
ปวดท้องน้อย หลังคลอด ! (รักลูก)
ปกติคุณแม่หลังคลอดมักมีอาการปวดท้องน้อยอยู่บ้าง แต่สัญญาณต่อไปนี้คืออาการผิดปกติที่ต้องใส่ใจค่ะ
2 กลุ่มสาเหตุ
1. อาการปวดที่ไม่ได้สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ เกิดได้ในผู้หญิงทั่วไป อาทิ เกิดจากกลุ่มโรคทางลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือทางเดินอาหาร หรือการติดเชื้อในระบบอวัยวะของผู้หญิง เช่น มดลูก ช่องคลอด ที่ไม่สัมพันธ์กับการคลอดก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการปวดท้องน้อยได้
2. อาการปวดท้องน้อยที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ โดยเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือเกิดขึ้นหลังคลอดไปแล้วระยะหนึ่ง
ปวดแบบเฉียบพลัน โดยปกติจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด คุณแม่จะมีอาการปวดท้องน้อยอยู่แล้ว แต่อาการจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และความเสี่ยงช่วงคลอด ที่ส่งผลทำให้เกิดการปวดแบบเฉียบพลัน เช่น




ปวดหลังคลอด ในกรณีนี้อาจเกิดได้จากการตกเลือดหลังคลอดภาวะมดลูกเข้าอู่ช้า มดลูกเกิดการหย่อน และอาจนำไปสู่การติดเชื้อส่งผลให้มีการปวดท้องน้อยได้ นอกจากนี้ การถูกกระตุ้นด้วยการดูดนมก็อาจทำให้ปวดท้องน้อยได้เช่นกันค่ะ
ปวดแบบนี้น่าเป็นห่วง
การปวดท้องน้อยหลังคลอด มักเกิดจากมดลูกบีบตัวเล็กน้อย เนื่องจากมดลูกพยายามจะบีบตัวให้กลับเข้าที่เดิม ซึ่งปกติจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน แต่ถ้าอาการเหล่านี้ น่าเป็นห่วงแล้วค่ะ




อาการเหล่านี้อาจเกิดจากการติดเชื้อหลังคลอด ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม หากไม่ได้รับการรักษา อาการอาจจะรุนแรงมากขึ้น จนเกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หรือเกิดการติดเชื้อเข้ากระแสเลือด ทำให้มีไข้สูง และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทำอย่างไรดี เมื่อปวด
ส่วนใหญ่จะรักษาตามสาเหตุ เช่น ถ้ามีอาการปวดร่วมกับมีเลือดออก หรือถ้าขนาดมดลูกยังไม่ยุบตัว ต้องดูว่ามีรกค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีต้องนำรกที่ค้างอยู่ออกไป แล้วให้ยาฆ่าเชื้อ ถ้าตรวจแล้วไม่พบว่ามีรกค้างอยู่ แต่ยังมีอาการปวดท้องน้อยอยู่ อาจเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อเช่นกันค่ะ
รักษาด้วยยา...โดยจะดูตามอาการ เพราะยารักษามีทั้งแบบกินและแบบฉีด ซึ่งคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินให้ เช่น มีไข้ขึ้นสูง กดเจ็บมีตกขาวจำนวนมากและมีกลิ่นเหม็น กรณีนี้ต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อให้ยาฉีด แต่ถ้าไม่มีไข้ กดเจ็บเล็กน้อย มีตกขาว คุณหมอจะให้ยากลับไปกิน โดยเลือกใช้ยาที่ไม่มีผลต่อการให้นมลูก แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาในกลุ่มที่มีผลต่อน้ำนมจริง ๆ คุณหมอจะแจ้งให้คุณแม่หยุดให้นมลูกช่วงแรกไปก่อน จนกว่าจะมีอาการดีขึ้น แล้วหยุดยา ถึงค่อยให้นมลูกใหม่ได้
รักษาด้วยการออกกำลังกาย...หลังคลอดควรออกกำลังกายเบา ๆ ด้วยการเดินไปมาช้า ๆ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งได้ แต่ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม หรือใช้แรงเยอะเกินไป เพราะอาจทำให้แผลเกิดการปริแตกได้ เพื่อความปลอดภัยควรออกกำลังกายหลังคลอด 2 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ
นอกจากนี้ คุณแม่ต้องปรับพฤติกรรมดูแลตนเองให้เหมาะสมด้วยค่ะ เช่น ดูแลแผลผ่าตัด แผลฝีเย็บให้สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้มีภาวะแทรกซ้อนหรือติดเชื้อได้ หรือการใช้วิธีประคบอุ่นก็จะช่วยลดอาการปวดและบวมลงได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 32 ฉบับที่ 374 มีนาคม 2557