มาเลือกขวดนมให้ปลอดภัยกับลูกกันเถอะ

ขวดนม

BPA Free มาเลือกขวดนมให้ปลอดภัยกับลูกกันเถอะ (momypedia)

           กลายเป็นกระแสของความวิตกกังวลไปแล้วค่ะกับเรื่องการตรวจพบสาร BPA ในพลาสติกขวดนมเด็ก ซึ่งเป็นสารพิษอันตรายต่อสุขภาพกายและใจของเจ้าตัวเล็ก จนตอนนี้บางบ้านต้องโละของเก่าทิ้งและซื้อขวดนมใหม่ยกชุดกันเลยค่ะ

BPA คืออะไร

           Bisphenol A หรือ BPA คือสารประกอบที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกซึ่งจะทำให้พลาสติกมีความแข็งและใส จริงๆ แล้วเจ้าสารตัวนี้ใช้กันมาเกือบ 60 ปีแล้ว แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้เพิ่งมีการพูดกันในวงกว้างมากขึ้นถึงอันตรายที่ได้รับจาก BPA โดยเฉพาะอันตรายที่เกิดกับเด็กและทารก

           ถ้าหลาย ๆ คนติดตามข่าวคงจะทราบแล้วว่ามีการแนะนำให้ซื้อขวดนมที่ผลิตจากพลาสติกเบอร์ 7 ซึ่งจะต้องมีคำว่า "BPA Free" ปรากฏอยู่ที่ก้นขวดหรือฉลากจึงจะปลอดภัย แต่ก็ยังอดห่วงไม่ได้ใช่ไหมเอ่ย ถ้าอย่างนั้น Momypedia ขออาสาแนะนำเกี่ยวกับการเลือกและใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเด็กมาฝาก เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์และลองนำไปใช้กันค่ะ

เลี่ยง BPA อย่างไรให้ลูกน้อยปลอดภัย

           1. เลือกของใช้และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเด็กที่ใช้พลาสติกเบอร์ 5 (PP-Polypropylene) หรือ เบอร์ 7 (Polycarbonate) ที่มีคำว่า BPA Free กำกับอยู่เท่านั้น เพราะพลาสติกทั้งสองชนิดนี้โดยทั่วไปยังมีสาร BPA เป็นส่วนผสมอยู่ แต่หากมีคำว่า BPA Free กำกับอยู่ก็จะเป็นการการันตีว่าไม่ใช้สารตัวนี้ในการขึ้นรูปให้แข็งแรง และมีความใส แต่อาจจะใช้สารตัวอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน ซึ่งแน่นอนว่าราคาจะต้องแพงกว่า

           2.เลือกใช้ขวดนมที่ผลิตจากแก้วแทนขวดนมพลาสติก

           3.เลือกจุกนมที่ทำจากซิลิโคนแทนยางหรือพลาสติกนุ่มนิ่ม

           4.เลี่ยงการล้างของใช้และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเด็กด้วยวิธีขัดถูแรง ๆ จนเกิดการขูดขีดเป็นรอย

           5.เลี่ยงการให้ความร้อนกับของใช้และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับเด็กเป็นเวลานาน ๆ

           6.สำหรับของเล่นพลาสติก แปลงสีฟัน หรือของเล่นสำหรับกัดควรเลือกชนิดที่ระบุว่า "PVC-free" หรือเลือกของเล่นไม้ที่ไม่มีสารเคลือบเงาผิวไม้แทน

           จริงอยู่ว่าพลาสติกจะราคาถูกกว่าวัสดุอื่น ๆ แต่เมื่อเทียบกับความปลอดภัยต่อสุขภาพที่ลูกจะได้รับก็คุ้มค่านะคะ เราจะปิดท้ายกันด้วยข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับสาร BPA กันอีกสักนิดค่ะ

           1. คณะกรรมาธิการยุโรป European Food Safety Authority (EFSA) ได้หารือและลงความเห็นว่าปริมาณสาร BPA ที่ร่างกายได้รับและจะไม่เป็นอันตรายควรอยู่ในปริมาณ 0.05 มิลลิกรัม ต่อ น้ำหนัก 1 กิโลกกรัม ต่อวัน

           2. ความร้อนจะเป็นตัวเร่งให้พลาสติกปล่อยสาร BPA ออกมาได้ไว ง่ายมาก และเข้าสู่ร่างกายได้ทันที

           3. การทิ้งขยะพลาสติกไม่เป็นที่ทำให้เกิดการแผร่กระจายของสาร BPA ในสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน

           4. หากคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสาร BPA จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ความผิดปกติของโครโมโซม อาจทำให้เกิดโรคดาวน์ซินโดรม Hyperactivity หรือแท้ง นอกจากนี้ BPA ยังส่งผลถึงจิตใจซึ่งอาจจะทำให้แม่และลูกที่เกิดมาไม่มีความรู้สึกของสายสัมพันธ์ระหว่างกัน (Bonding)

           5. นอกจากของใช้และผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแล้ว ยังพบ BPA ในปริมาณต่างๆ กันในผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอีกมาก

 แต่จะมีอะไรบ้าง ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

 BPA 65%   
 BPA 30%  BPA 5%
 กระจกนิรภัย, แว่นตากันแดด  สารเคลือบภาชนะและบรรจุภัณฑ์  สารประกอบในยาฆ่าแมลง
 แผ่นดิสก์  สารเคลือบภายในกระป๋องอาหาร  น้ำยาเบรกรถยนต์
 ชิ้นส่วนรถยนต์  กระดาษกาว  ท่อน้ำพลาสติก
 ขวดน้ำพลาสติกแบบใช้ซ้ำ  สีทาบ้าน  วัสดุอุดเคลือบฟัน
 พลาสติกบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม  น้ำยาเคลือบเล็บ  ฉนวนไฟฟ้า



ขอขอบคุณข้อมูลจาก


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
มาเลือกขวดนมให้ปลอดภัยกับลูกกันเถอะ อัปเดตล่าสุด 24 ตุลาคม 2554 เวลา 15:32:15 4,320 อ่าน
TOP
x close