อย่างไรจึงเรียกว่า..มีบุตรยาก

ตั้งครรภ์

อย่างไรจึงเรียกว่า..มีบุตรยาก
(สุขกาย สบายใจ)
Body Scan

          กลายเป็นปรากฏการณ์ หรือวัฒนธรรมไปแล้วสำหรับคนวัยทำงานในยุคนี้ ที่ส่วนใหญ่มักจะแต่งงานช้า หรือแต่งงานในช่วงอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาเมื่ออยากจะมีลูกนั่นคือ "ภาวะการมีบุตรยาก"

สาเหตุของการมีบุตรยาก

          ส่วนใหญ่ของการมีบุตรยากเกิดจากฝ่ายชาย 40% จากฝ่ายหญิง 50% และอีก 10% ไม่พบสาเหตุของการมีบุตรยาก

          เกิดจากการสร้างอสุจิที่ผิดปกติทั้งคุณภาพและปริมาณ

          เกิดจากความผิดปกติของปากมดลูกและมดลูก และความผิดปกติของช่องคลอด เช่น มีแผ่นกั้นช่องคลอด

          ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ห่างเกินไป ความเครียดหรือโรคประจำตัวทางร่างกายอื่น ๆ โดยการหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก ควรทำพร้อมกันทั้งฝ่ายชาย และฝ่ายหญิง เพื่อจะได้รักษาและแก้ไขที่สาเหตุได้โดยตรง

ผ่านขั้นตอนอะไร...เมื่อไปพบแพทย์

          แพทย์จะทำการซักประวัติโรคประจำตัว, ประวัติการเจ็บป่วย, การมีประจำเดือน และการมีเพศสัมพันธ์ พร้อมทั้งตรวจร่างกาย และตรวจเลือดอย่างละเอียด ดูระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง บางรายอาจจำเป็นต้องฉีดสารทึบแสงเอกซเรย์เพื่อตรวจดูโพรงมดลูก และท่อนำไข่ว่าปกติหรือไม่ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะภายใน การพิจารณาตรวจนั้นแพทย์จะค่อย ๆ ทำไปทีละขั้นตอน

          ทำได้อย่างง่ายดาย เพียงกรวดน้ำเชื้อดูปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ ก็สามารถบอกได้ว่ามีสาเหตุของภาวะมีบุตรยากหรือไม่

วิธีการรักษาเบื้องต้น

          ผลการตรวจทุกอย่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ แพทย์จะแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่มีไข่ตก

          ผลการตรวจพบความผิดปกติ ก็จะรักษาตามสาเหตุ เช่น

 ไม่มีการตกไข่
 หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และใช้ยากระตุ้นการตกไข่
ระดับฮอร์โมนผิดปกติ
 แก้ไขเรื่องภาวะฮอร์โมน
 การติดเชื้อ
 ใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรค
มีพังผืดที่มดลูก ท่อนำไข่ หรือรังไข่
ผ่าตัดเลาะพังผืดออก และเนื่องจากท่อนำไข่เป็นอวัยวะที่มีขนาดเล็กมาก จำเป็นต้องผ่าตัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ และเครื่องมือขนาดเล็กเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด

          หากรักษาภาวะผิดปกติแล้วยังไม่มีบุตรได้ตามกลไกธรรมชาติ อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

 การคัดเลือกเชื้ออสุจิ และฉีดผสมเทียม (Intrauterine insemination : IUI)

          เป็นการฉีดตัวอสุจิที่ได้รับการเตรียม และคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรง รูปร่างดี ในปริมาณที่มากพอเข้าสู่โพรงมดลูก โดยการฉีดผ่านสายยางที่สอดผ่าปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อช่วยให้อสุจิมีโอกาสพบกับไข่ได้ง่ายขึ้น

          วิธีนี้เป็นวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ไม่ยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายไม่สูง และมีโอกาสในการตั้งครรภ์พอควร อย่างไรก็ตามผลการรักษาจะดีหรือไม่ อยู่ที่การคัดเลือกกลุ่มคู่สมรสที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งควรจะเป็นคู่สมรสที่อายุไม่มาก ไม่มีปัญหาเรื่องท่อนำไข่อุดตัน ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่เป็นรุนแรง หรือฝ่ายชายที่มีภาวะผิดปกติไม่มาก

 การทำกิ๊ฟท์ (Gamete Intrafallopain Transfer : GIFT)

          เป็นวิธีการนำเอาไข่ และตัวอสุจิ ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ในตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ โดยใส่ผ่าทางหน้าท้องด้วย วิธีส่องกล้อง วิธีการนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อรังไข่ปกติ อย่างน้อย 1 ข้าง และฝ่ายชายที่มีเชื้ออสุจิที่ค่อนข้างปกติ

 การทำทำเด็กหลอดแก้ว (In-Vitro Fertilization : IVF)

          จะคล้ายกับวิธีการทำกิ๊ฟท์มาก แต่แตกต่างกันคือ แพทย์จะนำเอาไข่และเชื้ออสุจิมาผสมกันในหลอดทดลอง จนกระทั่งเกิดการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อนอีกประมาณ 2-3 วัน ซึ่งจะได้ตัวอ่อนในระยะ 4-8 เซลล์ หรือเลี้ยงจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) แล้วจึงนำเอาตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโต และฝังตัวต่อไป ในการเตรียมตัวอ่อนนี้ อาจจะมีตัวอ่อนที่เหลือและแข็งแรงก็สามารถทำการแช่แข็ง และเก็บไว้ใช้ในรอบรักษาต่อไปได้

          วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีความผิดปกติ ของท่อนำไข่ทั้งสองข้าง มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เชื้ออสุจิของฝ่ายชายมีจำนวนน้อย หรือมีภาวะมีบุตรยากที่ตรวจไม่พบสาเหตุ

 การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasrmic Sperm Injection : ICSI)

          วิธีนี้จะคล้ายกับการทำเด็กหลอดแก้วมาก ต่างกันตรงที่การปฏิสนธิ การทำอิ๊กซี่ จะเป็นวิธีช่วยปฏิสนธิโดยใช้เข็มดูดตัวอสุจิขนาดเล็กเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่ 1 ใบ โดยผ่านเครื่องมือและกล้องที่มีความละเอียดมาก เป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดพิเศษ ที่มีกำลังขยาย 200-400 เท่า มีอุปกรณ์เฉพาะที่เรียกว่า Micromanipulator ชนิด 3 มิติ ติดตั้งอยู่ จากนั้นจะนำไข่ที่ได้รับการฉีดเชื้ออสุจิไปตรวจสอบการปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงต่อในห้องปฏิบัติการจนเป็นตัวอ่อน หรือจนถึงระยะบลาสโตชิสท์ (Blastocyst) จากนั้นก็ใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูก

          วิธีการนี้นับว่าเป็นวิธีการใหม่ล่าสุด ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายที่มีความผิดปกติของเชื้ออสุจิอย่างมาก

เทคโนโลยีล่าสุด...สำหรับผู้ชายเป็นหมัน

 การทำเทเซ่ (Testicular Sperm Extraction : TESE)

          ในกรณีที่ฝ่ายชายเป็นหมันไม่พบตัวอสุจิในน้ำเชื้อที่หลั่งออกมาเลย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากท่อนำอสุจิอุดตัน ไม่มีท่อนำอสุจิตั้งแต่กำเนิด มีปัญหาเกี่ยวกับการหลั่งอสุจิ ตัวอสุจิที่หลั่งออกมาตายหมด เคยมีการอักเสบของอัณฑะทำให้มีการสร้างเชื้ออสุจิน้อยมาก

          วิธีการนี้เป็นการผ่าตัดเล็กๆ และมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก โดยจะตัดเอาเนื้อเยื่อบางส่วน หรือใช้เข็มเล็กๆ ดูดเนื้อเยื่อของอัณฑะมาบดหาตัวอสุจิ ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า มักจะมีการสร้างตัวอสุจิอยู่ จากนั้นก็ดำเนินการทำด้วยวิธีอิ๊กซี่ต่อไป




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ฉบับ 03 พฤษภาคม 2554


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อย่างไรจึงเรียกว่า..มีบุตรยาก อัปเดตล่าสุด 22 มิถุนายน 2554 เวลา 14:21:42 1,747 อ่าน
TOP
x close