ทารกฟันขึ้น ตอนกี่เดือน
ตามธรรมชาติแล้วทารกจะเริ่มมีฟันขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน หากคุณพ่อคุณแม่เห็นสีขาวโผล่พ้นผิวเหงือกลูกน้อยละก็นั่นคือฟันซี่แรกค่ะ ซึ่งมักจะเป็นฟันหน้าซี่กลางล่าง หลังจากนั้นฟันจะขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 1 ซี่ จนครบ 20 ซี่ เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ โดยฟันของลูกมักจะทยอยขึ้นตามลำดับ ดังนี้
- ฟันหน้าด้านล่าง จะขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 6-8 เดือน
- ฟันหน้าด้านบน จะขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 8-12 เดือน
- เขี้ยวทั้งด้านบนและด้านล่าง จะขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 16-20 เดือน
- ฟันกรามใหญ่ทั้งบนและล่าง จะขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 12-16 เดือน
- ฟันกรามเล็กทั้งบนและล่าง จะขึ้นเมื่อลูกอายุประมาณ 20-30 เดือน
แต่ทารกบางคนอาจเริ่มมีฟันขึ้นเร็วหรือช้ากว่านั้น เช่น ฟันขึ้นตอนอายุ 3 เดือน หรือเพิ่งขึ้นเมื่ออายุ 1 ขวบ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด
ทารกฟันขึ้นช้าสุดกี่เดือน
ทารกฟันขึ้น อาการแบบไหนที่ต้องเตรียมรับมือ
เมื่อทารกฟันขึ้นจะรู้สึกเจ็บ งอแง อารมณ์ไม่ดี เพราะขณะที่ฟันของลูกน้อยเริ่มขึ้น ขอบฟันก็จะดันเหงือกขึ้นมา จึงมีอาการคันเหงือก ซึ่งฟันซี่แรกมักทำให้ทารกเจ็บที่สุด และจะเจ็บมากอีกครั้งตอนฟันกรามขึ้น เพราะมีขนาดใหญ่
สัญญาณที่บอกว่าลูกน้อยมีฟันขึ้น ได้แก่
- ลูกมีอาการหงุดหงิด งอแงและร้องไห้มากขึ้นในเวลากลางคืน
- ลูกน้ำลายไหลมาก
- สังเกตเห็นสันเหงือกมีสีซีด ๆ จับแล้วนูน ๆ แข็ง ๆ หรือมีอาการเหงือกบวมแดง
- ลูกจะอยากกัดทุกอย่างที่เห็น เพื่อพยายามลดอาการเจ็บปวด
- มีอาการตัวรุม ๆ ร้อน ๆ แต่ไม่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่ามีไข้
- ลูกอยากดูดนมแม่หรือนมขวดมากขึ้น หรืออาจจะปฏิเสธการดูดนมแม่หรือนมขวดเพราะรู้สึกเจ็บเหงือก
- ลูกเริ่มเบื่ออาหาร
- ลูกนอนหลับไม่สนิท
วิธีบรรเทาอาการคันเหงือกของลูกน้อย
เมื่อทราบแล้วว่าทารกฟันขึ้น อาการจะงอแงเป็นพิเศษ เพราะเจ็บ ๆ คัน ๆ บริเวณเหงือก ซึ่งวิธีบรรเทาอาการคันเหงือกของลูกสามารถทำได้ดังนี้
- ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็น นำมาพันนิ้วเพื่อนวดเหงือกให้ลูก พร้อมกับทำความสะอาดเหงือก ลิ้น และกระพุ้งแก้มไปด้วย
- ใช้ยางกัดหรือของเล่นสำหรับเคี้ยวที่ปลอดสาร BPA แช่เย็นเตรียมไว้ให้ลูกเคี้ยวเล่น เพื่อบรรเทาอาการคันเหงือก อีกทั้งการเคี้ยวจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่เหงือกแยกออกจากกัน ทำให้ฟันแทงขึ้นมาได้ง่าย
- หากลูกปวดเหงือก งอแงมาก อาจให้กินยาแก้ปวดสำหรับเด็กเพื่อลดอาการเจ็บเหงือกได้
จากนั้นเมื่อฟันขึ้นเกินครึ่งซี่ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้แปรงสีฟันขนาดเล็ก ขนนุ่ม ปลายขนกลมมน ค่อย ๆ แปรงฟันให้ลูก โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ แต่ต้องแตะแค่ปลายขนแปรง ปริมาณน้อย ๆ จะไม่เป็นอันตราย และหลังจากแปรงเสร็จให้เช็ดฟองออกและเช็ดในปากด้วยผ้าสะอาด
เห็นได้ว่าฟันน้ำนมมีความสำคัญมาก เราจึงควรสังเกตว่าทารกฟันขึ้นครบตามวัยหรือไม่ ตลอดจนรักษาความสะอาดฟันและสุขภาพช่องปากของลูกอยู่เสมอ เท่านี้ฟันน้ำนมของลูกก็จะสวย ไม่ผุ และเป็นรากฐานที่ดีของฟันแท้ในอนาคต
ขอบคุณข้อมูลจาก : mouthhealthy.org, healthychildren.org, synphaet.co.th, เฟซบุ๊ก ฟันน้ำนม