
ป่วย...ไม่ป่วย (รักลูก)
เรื่อง : สิริพร
เมื่อลูกหายใจเอาเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ก็จะถูกขับออกมาเป็นเสมหะ ซึ่งเป็นกระบวนการกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคของร่างกายทางหนึ่ง
เสมหะ...ตัวนำโรค?
เสมหะสามารถเกิดได้กับเด็กวัยทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กโตค่ะ เสมหะไม่ได้เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค เป็นเพียงอาการอย่างหนึ่งที่เกิดเมื่อร่างกายของเรามีการติดเชื้อทางเดินหายใจ จนมีการกระตุ้นให้เยื่อบุทางเดินหายใจสร้างเสมหะมากขึ้น และค่อย ๆ หายไป เมื่อการติดเชื้อลดลง
หากลูกมีเสมหะพร้อมกับอาการร่วมอื่น ๆ อาจเป็นตัวบ่งชี้ว่า ลูกของเราอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคอยู่ก็ได้ค่ะ โดยเฉพาะในวัยเบบี้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิดนะคะ
เสมหะลูกเป็นแบบไหนนะ
ลองสังเกตอาการของลูกกันดูนะคะว่า มีเสมหะและอาการร่วมอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าลูกเรากำลังป่วยอยู่หรือไม่

วัยเบบี้ จะสังเกตเห็นสีของเสมหะไม่ได้ค่ะ เพราะเด็กเล็ก ๆ ไม่สามารถไอหรือบ้วนเสมหะออกมาเองได้ แต่สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ ก็คืออาการร่วมเหล่านี้








หากลูกมีเสมหะพร้อมกับอาการร่วมข้างต้น แล้วอาการค่อย ๆ ดีขึ้น ภายใน 2-3 วัน ก็วางใจได้ว่าลูกเราอาจแค่เป็นหวัดธรรมดา ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอันตรายร้ายแรง

ถ้าลูกมีเสมหะ แล้วมีอาการร่วมที่เยอะขึ้น ดังต่อไปนี้ ก็ให้คุณแม่สันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า ลูกเราอาจไม่ได้ป่วยเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดาแล้ว







ทั้งหมดนี้แสดงว่าลูกมีอาการรุนแรงมากขึ้น และต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว บางโรคมีเสมหะไม่มากอาการไม่รุนแรง แต่หากมีการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างแล้ว อาการก็จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ เช่น มีอาการหลอดลมฝอยอักเสบ หอบหืด หรืออาจติดเชื้อทางปอดและตับ จนทำให้เกิดโรคปอดอักเสบ และตับอักเสบได้ในที่สุด
ป้องกันเสมหะ...ห่างไกลโรค
วิธีการป้องกันลูกจากเสมหะ ก็คือป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือป้องกันหวัด ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้




อย่างไรก็ดี หากลูกรักมีเสมหะ และมีอาการร่วมอื่น ๆ ที่รุนแรง คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ตรงจุด และทันท่วงทีนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 30 ฉบับที่ 350 มีนาคม 2555