
คันคัน ผื่นตั้งครรภ์ อาการคันของแม่ท้อง (momypedia)
อาการคันช่วงตั้งครรภ์ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งในหญิงมีครรภ์ ซึ่งสาเหตุของการคันของหญิงมีครรภ์มีมากมาย คือนอกเหนือจากอาการคันที่พบได้ในบุคคลธรรมดาทั่วไป เช่น การติดเชื้อรา ติดเชื้อแบคทีเรีย ยุงกัด การแพ้สารเคมี แพ้เหงื่อ การแพ้เสื้อผ้า เหมือนคนปกติแล้ว ยังมีลักษณะพิเศษของโรคผิวหนังที่พบในช่วงตั้งครรภ์ ได้แก่

ผื่นคนท้องที่ชื่อว่า ผื่น PUPPP พบมากในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์เฉลี่ยอายุครรภ์ 35 สัปดาห์
สาเหตุผื่นตั้งครรภ์
สาเหตุไม่ทราบแน่ชัด คาดว่าเกิดจากผนังท้องขยายมากทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และคอลลาเจน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบ อาการผื่นมีหลายลักษณะเช่นผื่นนูนแดงคล้ายลมพิษ หรือ เป็นตุ่มน้ำขนาดประมาณ 1-2 มม. พบมากบริเวณหน้าท้องโดยเฉพาะที่เป็นรอยแตกลาย โดยเว้นรอบสะดือ แล้วจึงกระจายไปที่ ต้นขา ก้น หน้าอก และแขน โดยทั่วไปมีอาการคันมาก ผื่นชนิดนี้ขึ้นนานประมาณ 6 สัปดาห์ และหายได้เองหลังคลอดภายใน 1-2 สัปดาห์ ไม่มีอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด

เป็นการบรรเทาอาการคันเช่น ยาทาคาลาไมด์,ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ และยาแก้แพ้ ก็เพียงพอ

ผื่นตั้งครรภ์ Herpes gestationis ผื่นชนิดนี้พบได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ไม่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเริมหรืองูสวัด ลักษณะสำคัญคือเป็นผื่นแดงเฉียบพลันคล้ายลมพิษบริเวณลำตัว หลังจากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใส หากมีการแตกของผื่นอาจกลายเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่ได้ และมีอาการคันมาก

การรักษาคือใช้ยาทาสเตียรอยด์ ผื่นชนิดนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับภาวะทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และภาวะการคลอดก่อนกำหนด

ผื่นตั้งครรภ์ Pustular psoriasis of pregnancy พบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
อาการผื่นตั้งครรภ์ ลักษณะเป็นผื่นแดงรวมกับตุ่มหนอง กระจายทั่วลำตัว ผื่นมีอาการคันหรือเจ็บ มารดาอาจมีอาการไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ปวดข้อร่วมด้วย ผื่นมักหายได้เองหลังคลอด แต่อย่างไรก็ตามอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (hypocalcemia), การติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต (bacterial sepsis), ภาวะรกเสื่อม (placental insufficiency) และทารกตายในครรภ์ (still birth)

การรักษาคือใช้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูงตลอดการตั้งครรภ์, ยาไซโคลสปอริน (cyclosporine), การรักษาด้วยแสงอัลตราไวโอเลตชนิดบี อย่างไรก็ตามภาวะนี้มีอันตรายทั้งมารดาและทารก ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

สัมพันธ์กับผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้อยู่ก่อน พบในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ ผื่นพบได้ 2 แบบคือชนิด eczematous เป็นผื่นแดง คัน บริเวณใบหน้า ลำคอ หน้าอก และข้อพับแขนขาอีกชนิดหนึ่งคือชนิด papular eruption ซึ่งเป็นตุ่มแดง คัน กระจายทั่ว เป็นบริเวณด้านนอกของแขนขา

การรักษาใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์, ยาแก้แพ้บรรเทาอาการคัน โรคนี้ไม่มีผลกับทั้งมารดาและทารกในครรภ์แต่อย่างใด
นอกจากนี้ยังพบว่าอิทธิพลของฮอร์โมนจะมีผลต่อการทำงานของตับ โดยทำให้เกิดการขับถ่ายกรดน้ำดีมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการคัน เป็นต้น ซึ่งอาการคันในระหว่างตั้งครรภ์ก็ควรจะต้องหาสาเหตุดูก่อน เพื่อจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
