ไวรัสตับอักเสบในเด็ก ใช่ผลกระทบจากวัคซีนโควิด 19 หรือไม่
เรื่องนี้เรียกว่าเป็นประเด็นถกเถียงมากเลยทีเดียว เมื่อไวรัสตับอักเสบในเด็กกำลังระบาดในหลายประเทศ ซึ่งมีข่าวลวงออกมาว่าเกิดจากวัคซีนโควิด 19 ล่าสุดสำนักงานความมั่งคงด้านสุขภาพของสหราชอาณาจักร (UK Health Security Agency - UKHSA) ได้ออกมาปฏิเสธว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง โดยระบุว่า เด็กที่มีอาการโรคนี้ส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ซึ่งอายุยังไม่เข้าเกณฑ์การรับวัคซีนโควิด 19 แต่กระนั้นก็ยังมีจำนวนเด็กที่ติดเชื้ออย่างเฉียบพลันมากขึ้นเรื่อย ๆ
จากการวิจัยเผยว่า พบเชื้อไวรัสอะดีโน ประเภท 41 มากที่สุดในจำนวนเด็กที่ติดเชื้อ ทำให้นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตั้งสมมติฐานถึงความเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางพันธุกรรมของไวรัสอะดีโนที่อาจกระตุ้นให้มีตับอักเสบได้ง่ายขึ้น และอีกข้อสันนิษฐานคือ เมื่อเด็ก ๆ กลับมาใช้ชีวิตตามปกติภายหลังมีการประกาศยกเลิกข้อบังคับเกี่ยวกับโควิด 19 ทำให้เพิ่งได้สัมผัสกับเชื้อไวรัสอะดีโนเป็นครั้งแรกในช่วงวัยที่ช้าเกินกว่าปกติเล็กน้อย จนนำไปสู่การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันอย่างรุนแรงนั่นเอง
ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด
หนึ่งในไวรัสตับอักเสบอันตรายและพบได้บ่อย “ไวรัสตับอักเสบบี” เกิดจากอะไร
ทั้งนี้ การระบาดของไวรัสตับอักเสบในเด็กนั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความกังวล เพราะสิ่งที่น่ากลัวกว่าคือ “ไวรัสตับอักเสบบี” ซึ่งมักจะมีความรุนแรงและพบได้บ่อย โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผ่านการสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ โดยภาวะนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อตับ เช่น มะเร็งตับ ตับแข็ง และตับวาย เป็นต้น ในประเทศไทยคาดว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ประมาณร้อยละ 5 ของประชากร หรือประมาณ 3 ล้านคนเลยทีเดียว
ไวรัสตับอักเสบบีในเด็ก ติดต่อทางไหน
ปกติแล้วไวรัสตับอักเสบบีในผู้ใหญ่หรือคนทั่วไปจะติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งผ่านทางบาดแผลบนผิวหนัง การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน โดยเฉพาะของใช้ที่ต้องปนเปื้อนกับเลือดหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น มีดโกน แปรงสีฟัน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เป็นต้น แต่สำหรับสาเหตุการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบีในเด็กนั้น ส่วนใหญ่มักติดต่อจาก
- ติดต่อจากมารดาสู่ทารกโดยการสัมผัสกับเลือดและสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสในขณะคลอด โดยเฉพาะหากมารดามีเชื้อไวรัสปริมาณสูง หรือมีสารแอนติเจน (HbeAg) ในกระแสเลือด จะทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ถึง 90%
- ติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ และจะติดต่อได้ง่ายขึ้นถ้าหัวนมแม่มีแผล แต่เนื่องจากนมแม่มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนแรก จึงยังแนะนําให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ยกเว้นมารดามีแผลที่หัวนมหรือลูกขบกัดหัวนมแม่
- การใช้ของร่วมกันในเด็กเล็กวัยอนุบาล อย่างที่ทราบกันว่าไวรัสตับอักเสบบีจะติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ซึ่งในวัยอนุบาลอาจมีการใช้ของร่วมกัน กินอาหารจากภาชนะเดียวกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งหากลูกไปสัมผัสสารคัดหลั่งของเพื่อนที่เป็นพาหะก็อาจทำให้ติดโรคนี้ได้
ไวรัสตับอักเสบบี อาการเป็นยังไง
สำหรับอาการของโรคไวรัสตับอักเสบบีนั้น ส่วนใหญ่มักแสดงอาการหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 1-3 เดือน โดยอาการจะมาแบบเฉียบพลัน ได้แก่
- มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนแรง ปวดตามข้อ
- เจ็บใต้ชายโครงขวา
- ปวดบริเวณช่องท้อง
- เบื่ออาหาร
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม
ไวรัสตับอักเสบบี รักษาหายไหม
วิธีการรักษาไวรัสตับอักเสบบี
วิธีการป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ทำอย่างไรได้บ้าง
เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่สามารถติดกันได้ง่ายมากผ่านทางสารคัดหลั่งต่าง ๆ ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันโรค คุณพ่อคุณแม่ควรทำดังนี้ค่ะ
- พาลูกไปรับวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี โดยเด็กจะต้องรับ 3 เข็ม คือ ตอนแรกเกิด ตอนอายุ 1-2 เดือน และตอน 6-18 เดือน ตามลำดับ
- ห้ามลูกไม่ให้ใช้ของร่วมกับผู้อื่นอย่างเด็ดขาด โดยจัดเตรียมภาชนะและของใช้ส่วนตัวให้กับลูกทุกครั้งเวลาที่ไปโรงเรียน
- ให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
- ให้ลูกออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีภูมิต้านทาน
- ทำความสะอาดสิ่งของส่วนตัวที่ลูกต้องใช้เป็นประจำ
- หากเป็นคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์ ควรฝากครรภ์ทันทีกับสูตินรีแพทย์เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ เพื่อจะได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และตรวจหาระดับภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารก เพราะถ้าตรวจพบว่าเป็นพาหะ คุณหมอจะได้ช่วยดูแลให้เป็นพิเศษ หรือถ้าไม่พบว่าเป็นพาหะ แต่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็จะได้ฉีดวัคซีนป้องกันได้ทันท่วงที
โรคไวรัสตับอักเสบบีไม่ใช่โรคธรรมดาที่สามารถละเลยได้ เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายตามมาในอนาคต แต่หากพบเร็วและรักษาได้ทันก็จะสามารถหายและใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : bbc.com, โรงพยาบาลสินแพทย์, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลเพชรเวช, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล