
รับมือ 4 อาการป่วยของเบบี๋ (modernmom)
โดย: นภัส
แม้อาการเป็นไข้ ไอ อาเจียน เป็นอาการเล็ก ๆ แต่สำหรับทารกเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลแต่เนิ่น ๆ ไม่ปล่อยทิ้งไว้ให้เนิ่นนาน ส่วนจะดูแลอย่างไรให้ถูกวิธี Modern Mom มีวิธีการดูแลอาการเบื้องต้นมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
ไข้ -ตัวร้อน
ไข้คือการที่อุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ถ้าลูกมีอุณหภูมิมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ถือว่าไข้สูง ซึ่งอาจทำให้เกิดชักได้โดยเฉพาะเด็กเล็ก ส่วนอุณหภูมิระหว่าง 37.5-38.5 องศาเซลเซียส ยังเป็นไข้ต่ำ คุณแม่ควรใช้ปรอทวัดไข้ เพื่อประเมินความรุนแรงของไข้ ไม่ควรใช้เพียงมือสัมผัสเพื่อบอกว่าตัวรุม ๆ หรือตัวร้อนจัดเท่านั้น ยิ่งในเด็กเล็กวัย 3 เดือน – 2 ปี เป็นวัยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ
การดูแล : เมื่อลูกตัวร้อน มีไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรเช็ดตัวเป็นหลักและให้ยาลดไข้เสริม


ชัก
อาการชักมักจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพาะเมื่อมีไข้ตัวร้อนสูงเกิน 39 องศาเซลเซียส และมักเกิดในช่วงวันแรกหรือวันที่ 2 ของการมีไข้ เด็กจะมีอาการเกร็งทั้งตัว ตาเหลือก กัดฟันและลิ้น แล้วตามด้วยการกระตุกของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 1–3 นาที โดยอาจมีอาการน้ำลายฟูมปาก หรือริมฝีปากและปลายมือปลายเท้ามีสีคล้ำเขียวได้ในรายที่ชักเป็นเวลานาน หลังจากหยุดชักแล้วเด็กมักจะหลับ หรือมีอาการสะลึมสะลือไปชั่วครู่
การดูแล : คุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติ อย่าตกใจจนทำอะไรไม่ถูก และรีบปฐมพยาบาลลูก





ขณะที่ลูกชัก ไม่ควรเขย่าหรือตีเพื่อให้ลูกรู้สึกตัวจะทำให้ลูกชักมากขึ้น รวมถึงห้ามป้อนอะไรให้ลูกเด็ดขาด แม้กระทั่งยาลดไข้ เพราะทำให้สำลักได้
เช็ดตัวลูก




อาเจียน
อาเจียนเป็นอาการที่จะพบบ่อยในเด็กป่วย ซึ่งอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการถ่ายเหลว ปวดท้อง และไข้ อาการอาเจียนมักทุเลาลงหรือหายไปได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะที่ลูกอาเจียนออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะ สีอะไร อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วยไหม เนื่องจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้





การดูแล : หากลูกอาเจียนหนัก กินไม่ได้ อาเจียนพุ่ง มีเลือดออกมา รวมถึงมีอาการอื่นร่วมด้วยก็ควรรีบพาไปพบคุณหมอค่ะ แต่หากลูกยังพอเล่นได้ กินอาหารได้ ก็สามารถเฝ้าดูแลอาการที่บ้านได้ดังนี้ค่ะ


ไอ
อาการไอเป็นกลไกของการกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ซึ่งอาการไอพบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วง 4 เดือน – 2 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้จากแม่เริ่มหมดลง เลยมีโอกาสรับเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น หากมีอาการไอติดต่อมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็อาจจะเป็นการไอเรื้อรังได้ ซึ่งก็ต้องพาไปพบคุณหมอค่ะ
การดูแล : ในเด็กช่วงขวบปีแรก เบื้องต้นยังไม่ควรให้ยาแก้ไอ แต่ให้ลูกดื่มน้ำเยอะ ๆ และบ่อยครั้ง เพื่อให้เสมหะไม่เหนียว แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นจะทำให้ชุ่มคอและไม่ระคายเคือง ถ้าลูกไอแล้วสำรอกเสมหะออกมาก็จะดีขึ้น และต้องให้พักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ก็อาจต้องคอยสังเกตอาการของลูกในรายละเอียด เมื่อต้องไปหาคุณหมอ จะได้มีข้อมูลให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยได้ถูกต้องค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
