
เด็กวัย 1-2 ปี ควรมีพัฒนาการและการส่งเสริมที่ดี
พัฒนาการเด็กและการส่งเสริมเด็กวัย 1-2 ปี (momypedia)





พัฒนาการเด็กทางร่างกายและการส่งเสริม
ลูกสามารถเดินและยืนได้เองอย่างมั่นคง อย่างเช่น สามารถเก็บของเล่นที่อยู่ที่พื้นและเดินเตาะแตะนำไปเก็บเข้าที่ได้ หากเจอสถานที่ที่ไม่เรียบ เขาจะคลานเหมือนหมี ปีนข้ามที่กีดขวางโดยลงน้ำหนักที่มือหรือเท้าพร้อมกับยกเข่าสูง ควบคุมร่างกายได้ดีขึ้นมากโดยมีการเพิ่มความเร็วและหยุดได้เมื่อเจอบางสิ่งที่น่าสนใจ มีการกะระยะและควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ดีขึ้นมาก
ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กลูกสามารถหยิบจับสิ่งของหลายๆ ชิ้นได้ในมือเดียว มีการกำแน่นไม่ปล่อยหากมีคนมาแย่ง แต่ก็จะเดินนำของเล่นไปให้คนที่ตนเองถูกใจด้วย และนอกเหนือจากการหยิบจับแล้ว วัยนี้จะเริ่มดึง ฉุด ลาก สิ่งที่เขาชอบและเข้าใจการทำงานของของเล่นแบบดึงลาก ซึ่งจะช่วยให้เด็กมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้นด้วย






พัฒนาการเด็กทางอารมณ์ จิตใจ และการส่งเสริม
เด็ก ๆ ที่ใกล้วัย 2 ขวบจะเริ่มมีพัฒนาการที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ซึ่งบางครั้งคุณพ่อคุณแม่จะมองว่าเป็นเด็กดื้อ (Terrible Two) เพราะลูกจะเชื่อฟังเราน้อยลง และมีพฤติกรรมใหม่ ๆ ที่ท้าทายให้คุณแก้ปัญหาด้วย ซึ่งเหตุผลของความดื้อและเจ้าอารมณ์นั้นมักเกิดจากสาเหตุดังนี้






เข้าใจอีคิวปรับพัฒนาการอารมณ์ลูกน้อย
EQ คือความสามารถของบุคคลในการตระหนักรู้ความคิด ความรู้สึกและภาวะอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น และสามารถนำข้อมูลความรู้เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการชี้นำความคิด และการกระทำของตนเองได้ โดยความสำเร็จของบุคคลมาจาก IQ เพียงร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นเรื่องของอีคิวทั้งสิ้น
สำหรับน้องหนูวัยนี้ที่เริ่มใช้ภาษาและสามารถสื่อสารกับคนใกล้ตัวได้ดีขึ้น จึงเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมที่จะปลูกฝังและพัฒนาอีคิวกันตั้งแต่ตอนนี้เลย เพราะอีคิวเป็น เรื่องจำเป็นที่ช่วยให้ลูกสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พร้อมจะเผชิญและแก้ปัญหา



อย่างไรก็ตามลูกวัยนี้ยังมีพัฒนาการด้าน อีคิวจำกัด อย่าเพิ่งรีบร้อนหรือยัดเยียดให้ลูกจนเกินไป เพราะต้องให้เหมาะกับวัยของลูกด้วย
พัฒนาการเด็กทางภาษาและการส่งเสริม
ลูกสามารถใช้คำ 2 คำพูดเชื่อมต่อกันได้แล้ว เข้าใจคำศัพท์ของสิ่งของที่อยู่ใกล้และสามารถหยิบตามที่คุณพ่อคุณแม่บอกได้ถูกต้อง ชี้ไปที่อวัยวะต่าง ๆ พร้อมบอกความต้องการของร่างกายได้ ใช้คำพูดพอ ๆ กับการสื่อสารด้วยท่าทาง ลูกยังไม่ชอบการฟังนิทานเป็นเรื่องหรือการพูดยาว ๆ และจะชอบนิทานภาพเป็นภาพ ๆ ไปเท่านั้น และสนใจฟังเมื่อผู้ใหญ่กำลังอธิบายภาพที่ตนเองชอบ รวมทั้งการเริ่มสนใจรายการสำหรับเด็กในโทรทัศน์
เสริมพัฒนาการเด็กด้านภาษาให้เด็กวัย 2-3 ปี







พัฒนาการเด็กทางสังคมและการส่งเสริม
สังเกตได้ว่าลูกจะชอบอยู่กับสังคมหรือกลุ่มคนมากขึ้น แม้ว่าจะอยากเล่นคนเดียวแต่ก็จะมองหาผู้ใหญ่ด้วยเสมอ จะเลียนแบบการทำงานบ้านหรือบุคลิกของคนใกล้ชิด ชอบเรียกร้องความสนใจจากคนที่ไม่รู้จักได้ด้วย เริ่มแยกแยะว่าสิ่งใดสามารถพึ่งตนเองได้ และสิ่งใดที่ลูกจะต้องพึ่งคนอื่นด้วย
พัฒนาการทางสังคมเป็นเรื่องที่ลูกต้องเรียนรู้ แต่เมื่อลูกกำลังอยู่ในวัยช่างวีนยิ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่อึดอัดใจ เพราะพฤติกรรมบางอย่างของลูกสร้างความน่าขันรวมทั้งความน่าอับอายขึ้นได้ ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาพฤติกรรมระหว่างการทำความรู้จักโลกภายนอก คุณพ่อคุณแม่ควรจัดการดังนี้

ลูกชอบเรียกร้องความสนใจ และไม่รู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ ไม่พอใจ หรืออาการขัดเคืองใจเหมือนผู้ใหญ่ อีกทั้งลูกไม่รู้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เมื่อแสดงออกไปแล้วผลตามมาคืออะไร ที่สำคัญเป็นวัยที่อยากทดสอบพลังอำนาจของตัวเอง พร้อมต้องการบอกว่าฉันไม่พอใจแล้วนะ คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มด้วยคำพูดนุ่มนวล ท่าทางที่เป็นสัญญาณให้ลูกรู้ว่าต้องสงบลงก็คือ ท่าจุ๊ปากพร้อมทำเสียง "จุ๊ จุ๊" คราวนี้ถ้าคุณทำท่านี้พร้อมเสียงแบบนี้เมื่อไหร่ลูกก็จะเรียนรู้ว่าต้องลด ความถี่ลงหน่อยแล้ว

อาจเกิดจากถูกจำกัดอยู่ในที่แคบ ๆ ไม่ได้รับการเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ขาดความอบอุ่น การโขกศีรษะถือเป็นการกระตุ้นตัวเองวิธีหนึ่ง หรือในเด็กที่มีความเครียดจากสถานการณ์ต่างๆ เช่น ถูกคนดูแลทำร้าย หรือเปลี่ยนพี่เลี้ยงใหม่ ก็อาจแสดงพฤติกรรมโขกศีรษะได้ ซึ่งสาเหตุอย่างหลังนี้ต้องดูแลแก้ไขเป็นพิเศษ เพราะกระทบกระเทือนทางจิตใจของลูก คุณพ่อหรือคุณแม่ต้องรีบจับตัวลูกไว้เพื่อหยุดพฤติกรรมนั้น แต่อย่าแสดงอาการตกอกตกใจจนเกินไป จากนั้นเบี่ยงเบนความสนใจเขาไปที่กิจกรรมอื่น ถ้าอาการโขกศีรษะของลูกเป็นไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรงแต่หาสาเหตุไม่เจอ แบบนี้คงไม่มีวิธีไหนดีเท่ากับพาไปปรึกษาแพทย์

ลูกจะเริ่มมีอาการหูทวนลม ไม่ฟัง ไม่เชื่อ ลูกกำลังทดสอบคุณพ่อกับคุณแม่ว่าจำกัดขอบเขตแค่ไหน หรือห้ามไปอย่างนั้นเอง ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่แกจะสร้างความเป็นตัวของตัวเองรวมทั้งความเชื่อมั่นด้วย คุณต้องแสดงออกอย่างชัดเจนว่า การห้ามนี้เป็นเรื่องจริงจัง วิธีการที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ในขณะที่ห้าม น้ำเสียงต้องเข้มกว่าปกติ ไม่มีท่าทีล้อเล่น "ไม่" ก็คือ "ไม่"
พัฒนาการเด็กทางสมองและการส่งเสริม
พัฒนาการทางสมองของลูกจะเจริญเติบโตเร็วมาก ตอนแรกเกิดนั้นสมองลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 30-40% ของผู้ใหญ่ และเพิ่มเป็น 60% เมื่ออายุ 4 ขวบ จึงถือว่าช่วง 6 ปีแรกของชีวิตเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วที่สุด
ในวัยซน 1-3 ขวบ ซึ่งถือเป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้ ความเฉลียวฉลาด และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ที่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อให้สมองเติบโตมีพัฒนาการเต็มศักยภาพ ซึ่งสมองแต่ละส่วนจะมีหน้าที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็ยังคงทำงานประสานกัน





วัย 1-2 ปี พัฒนาการเด็กทางร่างกายเชื่อมโยงสมอง








ขอขอบคุณข้อมูลจาก
