
ระวังสารพิษในบ้านให้ลูกวัยซน (Mother&Care)
เรื่อง : แม่ออมจัง
สำหรับลูกน้อยวัยซน สิ่งที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ ก็คือความปลอดภัย โดยเฉพาะความปลอดภัยในบ้านที่คุณแม่อาจนึกไม่ถึง เช่น สิ่งของที่มีในบ้านที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ก็เป็นภัยร้ายใกล้ตัวลูก จะเป็นผลกระทบในรูปแบบไหน อย่างไร มาลองเช็กความปลอดภัยภายในบ้านกันค่ะ





สารให้กลิ่น, สารลดแรงตึงผิว ถ้าเป็นชนิด Non-lonic และ Anionic ถึงจะมีพิษไม่ร้ายแรง แต่มีอันตรายเมื่อมีการสำลักฟองเข้าหลอดลมโดยเฉพาะสารแคลเซียมคาร์บอเนต สามารถซึมเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดการระคายเคืองผิว และหากฟุ้งกระจายเข้าตาก็ทำให้เกิดการอักเสบของดวงตา นอกนั้นแล้วยังมีเอนไซม์ หากสารเหล่านี้ปนเปื้อนไปกับอาหาร ก็อาจทำได้เกิดอาการท้องร่วงได้เช่นกัน

มักมีสารฟินอล (Phenol) เป็นตัวผสมหลัก หากสัมผัสในปริมาณไม่มากจะไม่ทำอันตราย แต่หากได้รับในปริมาณมากและสัมผัสอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้อาการที่แสดงจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริเวณที่ร่างกายได้รับสารเคมีนั้น ๆ เช่น กินหรือสูดดมเข้าไป จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น ไอ สำลัก อาเจียน มีภาวะเลือดเป็นกรด ปอดอักเสบจากการสำลักหรือไตวาย ซึมและอาจหมดสติ หากเข้าตา อาจทำให้ตาบอด หรือสัมผัสทางผิวหนังก็ทำให้ปวดแสบ ปวดร้อน

เป็นสารเคมีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นลักษณะของเหลวไม่มีสี แต่มีกลิ่นฉุน เป็นสารระเหยที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง มีพิษรุนแรงกว่าสารระเหยประเภทเบนซิน จะผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ใช้ผสมสีทาบ้าน, น้ำยาล้างเล็บ หรือกาวซ่อมรองเท้า หากสัมผัสโดยตรง อาจทำให้มีอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ เช่น ผิวหนังอักเสบเป็นพิษต่อตา หู และระบบทางเดินหายใจเมื่อสูดดม

ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันเครื่อง, น้ำมันดีเซล, น้ำมันหล่อลื่น โดยส่วนใหญ่ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมากนัก แต่จะเกิดอันตรายได้ก็ต่อเมื่อมีการสำลัก ทำให้เกิดปอดอักเสบ ถึงอย่างไรก็ไม่ควรมองข้ามความซุกซน เพราะลูกน้อยอาจเผลอทำหก ทำหล่น นอกจากทำให้ลื่นล้ม บาดเจ็บแล้ว อาจกลายเป็นชนวนเชื้อเพลิงต้องระวังเป็นพิเศษค่ะ

สิ่งแปลกปลอมที่เราเรียกว่าสารพิษ ไม่ว่าอะไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านการกินการหายใจ หรือการเปื้อนที่ดวงตา ผิวหนัง แล้วทำให้เกิดอาการ จะมีลักษณะของอาการที่เกิดขึ้นหลายลักษณะ เช่น





หลักการดูแลความปลอดภัยให้ลูกในเรื่องของสารพิษในชีวิตประจำ ก็คือ คุณแม่ต้องหมั่นตรวจความเรียบร้อยภายในบ้าน จุดไหนสิ่งไหนที่สุ่มเสี่ยง เป็นอันตราย ควรเก็บใส่ตู้ที่มีกุญแจล็อกให้เรียบร้อย เก็บให้พ้นมือลูกจอมซน และหากเกิดปัญหาจากสารพิษต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อตรวจเช็กร่างกาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.9 No.107 พฤศจิกายน 2556