รู้หรือไม่ ว่าประโยชน์ของการให้ลูกนั่งคาร์ซีทคือ ช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในเด็กเล็ก และยังลดความกังวลเวลาที่คุณแม่ขับรถเอง ทำให้ถึงที่หมายอย่างปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยด้วยค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังประสบปัญหา ลูกไม่ยอมนั่งคาร์ซีท นั่งทีไรร้องไห้ไม่หยุดสักที ไม่ต้องกังวลค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมมีสาเหตุของการร้อง พร้อมทั้งวิธีรับมือเมื่อลูกไม่นั่งคาร์ซีทมาฝาก ไปดูข้อมูลพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
1. ตรวจสอบดูสิ สายรัดเอวแน่นไปไหม แหม ก็ลูกน้อยของเราช่างโตเร็วนี่คะ แม้จะปรับสายรัดเบาะไปเมื่ออาทิตย์ก่อนก็ตาม แต่ผ่านไปไม่กี่วันขนาดตัวของลูกน้อยอาจมีการขยายเพิ่มขึ้น เมื่อมานั่งคาร์ซีทก็คงจะอึดอัด เลยทำให้งอแงได้นั่นเอง
วิธีรับมือ ก่อนให้ลูกนั่งคาร์ซีท คุณแม่ควรตรวจสอบสายรัดหรืออุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ว่าสายรัดแน่นไปไหม ควรปรับสายหรือปรับเบาะอย่างไร โดยดูจากคู่มือการใช้คาร์ซีทเทียบกับน้ำหนักของลูกและความสูงของเบาะ รวมถึงอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เพื่อปรับให้พอดีกับขนาดตัวของลูกน้อย เท่านี้ลูกน้อยก็แฮปปี้กับการนั่งคาร์ซีท ไม่งอแง และปลอดภัยตลอดการเดินทางค่ะ
2. นั่งในรถนาน ๆ แล้วเบื่อ ลูกน้อยเป็นวัยที่พัฒนาการต่าง ๆ กำลังเจริญเติบโต การนั่งเฉย ๆ บนรถจึงเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับเขา และเป็นสาเหตุทำให้เขาร้องไห้งอแงเมื่อโดนจับมานั่งบนคาร์ซีท
วิธีรับมือ เปลี่ยนการนั่งรถที่น่าเบื่อ มาเป็นการเล่นสนุก ๆ บนรถ เช่น หาของเล่นนุ่มนิ่ม มีเสียงมาเล่นกับลูก หรือเล่านิทานระหว่างนั่งรถ อาจจะอ่านหนังสือนิทานให้ฟัง หรือชี้ชวนดูวิวระหว่างทางแล้วเล่าเป็นเรื่องราวก็ได้ แค่นี้การนั่งอยู่บนคาร์ซีทก็ทำให้เขาเพลิดเพลิน ไม่ร้องไห้งอแงแล้วค่ะ แต่คุณแม่ต้องไม่ลืมว่าของเล่น ควรเป็นของเล่นนุ่ม ๆ ถือจับได้ง่าย ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเวลาที่รถเบรกกะทันหันด้วยนะคะ
3. เสียงรถรอบข้างอาจทำให้หงุดหงิด ทั้งเสียงรถ เสียงแตร ความวุ่นวายบนท้องถนน อาจจะทำให้ลูกตกใจ เลยร้องไห้ไม่หยุด และรู้สึกไม่ชอบนั่งอยู่บนรถได้
วิธีรับมือ เปิดเพลงให้ฟังขณะนั่งรถ เมื่อพาลูกขึ้นรถ ลองเปิดเพลงที่มีจังหวะสบาย ๆ เช่น เพลงแจ๊ส เพลงคลาสสิก หรือเพลงฟังสบาย ๆ ไม่มีเนื้อเพลง จะช่วยให้ลูกมีอารมณ์ที่สงบ รู้สึกผ่อนคลาย ไม่ร้องไห้โวยวายขณะนั่งรถ และยังกระตุ้นให้เขานอนหลับได้ง่ายด้วยค่ะ
วิธีรับมือ เวลาที่ลูกนั่งรถ คุณแม่ต้องคอยตรวจสอบด้วยว่าภายในรถร้อนไปไหม แอร์เย็นทั่วถึงหรือเปล่า และปรับอุณหภูมิของแอร์รถให้เหมาะสม หรือหาผ้าห่ม ที่บังแสงแดดมาติดกระจกด้านที่ลูกนั่ง เพื่อป้องกันแสงแดดส่องเข้าตาลูก เพียงเท่านี้ลูกก็นั่งคาร์ซีทอย่างสบายใจแล้วค่ะ
5. ไม่เห็นคุณแม่ เพราะบางครั้ง คุณแม่อาจจะวางคาร์ซีทไว้เบาะหลัง ทำให้ลูกมองไม่เห็นคุณแม่ คิดว่าตัวเองนั่งคนเดียว รู้สึกกังวลเลยร้องไห้ออกมา
วิธีรับมือ แขวนกระจกให้ลูกมอง จะทำให้ลูกมองเห็นตัวเองในกระจก เพราะลูกจะชอบดูตัวเอง เขาจะหัวเราะเอิ๊กอ๊ากกับตัวเอง ช่วยสร้างความเพลิดเพลินได้ดีเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้การแขวนกระจกยังช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ทั้งคุณแม่และลูกด้วย เพราะขณะที่คุณแม่ขับรถอยู่ก็สามารถมองผ่านกระจกและเห็นว่าลูกกำลังทำอะไรอยู่ข้างหลัง และลูกก็ยังมองกลับมาเห็นหน้าคุณแม่ด้วย ทำให้ลูกรู้สึกมั่นใจ แม้จะนั่งคาร์ซีทอยู่เบาะหลังก็ไม่ร้องไห้งอแงแล้วค่ะ
วิธีรับมือ ลองให้ลูกทำความคุ้นเคยกับคาร์ซีท ด้วยการเอาคาร์ซีทไปนั่งในบ้าน ปล่อยให้เขาปีนหรือนั่งเล่นบนคาร์ซีท เมื่อลูกนั่งในรถจะได้รู้สึกคุ้นเคย และไม่ร้องไห้อีกค่ะ
7. ลูกป่วยหรือเปล่านะ การที่ลูกนั่งบนรถแล้วร้องไห้ทุกครั้ง แม้จะทำทุกวิถีทางก็ยังไม่หยุดร้อง แถมบางครั้งก็ร้องมากขึ้นเรื่อย ๆ อีก หากเป็นแบบนี้อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยคือ หูติดเชื้อ หูชั้นกลางอักเสบ เมื่ออยู่ในรถอากาศเบาบางลง เวลารถวิ่งอาจทำให้หูอื้อ เลยกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหูเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุให้ลูกร้องไห้งอแงมากขึ้นนั่นเอง
วิธีรับมือ ถ้าลูกร้องไห้มากกว่าปกติ คุณแม่ต้องสังเกตด้วยว่าร้องเพราะอะไร ลูกมีอาการเจ็บตรงไหนหรือเปล่า เพื่อจะได้ไปหาคุณหมอและทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีต่อไปค่ะ
วิธีรับมือ หากคุณแม่ต้องออกไปทำธุระนอกบ้าน และต้องพาเจ้าตัวเล็กไปด้วย ลองวางแผนการเดินทางและเลือกขับรถออกมาในช่วงเวลาที่ไม่ตรงกับเวลานอนของลูก หรือถ้าตรงกับช่วงเวลานอนจริง ๆ ควรเตรียมของใช้สำหรับนอนให้พร้อม เช่น หมอน ผ้าห่ม นม ตุ๊กตาตัวโปรด เพราะเขาจะได้นอนหลับในรถอย่างสบาย ไม่ร้องงอแงค่ะ
9. หนูหิวแล้ว บางทีการนั่งอยู่ในรถนาน เจอรถติดบ้าง ใช้ชีวิตอยู่ในรถนานจนเลยเวลาอาหารของลูก ทำให้ลูกหิวก็เลยเริ่มงอแงขึ้นมาค่ะ
วิธีรับมือ ก่อนเดินทาง ไม่ว่าจะไปไกลหรือใกล้ คุณแม่ต้องเตรียมเสบียงไว้ให้พร้อม เพราะเมื่อลูกหิวขึ้นมาจะได้มีอาหารพร้อมกินได้เลย คราวนี้จะเดินทางไปไหนก็สบายใจ ลูกอิ่มท้องก็ไม่ร้องงอแงแล้วค่ะ
อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้คุณแม่ต้องอดทนเมื่อ ลูกไม่ยอมนั่งคาร์ซีท และลองใช้วิธีรับมือเมื่อลูกไม่นั่งคาร์ซีทไปก่อนนะคะ แต่เมื่อผ่านช่วงวัยขวบปีแรกไปแล้ว ลูกก็จะเริ่มชินและปรับตัวกับการนั่งคาร์ซีทได้เอง คราวนี้ไปไหนมาไหนก็ไม่ร้องไห้งอแงแล้วค่ะ แถมยังจะรู้สึกแฮปปี้มากกว่า เมื่อรู้ว่าจะได้ออกไปเที่ยวนอกบ้านอีกแล้วค่ะ
ข้อมูลจาก : bellybelly.com.au, laughingkidslearn.com