
อาการแหวะนมของหนู (M&C แม่และเด็ก)
คุณแม่อย่าตกใจนะคะ หากเห็นหนูกินนมคุณแม่แล้วเกิดอาการแหวะนมขึ้นมา ไม่ได้หมายถึงนมคุณแม่ไม่อร่อยหรอกค่ะ แต่นั่นเกิดจากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับหนูแล้วต่างหาก และอีกสาเหตุก็คือ กล้ามเนื้อของหนูยังทำงานได้ไม่เต็มที่ค่ะ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหูรูดตรงรอยต่อของหลอดอาหารและกระเพาะ กล้ามเนื้อในส่วนนี้ของหนูจะต้องทำหน้าที่ขยาย เพื่อให้อาหารผ่านจากหลอดอาหารเข้าสู่กระเพาะเวลาหนูทานอาหารไงคะ เมื่ออาหารผ่านลงไปแล้ว ก็จะต้องหดตัวปิดไว้เพื่อไม่ให้อาหารไหลกลับเข้ามาในหลอดอาหารอีก กล้ามเนื้อบริเวณนี้ก็เหมือนกล้ามเนื้อทั่วไปของหนู ที่จะต้องใช้เวลาปรับตัวสักระยะหนึ่ง จึงจะแข็งแรงทำงานได้เต็มที่ค่ะ แล้วคุณแม่จะรู้ได้ยังไงว่าการแหวะนมของหนูตอนไหน เป็นการเตือนถึงความผิดปกติของหนูนั่นหรือคะ ลองสังเกตอาการเหล่านี้ดูนะคะ

เกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดกระเพาะหย่อนค่ะ คุณแม่ลองปรับปรุงการให้นมหนูใหม่ดูนะคะ เช่น ใช้นมผสมแป้งให้ข้นขึ้น หรือให้ยาที่ทำให้กระเพาะของหนูบีบตัว ให้อาหารเคลื่อนลงสู่ลำไส้เล็กได้ เช่น ยา Cisapride ค่ะ

แสดงว่าหนูเผลอกลืนลมเข้าไปด้วยค่ะ จึงทำให้ท้องอืด เห็นทีคุณแม่ต้องดูแลเรื่องการนอนให้หนูแล้วล่ะค่ะ หากคุณแม่ให้หนูกินนมจากขวด คุณแม่ต้องดูให้ดีนะคะ อย่าหมุนปิดฝาจุกนมแน่นเกินไป ต้องให้มีฟองอากาศไหลเข้าขวดนมได้สะดวกตอนหนูดูด อย่าให้จุกนมแฟบ ถ้าแฟบจะทำให้หนูดูดน้ำนมจากขวดไม่ออก ซึ่งทำให้หนูดูดแต่ลมเข้าท้องค่ะ และหลังกินนมคุณแม่ลูบหลังให้หนูได้เรอนมออกมาซะหน่อยก็ดีค่ะ

แสดงว่ากระเพาะอาหารส่วนไพโรรัสของหนูถูกอุดกั้นค่ะ ในช่วงแรกคุณแม่อาจจะไม่คิดว่าหนูผิดปกติ แต่หากคุณแม่เห็นว่าหนูอาเจียนบ่อยขึ้น ประมาณ 1 อาทิตย์ คุณแม่จะพบความผิดปกติชัดเจนขึ้นค่ะ เช่น อาจพบก้อนในท้องของหนู คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ ไม่ใช่ก้อนมะเร็งหรอก รักษาให้หายได้ค่ะ มันเป็นก้อนที่เกิดจากกล้ามเนื้อบีบตัวจากการอาเจียนบ่อยๆ ทำให้กล้ามเนื้อของหนูหนาตัวขึ้น คุณแม่ต้องรีบพาหนูไปหาคุณหมอแล้วล่ะค่ะ

มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารเกิดขึ้นกับหนูแล้วล่ะค่ะ คุณแม่ต้องพาหนูไปพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจรักษาค่ะ
ทารกที่แหวะบ่อย ๆ ควรให้กินนมเพียงครึ่งเดียวก่อน จับให้เรอ แล้วให้กินต่อจนหมด จึงจับให้เรออีกครั้ง พยายามจัดท่า ให้หลังของลูกตรงโดยใช้แขนวางทาบแผ่นหลังประคองให้หลังตรง เพราะถ้าหลังงอ หน้าอกจะก้มลงมาด้านหน้า เพิ่มความดันในช่องท้อง กระเพาะอาหารจะถูกกด ทำให้แหวะหรืออาเจียนได้ง่าย นอกจากนั้นการให้นมมากเกินไปในแต่ละมื้อ ลูกก็แหวะได้เช่นกัน คุณแม่ต้องพยายามให้นมให้ถูกวิธี ตรวจปริมาณนมต่อมื้อให้เหมาะสมตามวัย คือ 3 - 4 ออนซ์ ต่อมื้อให้ทุก 3 - 4 ชั่วโมง หากยังแหวะอยู่บ้าง ให้ดูที่ตัวลูกเป็นสำคัญ หากน้ำหนักขึ้นดี แจ่มใส ร่าเริง นับว่า เป็นปกติ แต่ถ้าแหวะบ่อย น้ำหนักไม่ขึ้นควรปรึกษากุมารแพทย์ค่ะ


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
