ลูกไอไม่หยุด ทําไงดี รวมเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นการไอเรื้อรัง ลูกไอไม่หายสักที หรือลูกไอมีเสมหะ บอกอะไรได้บ้าง พร้อมวิธีรับมือกับอาการไอของลูกให้อยู่หมัด
ค่อก ๆ แค่ก ๆ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเป็นกังวลใจไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อลูกไอไม่หยุด จนแก้มแดง หน้าแดง บางครั้งถึงกับร้องไห้ออกมากันเลยก็มี ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนวิตกกังวล กลัวว่าจะมีปัญหาหรือโรคเด็กอื่น ๆ ตามมา และเพื่อช่วยให้สบายใจมากขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำและวิธีรับมือกับอาการไอของลูกน้อยมาฝากกันแล้วค่ะ
อาการไอของลูก เกิดจากอะไร
อาการไอเป็นปฏิกิริยาของระบบทางเดินหายใจของร่างกาย เมื่อมีสารระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. อาการไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรัง สังเกตได้จากการที่ลูกมีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ บางคนอาจมีอาการไอแบบมีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเกิดจากโรคติดเชื้อ เช่น ไซนัสอักเสบ วัณโรค ไอกรน หรือไม่ได้เป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไอจากหลอดลมมีภูมิไว โรคภูมิแพ้ หอบหืด คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาการไอว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรังได้
2. อาการไอเฉียบพลัน
เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ เนื่องจากมีสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไป ทำให้ระคายเคืองที่บริเวณคอ หรือหลอดลม ดังนั้นร่างกายจึงไอเพื่อพยายามขับสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมานั่นเอง ซึ่งถ้าหากคุณแม่สงสัยว่าลูกไอเพราะกรณีนี้ แนะนำให้ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และพยายามนำออกมาอย่างระมัดระวังที่สุดค่ะ
ส่วนกรณีไอเนื่องจากอาการหวัด ถือเป็นอาการไอที่พบได้บ่อยมากในเด็ก มักพบอาการไอก่อนอาการอื่นตามมา หรือไอหลังจากเริ่มติดเชื้อ และมีอาการน้ำมูกไหล ตัวร้อน เป็นไข้ร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน สำหรับบางคนอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ สาเหตุก็เนื่องมาจากอากาศในบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ร่างกายของลูกปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เป็นหวัดและเกิดอาการไอขึ้นมานั่นเอง แต่ก็อาจมีบางกรณีที่ลูกหายเป็นไข้ ไม่มีน้ำมูก และหายจามแล้ว แต่อาการไอก็ยังไม่หายไปเสียที ซึ่งเราควรจะรับมืออย่างไรเมื่อลูกไอไม่หยุด หรือลูกไอมาก มาดูวิธีรับมือต่อไปนี้กันเลยค่ะ
วิธีบรรเทาอาการไอในลูกน้อย
สำหรับวิธีบรรเทาอาการไอของเด็ก เบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
- ให้ลูกดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดให้มาก ๆ พร้อมกับให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรให้รับประทานยาแก้ไอสำหรับเด็กด้วย และในกรณีที่ลูกมีน้ำมูก ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มพาดบ่าและลูบหลังเบา ๆ วิธีนี้จะช่วยคลายความอึดอัดและช่วยไม่ให้น้ำมูกไหลไประคายคอได้
- ให้รับประทานน้ำผึ้ง วิธีนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดี ยังช่วยลดอาการไอในเวลากลางคืน และสามารถช่วยลดเสมหะได้อีกด้วย โดยเด็กอายุ 2-5 ขวบ ให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนชา, เด็กอายุ 6-11 ขวบ ให้รับประทาน 1 ช้อนชา และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทาน 2 ช้อนชา ทั้งนี้ ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ รับประทาน เพราะอาจทำให้อาหารเป็นพิษได้ค่ะ
- เลี่ยงอากาศเย็น หากเปิดแอร์ควรตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และต้องระวังไม่ให้ลมแอร์หรือพัดลมเป่าโดนตัวลูกตรง ๆ เลือกเปิดพัดลมให้ส่ายไปมา หรือเลือกระบบแอร์แบบสวิง เพราะอากาศเย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้หลอดลมหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
- ก่อนนอนให้คุณพ่อคุณแม่ทายาหม่องหรือทาวิคส์บนฝ่าเท้าของลูก จากนั้นให้นวดเบา ๆ และสวมถุงเท้าทับ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนได้ค่ะ
- ให้จิบน้ำอุ่น หรือรับประทานซุปร้อน ๆ จะช่วยลดอาการไอและอาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดี
- ใช้เครื่องทำไอน้ำเปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ไอน้ำจะช่วยลดอาการคัดจมูกและลดอาการไอได้
- ล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือ หรือใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูกในโพรงจมูกออก เพื่อให้โพรงจมูกสะอาดและชะล้างน้ำมูกที่ติดอยู่ในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
- งดของทอด ของมัน ขนมขบเคี้ยวที่เป็นของโปรดของลูกก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารเหล่านี้กระตุ้นให้ระคายเคืองในคอและมีอาการไอมากขึ้น
- อมยาอมแก้ไอ สำหรับเด็กที่กินลูกอมได้แล้ว นอกจากใช้ยาละลายเสมหะ อาจจะใช้ยาอมแก้ไอเสริม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ลดการระคายเคืองในคอด้วย
- หากอาการไอเรื้อรังยังไม่หาย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์
เมื่อรู้จักวิธีรับมือกันแล้ว ทีนี้คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจแล้วนะคะ แค่ลองทำตามวิธีที่แนะนำไป รับรองว่าลูกจะหายจากอาการไอในเร็ววันอย่างแน่นอน แต่ถ้าลองทำตามด้วยวิธีข้างต้นแล้วอาการไอยังไม่หายเสียที แนะนำให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและรักษาให้ตรงจุดจะดีที่สุด
ขอบคุณข้อูลจาก : bangkokhospital.com, si.mahidol.ac.th, sikarin.com, pobpad.com
อาการไอของลูก เกิดจากอะไร
อาการไอเป็นปฏิกิริยาของระบบทางเดินหายใจของร่างกาย เมื่อมีสารระคายเคืองหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. อาการไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรัง สังเกตได้จากการที่ลูกมีอาการไอต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่า 4 สัปดาห์ บางคนอาจมีอาการไอแบบมีเสมหะ หรือไอแห้ง ๆ ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และรบกวนการนอนหลับ ซึ่งอาจเกิดจากโรคติดเชื้อ เช่น ไซนัสอักเสบ วัณโรค ไอกรน หรือไม่ได้เป็นโรคติดเชื้อ เช่น ไอจากหลอดลมมีภูมิไว โรคภูมิแพ้ หอบหืด คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาการไอว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการไอเรื้อรังได้
2. อาการไอเฉียบพลัน
เป็นอาการไอที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ เนื่องจากมีสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไป ทำให้ระคายเคืองที่บริเวณคอ หรือหลอดลม ดังนั้นร่างกายจึงไอเพื่อพยายามขับสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมานั่นเอง ซึ่งถ้าหากคุณแม่สงสัยว่าลูกไอเพราะกรณีนี้ แนะนำให้ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และพยายามนำออกมาอย่างระมัดระวังที่สุดค่ะ
ส่วนกรณีไอเนื่องจากอาการหวัด ถือเป็นอาการไอที่พบได้บ่อยมากในเด็ก มักพบอาการไอก่อนอาการอื่นตามมา หรือไอหลังจากเริ่มติดเชื้อ และมีอาการน้ำมูกไหล ตัวร้อน เป็นไข้ร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน สำหรับบางคนอาจใช้เวลาถึง 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ สาเหตุก็เนื่องมาจากอากาศในบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ร่างกายของลูกปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เป็นหวัดและเกิดอาการไอขึ้นมานั่นเอง แต่ก็อาจมีบางกรณีที่ลูกหายเป็นไข้ ไม่มีน้ำมูก และหายจามแล้ว แต่อาการไอก็ยังไม่หายไปเสียที ซึ่งเราควรจะรับมืออย่างไรเมื่อลูกไอไม่หยุด หรือลูกไอมาก มาดูวิธีรับมือต่อไปนี้กันเลยค่ะ
สำหรับวิธีบรรเทาอาการไอของเด็ก เบื้องต้นสามารถทำได้ดังนี้
- ให้ลูกดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดให้มาก ๆ พร้อมกับให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรให้รับประทานยาแก้ไอสำหรับเด็กด้วย และในกรณีที่ลูกมีน้ำมูก ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มพาดบ่าและลูบหลังเบา ๆ วิธีนี้จะช่วยคลายความอึดอัดและช่วยไม่ให้น้ำมูกไหลไประคายคอได้
- ให้รับประทานน้ำผึ้ง วิธีนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดี ยังช่วยลดอาการไอในเวลากลางคืน และสามารถช่วยลดเสมหะได้อีกด้วย โดยเด็กอายุ 2-5 ขวบ ให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนชา, เด็กอายุ 6-11 ขวบ ให้รับประทาน 1 ช้อนชา และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทาน 2 ช้อนชา ทั้งนี้ ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ รับประทาน เพราะอาจทำให้อาหารเป็นพิษได้ค่ะ
- เลี่ยงอากาศเย็น หากเปิดแอร์ควรตั้งอุณหภูมิให้สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และต้องระวังไม่ให้ลมแอร์หรือพัดลมเป่าโดนตัวลูกตรง ๆ เลือกเปิดพัดลมให้ส่ายไปมา หรือเลือกระบบแอร์แบบสวิง เพราะอากาศเย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้หลอดลมหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
- ก่อนนอนให้คุณพ่อคุณแม่ทายาหม่องหรือทาวิคส์บนฝ่าเท้าของลูก จากนั้นให้นวดเบา ๆ และสวมถุงเท้าทับ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนได้ค่ะ
- ให้จิบน้ำอุ่น หรือรับประทานซุปร้อน ๆ จะช่วยลดอาการไอและอาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดี
- ใช้เครื่องทำไอน้ำเปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ไอน้ำจะช่วยลดอาการคัดจมูกและลดอาการไอได้
- ล้างจมูกลูกด้วยน้ำเกลือ หรือใช้อุปกรณ์ดูดน้ำมูกในโพรงจมูกออก เพื่อให้โพรงจมูกสะอาดและชะล้างน้ำมูกที่ติดอยู่ในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น
- งดของทอด ของมัน ขนมขบเคี้ยวที่เป็นของโปรดของลูกก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาหารเหล่านี้กระตุ้นให้ระคายเคืองในคอและมีอาการไอมากขึ้น
- อมยาอมแก้ไอ สำหรับเด็กที่กินลูกอมได้แล้ว นอกจากใช้ยาละลายเสมหะ อาจจะใช้ยาอมแก้ไอเสริม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ลดการระคายเคืองในคอด้วย
- หากอาการไอเรื้อรังยังไม่หาย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกไปพบแพทย์
ขอบคุณข้อูลจาก : bangkokhospital.com, si.mahidol.ac.th, sikarin.com, pobpad.com