คลอดลูกแบบไหนดี ?
1. คลอดลูกธรรมชาติ
ข้อดี ของการคลอดลูกธรรมชาติ
- ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
- เสียเลือดน้อยกว่าผ่าคลอด
- หลังคลอดมดลูกหดตัวเล็กลงเอง
- ไม่มีแผลผ่าตัด และแผลที่มดลูก
- พร้อมให้นมลูกน้อยได้ทันที
- หุ่นเข้าที่เร็วกว่าผ่าคลอด
- ทารกมีภูมิคุ้มกันที่ดีจากแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด
- ทารกได้รับการบีบของเหลวออกจากปอดขณะคลอด
- ไม่มีความเสี่ยงจากการเจ็บครรภ์ในครั้งต่อไป
ข้อเสีย ของการคลอดลูกธรรมชาติ
- ไม่สามารถเตรียมตัวล่วงหน้าได้
- ใช้เวลาคลอดนาน กำหนดเวลาที่แน่นอนไม่ได้
- อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉินได้
- มีโอกาสต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศหรือคีม หากแม่ไม่มีแรงเบ่งคลอด
- ช่องคลอดอาจไม่กระชับเหมือนเดิม
2. คลอดลูกแบบผ่าคลอด
การผ่าคลอด (Cesarean Section) คือการคลอดด้วยการผ่าตัดแทนการคลอดแบบธรรมชาติทางช่องคลอด ซึ่งแพทย์จะใช้วิธีเปิดปากแผลบริเวณระหว่างหน้าท้องและมดลูก หากคลอดปกติไม่ได้ หรือการคลอดธรรมชาติอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแม่และบุตร มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น เชิงกรานแคบ ทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ หัวใจทารกเต้นผิดปกติ ครรภ์แฝด ครรภ์เป็นพิษ รกเกาะต่ำ สายสะดือสั้นเกินไป และความไม่พร้อมทางด้านร่างกาย หรือแม้แต่การคลอดในภาวะฉุกเฉิน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดคลอด
ปัจจุบันการผ่าคลอดจัดเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างปลอดภัยสูง ดังนั้นทั้งแพทย์และคุณแม่จึงนิยมผ่าตัดคลอดกันมากขึ้น จากเดิมที่ผ่าเพราะเหตุผลทางการแพทย์ก็เปลี่ยนไปเป็นเหตุผลอื่น ๆ เช่น สามารถกำหนดฤกษ์คลอดได้ คุณแม่บางรายไม่มีแรงเบ่ง หรือกลัวช่องคลอดฉีกขาดมาก กลัวช่องคลอดหลวมหลังคลอด เป็นต้น
ข้อดี ของการผ่าคลอด
- สะดวก มีเวลาเตรียมตัวล่วงหน้า
- สามารถกำหนดวันเวลาคลอดได้
- ไม่เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างรอคลอด
- ไม่เจ็บระหว่างทำคลอด
- หากสภาวะครรภ์มีความเสี่ยงจะช่วยให้ปลอดภัยได้ดีกว่าคลอดแบบธรรมชาติ
- สามารถทำหมันได้เลย
- ช่องคลอดยังกระชับเหมือนเดิม
ข้อเสีย ของการผ่าคลอด
- มีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบหรือ บล็อกหลังสูง
- ฟื้นตัวช้า แผลผ่าหายช้า เสี่ยงต่อแผลผ่าตัดติดเชื้อ
- เกิดรอยแผลเป็นที่หน้าท้องจากการผ่า
- เกิดแผลที่มดลูก ทำให้เสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
- เสียเลือดมากกว่าคลอดเอง
- ไม่สามารถให้น้ำนมลูกได้ทันที เพราะคุณแม่จะยังมีอาการมึนยาสลบอยู่
- หากท้องแรกผ่าแล้วการท้องครั้งต่อไปต้องผ่าเท่านั้น
3. คลอดลูกในน้ำ
ข้อดี ของการคลอดลูกในน้ำ
- ร่างกายฟื้นตัวเร็ว
- น้ำอุ่นเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยให้กระบวนการไหลเวียนของเลือดในมดลูกดีขึ้น และลดความเจ็บปวด
- การเตรียมความพร้อมให้คุณแม่อาจไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดหรือยาชา
- ช่วยเร่งให้คลอดได้ไวและง่ายขึ้น
- มีแรงต้านจากน้ำ ช่วยลดโอกาสการเกิดแผลฉีกขาดรุนแรงของปากมดลูก
ข้อเสีย ของการคลอดลูกในน้ำ
- ต้องทนเจ็บท้องนานหลายชั่วโมง เพราะต้องรอให้ปากมดลูกเปิดก่อน
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อหากน้ำและอ่างน้ำไม่ได้รับการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม
- หากควบคุมอุณหภูมิไม่ดีอาจเกิดภาวะที่เป็นอันตรายตามมา
- หากสายสะดือสั้นอาจเกิดการฉีกขาดได้ และอาจทำให้เกิดการเสียเลือดในปริมาณมาก
- มีโรงพยาบาลรองรับการคลอดลูกในน้ำเพียงไม่กี่แห่ง และค่าใช้จ่ายสูง
คลอดลูกแบบไหนไม่เจ็บ
คลอดลูกแบบไหน เหมาะกับใครบ้าง
- การคลอดลูกธรรมชาติ
เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ร่างกายแข็งแรง และมีภาวะครรภ์ปกติ
- การผ่าคลอด
เหมาะสำหรับคณุแม่ที่ภาวะครรภ์ไม่ปกติหรือไม่สามารถคลอดเองได้ จำเป็นต้องผ่าคลอดด้วยข้อบ่งชี้ทางสูติศาสตร์ เช่น เด็กไม่กลับหัว ทารกตัวโต อุ้งเชิงกรานมารดาแคบ ทารกมีความพิการที่ไม่สามารถคลอดเองได้ ปากมดลูกไม่เปิดหรือเปิดช้า หรือทารกมีภาวะหัวใจเต้นช้า เป็นต้น
- การคลอดลูกในน้ำ
ไม่เหมาะกับคุณแม่ที่เป็นโรคติดต่อ ติดเชื้อ ความดันสูง ครรภ์เป็นพิษ ตั้งครรภ์ลูกแฝด มีประวัติคลอดยากหรือคลอดก่อนกำหนด รวมไปถึงทารกที่มีน้ำหนักตัวมาก ตัวใหญ่และไม่อยู่ในท่าคลอดปกติ
ก่อนจะเลือกวิธีคลอดลูก สิ่งสำคัญที่คุณแม่จะต้องทำก็คือการฝากครรภ์ และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ ส่วนเรื่องการคลอดนั้น แพทย์จะเป็นผู้ประเมินและพูดคุย ตัดสินใจร่วมกันกับคุณแม่ว่าคลอดลูกแบบใดจึงจะปลอดภัยที่สุดทั้งกับตัวคุณแม่และทารกในครรภ์
ขอบคุณข้อมูลจาก : nakornthon.com, phyathai.com, paolohospital.com, petcharavejhospital.com