ปรุงอาหารให้ปลอดภัย สำหรับลูกน้อย

อาหารเด็ก

ปรุงอาหารให้ปลอดภัย
(รักลูก)

         นอกจากจะได้คุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนแล้ว การปรุงอาหารให้ลูกยังช่วยคุณพ่อคุณแม่ประหยัดรายจ่ายของครอบครัวอีกด้วย ซึ่งมีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

         การเลือกส่วนผสม ต้องเริ่มต้นด้วย ส่วนผสมที่มีคุณภาพ ซึ่งควรเป็นอาหารสดใหม่ แต่หากไม่สามารถหาได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ยังคงสามารถใช้อาหารแช่แข็งหรืออาหารกระป๋องได้ค่ะ เพียงแต่จะมีข้อควรระวังดังนี้

        ควรระวังผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมดิบที่ไม่ได้ผ่านขั้นตอนของการพาสเจอร์ไรส์ เพราะอาจมีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่

        น้ำผึ้ง ถึงจะมีที่มาจากธรรมชาติ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดสารพิษจากแบคทีเรีย Botulism ซึ่งเป็นอันตราย อย่างยิ่ง จะทำให้อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วง หรือท้องผูกอย่างรุนแรงได้

        ระวังอาหารกระป๋องบางชนิด ซึ่ง อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายซ่อนอยู่

        อาหารกระป๋องที่ไม่ติดฉลาก เป็นสนิม บุบเบี้ยว มีรอยรั่ว หรือหมดอายุแล้ว

          การเตรียมอาหาร เนื่องจากเด็กทารกมีภูมิต้านทานต่ำกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้น ก่อนการปรุงอาหารทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้อย่างระมัดระวังค่ะ

        ล้างมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเตรียมอาหารให้สะอาด

        ใช้เขียงแยกต่างหาก สำหรับเนื้อสัตว์และอาหารที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน

        ล้างผักและผลไม้ให้ทั่วถึง แม้ว่าจะต้องปอกเปลือกผลไม้ชนิดนั้นก็ตาม แต่ก็ต้องล้างให้สะอาด ด้วยน้ำที่ไหลจากก๊อกโดยตรง

        เก็บเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมไว้ ในช่องแช่แข็งทันทีหลังจากที่ซื้อมาแล้ว

        การปรุงอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ควรใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส ส่วนเนื้อปลาต้องไม่ต่ำกว่า 60 องศาเซลเซียส และสัตว์ปีกทั้งหมด ต้องไม่ต่ำกว่า 75 องศาเซลเซียส

วิธีจัดการกับอาหารของลูกน้อย

        ทิ้งอาหารที่เหลือในจานของลูกเสมอ

        ไม่ควรป้อนอาหารที่ปรุงสุกแล้วทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ให้กับลูก

        ไม่ควรเก็บอาหารพวกเนื้อสัตว์ เนื้อปลา หรือไข่ ไว้ในตู้เย็นนานเกิน 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงสำหรับผักและผลไม้

        ควรอุ่นอาหารแช่แข็งที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส

        ไม่ละลายอาหารแช่แข็งของเบบี้ในน้ำอุณหภูมิปกติ

        วิธีการเก็บอาหารย่างปลอดภัย ควรเก็บด้วยการบรรจุในภาชนะที่มีวันที่กำกับไว้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเก็บไว้ในช่องแช่แข็งได้นานถึง 1 เดือน

          แม้ว่าจะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่เพื่อสุขอนามัยที่ดีของลูกน้อย ดังนั้นวิธีการบางอย่างจึงไม่ควรละเลยค่ะ





ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 29 ฉบับที่ 344 กันยายน 2554

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ปรุงอาหารให้ปลอดภัย สำหรับลูกน้อย อัปเดตล่าสุด 19 ธันวาคม 2554 เวลา 10:18:23 1,433 อ่าน
TOP
x close