
ทำไม!!! ลูกปากหนัก (M&C แม่และเด็ก)
สิ่งที่สำคัญอีกอย่าง คือการปล่อยให้เด็กดูทีวีคนเดียวจะส่งผลร้ายได้ เพราะทีวีจะพูดเร็ว ไม่รอใคร และก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ เด็กได้ยินเสียงแต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เกิดการเลียนแบบการพูด
วัย 2-3 ขวบปี ถือเป็นวัยอ้อแอ้ ช่างพูดช่างคุย ช่างสงสัย และช่างซัก แต่ก็ไม่ใช่จะเสมอไปทุกคน มีเด็กอีกหลายคนที่ปากหนักไม่ยอมพูด ทั้งที่พูดได้ สั่งหรือบอกให้ทำอะไรก็รู้เรื่องทุกอย่าง พ่อแม่จึงพาลสงสัยว่าลูกผิดปกติไหม จะเป็นอะไรหรือเปล่า
โดยทั่วไปเด็กอายุขวบกว่า จะเริ่มคุยอ้อแอ้ เป็นคำ ๆ เช่นเรียกคนใกล้ชิด พ่อ แม่ ปูย่า ตายาย และจะเริ่มพูดได้ชัดและยาวขึ้นเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ แต่อย่างไรก็ตามบางคนจะ 2 ขวบแล้วยังไม่ยอมพูด การเอาอายุมาใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินนั้น ใช้ไม่ได้เสียทีเดียวว่าลูกจะไม่พูดหรือพูดช้า เพราะบางครั้งต้องดูเหตุผลอื่นประกอบด้วย
ในเด็กบางคนอายุขวบกว่าก็ยังไม่ยอมพูด พูดไม่ได้ แต่ถ้าคุณแม่สังเกตดูพัฒนาการด้านอื่นปกติดี เช่น เรียกแล้วหัน ทำตามคำสั่งได้ ทานได้ นั่งได้ มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง มองตา ยิ้มทักทายดี ไม่แยกตัวหรือไม่เล่นซ้ำ ๆ คนเดียว เล่นกับคนอื่นได้ตามปกติ คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจอะไรมาก ให้รอไปสักพักจนครบ 2 ขวบถ้าอายุครบ 2 ยังไม่ยอมพูดคุยแม่สามารถพาไปพบแพทย์ได้ แต่ถ้าลูกน้อยมีพฤติกรรมน่าสงสัย เช่น เรียกไม่หัน ไม่สามารถทำตามคำสั่งได้ ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ต้องพามาตรวจก่อนอายุ 2 ขวบ


ถ้าที่บ้านมีการพูดหลายภาษาทั้ง จีน ไทย พม่า ลาว เด็กจะงง ไม่รู้เรื่อง แต่ถ้ามีภาษาเดียวเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้ จะภาษาอะไรก็ได้ค่ะ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการปล่อยให้เด็กดูทีวีคนเดียว จะส่งผลร้ายได้ เพราะทีวีจะพูดเร็ว ไม่รอใคร และก็ไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบ เด็กได้ยินเสียงแต่ไม่รู้เรื่อง ไม่เกิดการเลียนแบบการพูด คนเลี้ยง ก็มัวแต่ทำงาน เหล่านี้เป็นต้นค่ะ




พยายามพูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับลูก เวลาที่พูดกับลูกควรพูดช้า ๆ และรอให้เค้าพูดตอบโต้กลับมา ไม่ใช่พูดรัวเร็ว ลูกก็ฟังไม่ทันตอบไม่ทัน ฉะนั้นต้องพูดแล้วก็ย้ำเป็นคำ ๆ เพื่อให้เค้าเลียนแบบการออกเสียง
เวลาลูกต้องการอะไรก็อาจจะต้องถามเพื่อให้เขาหัดพูดออกมา อย่าไปตอบสนองเร็วเกินไป อย่าไปมองตาแล้วรู้ใจ เด็กก็จะไม่พูด เด็กพยายามใช้ภาษามือ เอานม เอาขนม ถึงแม่คุณแม่จะรู้ว่าเขาจะเอา แต่ต้องถามลูกว่าเค้าจะเอาอะไร ไม่ใช่ว่าให้เขามาจูงมือเราแล้วก็เดินไปเอาของ โดยที่เค้าไม่ยอมพูด เด็กก็จะไม่เรียนรู้ที่จะพูด
ส่งเสริมให้ลูกพูดคุยกับเด็กคนอื่น ๆ พยายามอย่าตอบเด็กด้วยคำว่า "อือ" หรือตอบแบบผ่าน ๆ เพราะเด็กสามารถรับรู้ได้ว่าแม่ไม่สนใจเค้า นักแก้ไขการพูดจะสอนให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้พูดในชีวิตประจำวัน ตามความเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก จากนั้นจึงสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะนำคำเหล่านั้น มาสร้างเป็นประโยคที่ถูกต้อง เรียนรู้ที่จะเรียงลำดับประโยคต่าง ๆ เพื่อเล่าเรื่องต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เด็กได้ใช้การพูดของตนในการสื่อสารกับบุคคลอื่น ในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
เรื่องราวผู้หญิง ความสวยงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
