โรคสมาธิสั้น คืออะไร
สัญญาณของโรคสมาธิสั้นคืออะไร
ต้องบอกว่าเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะมีปัญหาในการให้ความสนใจ อยู่นิ่ง ๆ ตั้งใจฟังคำสั่งหรือทำตามคำแนะนำ แต่สำหรับเด็กสมาธิสั้น สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มมากขึ้นทวีคูณ ดื้อมากกว่าและบ่อยกว่า ซึ่งสัญญาณของโรคสมาธิสั้นในเด็ก มีดังนี้
- ไม่สามารถจดจ่ออะไรนาน ๆ ได้ ฟุ้งซ่านได้ง่าย
- ไม่รอบคอบ ทำผิดพลาด เช่น ในการเรียนอาจจะลืมทำการบ้าน หรือทำของหายบ่อย ๆ
- ไม่สามารถยึดติดกับการเรียนหรืองานที่น่าเบื่อหรือใช้เวลานาน ๆ ได้
- ไม่สามารถฟังหรือปฏิบัติตามคำสั่งได้
- เปลี่ยนกิจกรรมที่กำลังทำอยู่บ่อย ๆ และต่อเนื่อง
- จัดระเบียบงานหรือการเรียนอะไรไม่ได้เลย
- ไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้ โดยเฉพาะในที่ที่เงียบสงบ
- กระสับกระส่าย
- ไม่มีสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ
- รอคิวไม่เป็น
- ลงมือทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่คิด
- ชอบพูดแทรก
- ไม่รู้สึกถึงอันตรายใกล้ตัว
โดยอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาสำคัญในชีวิตของเด็ก เช่น การเรียนไม่จบ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่ดีกับเด็กและผู้ใหญ่คนอื่น ๆ และปัญหาเกี่ยวกับวินัย เป็นต้น
โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร
วิธีแก้ให้ลูกหายสมาธิสั้น ทำยังไงได้บ้าง
แม้ว่าโรคสมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ดี แต่ก็มีกลยุทธ์การเลี้ยงดูที่มีประสิทธิภาพที่สามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเหล่านี้ได้ เนื่องจากเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นต้องการความสม่ำเสมอ การสื่อสารที่ชัดเจน และรางวัลสำหรับเด็กดีเมื่อเขาทำตามคำสั่ง อีกทั้งพวกเขายังต้องการความรัก การสนับสนุน และกำลังใจมากมาย วิธีที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยได้มีดังนี้ค่ะ
- จัดตารางให้กับลูกอย่างเป็นสัดเป็นส่วน ช่วยให้ลูกจดจ่อและจัดระเบียบโดยทำกิจวัตรประจำวัน ลดความซับซ้อนของตารางกิจกรรมของลูก และพยายามทำให้เขายุ่งอยู่กับกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพ
- ตั้งกฎที่ชัดเจน โดยต้องอธิบายให้เข้าใจว่าเขาจะโดนอะไรถ้าฝ่าฝืนคำสั่ง และจะได้อะไรถ้าเชื่อฟัง รวมถึงอย่าลืมให้รางวัลกับเขาทุกครั้งตามที่บอกเขาด้วยนะ
- ส่งเสริมการออกกำลังกายและการนอนหลับ การออกกำลังกายช่วยเพิ่มสมาธิและส่งเสริมการเจริญเติบโตของสมอง ที่สำคัญยังทำให้เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นนอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการของโรคสมาธิสั้นได้
- จัดเวลาการกินอาหารเพื่อสุขภาพ โดยทำตารางกินอาหารหรือของว่างเพื่อสุขภาพให้ลูกทุก ๆ 3 ชั่วโมง และลดอาหารขยะ รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลด้วย
- สอนให้ลูกมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี อย่างเช่น ช่วยให้พวกเขาเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้น เรียนรู้การอ่านใบหน้าและภาษากายของผู้คน และโต้ตอบกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น
อย่าเพิ่งหงุดหงิดหรือโมโหกับอาการโรคสมาธิสั้นของลูก แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้ความอดทนและทำความเข้าใจกับพวกเขาให้มาก ๆ แล้วโรคนี้ก็จะดีขึ้นได้ในที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : helpguide.org, kidshealth.org, nhs.uk