โรคมือเท้าปาก โรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก โรคมือเท้าปาก ติดต่อจากทางไหนได้บ้าง แล้วคุณพ่อคุณแม่จะป้องกันลูกน้อยจากมือเท้าปากได้อย่างไร มาศึกษาข้อมูลกัน
โรคมือเท้าปาก คือ โรคเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายต้องเฝ้าระวังลูกน้อยเป็นอย่างมาก เพราะด้วยปัจจุบันมีเชื้อไวรัสที่เติบโตขึ้นมากมาย และเชื้อไวรัสบางตัวก็เป็นสาเหตุให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งภูมิต้านทานยังไม่ดีเท่าไรนัก ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย แถมยังเป็นโรคติดต่อในเด็กที่ทำให้เด็กเล็กป่วยได้ง่าย และจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโต บางรายอาจมีอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนอีกด้วย ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องหาวิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก เพื่อไม่ให้ลูกน้อยเกิดอาการป่วย
โรคมือเท้าปากนี้เป็นโรคติดต่อโดยเชื้อไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ
- สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย
- สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่าโรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ
แม้ว่าในทุก ๆ ปีจะมีการระบาดของโรคมือปากเท้าปาก และเด็กที่ป่วยส่วนใหญ่ก็มีอาการไม่มากและหายเองได้ แต่บางครั้งบางคราวก็พบว่ามีรายที่เป็นหนักและต้องเข้าหออภิบาลผู้ป่วยหนัก เหตุที่ฟังดูน่ากลัวเพราะมีการเสียชีวิตค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อบางสายพันธุ์จะมีความดุเป็นพิเศษ เช่น เชื้อ Enterovirus 71 (EV71) แม้แต่เชื้อ Coxsackie A16 ที่อาจดูว่าไม่ดุ ส่วนใหญ่ที่เป็นมักจะหายเอง ก็มีรายงานเด็กเสียชีวิตได้เช่นกัน โดยอาการรุนแรงของโรคนี้คือ ซึม ไม่รู้สึกตัว กินอาหารไม่ได้ อ่อนเพลียมาก ปากแห้ง มีอาการขาดน้ำรุนแรง หากลูกมีอาการดังนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
เพราะฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่รวมถึงคุณครูในโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก รวมถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก ต้องรู้จักวิธีป้องกันและดูแลเด็กให้ห่างไกลจากโรคภัยเหล่านี้
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากให้ลูกน้อยติดโรคจากไวรัสตัวร้ายนี้ต้องหาวิธีป้องกัน โดยสามารถป้องกันโรคมือเท้าปากได้ดังนี้
1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
2. ควรดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป และสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาด ก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่ายทุกครั้ง
3. สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็ก ๆ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
4. ทำความสะอาดของเล่น
5. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม
6. ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร และไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนม ร่วมกับผู้อื่น
7. ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
8. หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรหยุดเรียนและพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อ
9. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว เมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
10. ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้ หรือของเล่นเด็ก ที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอร็อกซ์) อัตราส่วนคือ น้ำยา 20 ซี.ซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซี.ซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
11. ถ้าพบผู้ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป
12. ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แจ้งโรงเรียน และเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน โรคนี้จะหายได้เอง แต่ควรเฝ้าระวังอาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
ชีวิตของลูกน้อยอยู่ในมือคุณ ๆ ทั้งหลาย เพราะถึงแม้การระบาดของโรคมือปากเท้าปากที่ผ่านมา เด็กที่ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ทางที่ดีกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : emaginfo.com, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, โรงพยาบาลศิครินทร์, rama.mahidol.ac.th
มือเท้าปาก ติดต่อได้อย่างไร
โรคมือเท้าปากนี้เป็นโรคติดต่อโดยเชื้อไวรัสแพร่ผ่านทางระบบทางเดินอาหารและการหายใจ
- สามารถติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วย
- สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสผ่านของเล่น มือผู้เลี้ยงดู น้ำและอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ
ปัจจุบันในประเทศไทยพบว่าโรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ซึ่งโรคมีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถติดต่อกันได้โดยที่ยังไม่แสดงอาการ
แม้ว่าในทุก ๆ ปีจะมีการระบาดของโรคมือปากเท้าปาก และเด็กที่ป่วยส่วนใหญ่ก็มีอาการไม่มากและหายเองได้ แต่บางครั้งบางคราวก็พบว่ามีรายที่เป็นหนักและต้องเข้าหออภิบาลผู้ป่วยหนัก เหตุที่ฟังดูน่ากลัวเพราะมีการเสียชีวิตค่อนข้างรวดเร็ว เนื่องจากเชื้อบางสายพันธุ์จะมีความดุเป็นพิเศษ เช่น เชื้อ Enterovirus 71 (EV71) แม้แต่เชื้อ Coxsackie A16 ที่อาจดูว่าไม่ดุ ส่วนใหญ่ที่เป็นมักจะหายเอง ก็มีรายงานเด็กเสียชีวิตได้เช่นกัน โดยอาการรุนแรงของโรคนี้คือ ซึม ไม่รู้สึกตัว กินอาหารไม่ได้ อ่อนเพลียมาก ปากแห้ง มีอาการขาดน้ำรุนแรง หากลูกมีอาการดังนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
เพราะฉะนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่รวมถึงคุณครูในโรงเรียนที่มีเด็กเล็ก รวมถึงสถานรับเลี้ยงเด็ก ต้องรู้จักวิธีป้องกันและดูแลเด็กให้ห่างไกลจากโรคภัยเหล่านี้
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก
สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ไม่อยากให้ลูกน้อยติดโรคจากไวรัสตัวร้ายนี้ต้องหาวิธีป้องกัน โดยสามารถป้องกันโรคมือเท้าปากได้ดังนี้1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
2. ควรดูแลรักษาความสะอาดทั่วไป และสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยล้างมือ ฟอกสบู่ให้สะอาด ก่อนเตรียมอาหารและหลังขับถ่ายทุกครั้ง
3. สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง ให้เด็ก ๆ ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
4. ทำความสะอาดของเล่น
5. รับประทานอาหารที่สะอาด ปรุงใหม่ ๆ ไม่มีแมลงวันตอม
6. ควรใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร และไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูด ช้อน ขวดนม ร่วมกับผู้อื่น
7. ไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของโรค
8. หากเด็กที่ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรหยุดเรียนและพักรักษาให้หายป่วยเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื้อ
9. ผู้ดูแลเด็กต้องตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และรีบล้างมือให้สะอาดโดยเร็ว เมื่อเช็ดน้ำมูก น้ำลาย หรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เสื้อผ้าที่เปื้อนอุจจาระ
10. ทำความสะอาดพื้น เครื่องใช้ หรือของเล่นเด็ก ที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำยาฟอกขาว (คลอร็อกซ์) อัตราส่วนคือ น้ำยา 20 ซี.ซี. ต่อ น้ำ 1,000 ซี.ซี. และล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
11. ถ้าพบผู้ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อดำเนินการควบคุมโรคต่อไป
12. ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานที่ป่วยไปพบแพทย์ ให้การรักษาตามคำแนะนำของแพทย์ แจ้งโรงเรียน และเด็กควรหยุดเรียนจนกว่าจะหาย ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน โรคนี้จะหายได้เอง แต่ควรเฝ้าระวังอาการซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้น
ชีวิตของลูกน้อยอยู่ในมือคุณ ๆ ทั้งหลาย เพราะถึงแม้การระบาดของโรคมือปากเท้าปากที่ผ่านมา เด็กที่ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายเองได้ แต่ภูมิคุ้มกันของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน ทางที่ดีกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : emaginfo.com, สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี, โรงพยาบาลศิครินทร์, rama.mahidol.ac.th