มาทำความเข้าใจลักษณะทางอารมณ์ของลูกน้อยกันเถอะ
9 ลักษณะทางอารมณ์ของเด็ก (M&C แม่และเด็ก)
เรื่อง : เกศนี บรูม
การทำความเข้าใจลักษณะทางอารมณ์ของลูกที่เติบโตขึ้น มีสังคมกว้างขึ้น และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว พ่อแม่สมัยนี้คงต้องยอมรับว่าบางทีก็ยากจะตามทัน ด้วยภาระหน้าที่การงานทำให้ไม่มีเวลาให้ลูกไม่มากนัก แต่ก็สามารถทำได้ด้วยการเรียนรู้ 9 ลักษณะทางอารมณ์ของลูก
Activity Level : ระดับความเคลื่อนไหว เช่น ลูกชอบเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่อยู่นิ่ง ๆ หรือ เป็นเด็กที่จับวางตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ชอบที่จะอยู่เฉย ๆ เด็กที่ไม่อยู่นิ่งจะเป็นเด็กที่เหมาะสำหรับการส่งเสริมทางด้านการกีฬาที่ใช้การเคลื่อนไหวมา
Distractibility : ลูกเป็นเด็กที่เสียสมาธิได้ง่ายหรือไม่ ระดับความสามารถในการใช้สมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมีสิ่งอื่นเข้ามารบกวน ถึงแม้ว่าสิ่งที่ลูกกำลังจดจ่ออยู่จะเป็นสิ่งที่ลูกไม่ชอบก็ตาม เช่น ลูกเสียสมาธิได้ง่ายเวลาได้ยินเสียงอื่น ๆ ขณะดื่มนมอยู่หรือไม่
Intensity : ความมากน้อยของพลังงานที่ตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกชอบหรือไม่ชอบ การเลี้ยงดูเด็กที่มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่โดดเด่นอาจจะยากกว่าเด็กคนอื่น แต่เด็กจะมีแนวโน้มที่จะมีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะและการแสดง
Regularity : การตอบสนองของร่างกายต่อกิจกรรม กิจวัตรประจำวันที่มีความเที่ยงตรงและสม่ำเสมอเช่น ลูกเป็นเด็กที่หิวและง่วงในเวลาเดิมเสมอหรือไม่ หรือเป็นเด็กที่หิว ง่วง ตื่น เป็นเวลา ถ้าลูกเป็นเด็กที่ หิว ง่วง และตื่นเป็นเวลา อาจจะเป็นคนที่ปรับตัวยากเมื่อต้องเดินทางต่างประเทศเมื่อโตขึ้น
Sensory Threshold : เด็กที่ไม่แสดงความอ่อนไหวง่ายต่อสิ่งกระตุ้นทางประสาทสัมผัส จะเป็นเด็กที่เลี้ยงดูได้ง่ายกว่า แต่เด็กที่มีความสามารถในการรับรู้ที่ไว จะมีแนวโน้มที่เป็นเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางด้านศิลปะ
Approach/Withdrawal : เด็กที่เข้าถึงได้ง่ายหรือเก็บตัว คือปฏิกิริยาของเด็กที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่หรือคนแปลกหน้า ง่ายในการเข้าหาคนแปลกหน้าหรือต้องใช้เวลาในการปรับตัว เด็กที่เข้าหาคนง่ายจะถูกมองว่าเป็นเด็กที่มีอัธยาศัยดี เด็กที่เข้าถึงได้ยากมักจะเลี่ยงภัยจากคนแปลกหน้าได้ง่ายกว่า
Adaptability : ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์ใหม่เด็กที่ปรับตัวยากอาจจะทำให้พ่อแม่ต้องคอยวางแผนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว แต่เด็กที่ปรับตัวง่ายเกินไป อาจจะเป็นเด็กที่ไม่ใช้เวลาคิดก่อนตัดสินใจทำอะไร
Persistence : ความยืนกรานในการฟันฝ่าอุปสรรคเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เด็กที่ยืนกรานจะมีแนวโน้มว่าจะเป็นคนที่ทำงานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในขณะที่เด็กที่ไม่ยืนกรานจะโตขึ้นเป็นคนที่รับฟังความคิดเห็นคนอื่น และยอมรับความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อคิดว่าทำงานด้วยตัวเองไม่ได้
Mood : คือการมองโลกในแง่ดีหรือร้าย ความน่าจะเป็นของการแสดงออกทางอารมณ์ต่อโลกภายนอก เด็กที่มองโลกในแง่ดีจะเป็นผู้ใหญ่ที่น่าคบ แต่อาจจะไว้วางใจคนมากเกินไป คนที่มองโลกในแง่ร้ายมักจะเป็นคนที่พิจารณาทุกอย่างอย่างรอบคอบ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ปีที่ 38 ฉบับที่ 512 ตุลาคม 2557