตั้งครรภ์จึงควรพลิกเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อลดจุดกดทับ การนอนตะแคงทับซ้ายดังกล่าวเหมาะสำหรับการนอนรอในห้องคลอด ช่วงระหว่างการรอคลอด เพราะเป็นช่วงที่มดลูกมีการบีบตัวหรือหดรัดตัว ปริมาณเลือดจากแม่จึงไปเลี้ยงลูกได้น้อยลง อาจส่งผลให้เสียงหัวใจลูกมีการเปลี่ยนแปลงได้ (เต้นช้าลง) ซึ่งการปรับการนอนของแม่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องหัวใจลูกเต้นช้าลงได้
วิธีการรักษาการนอนกรน







การนอนกรนมี 2 ประเภท


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.20 No.235 พฤษภาคม 2558