เมื่อลูกไอแบบมีเสมหะ คุณพ่อคุณแม่อย่านิ่งนอนใจ หรือคิดว่าเป็นอาการป่วยธรรมดานะคะ หากปล่อยไว้นาน อาจทำให้มีโรคเด็กร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ เพราะการที่ลูกมีเสมหะจะทำให้ลูกมีอาการไอเรื้อรัง เสมหะคั่งค้างในหลอดลม ทำให้หายใจไม่สะดวก เด็กบางคนอาจมีไข้ กินนมหรือข้าวได้น้อย บางคนไอแรงหรือไอจนปวดท้องไปเลยก็มี ดังนั้นเราจึงควรหาวิธีละลายเสมหะของเด็กด้วยนะคะ
วันนี้กระปุกดอทคอมเลยมีวิธีกำจัดเสมหะให้กับลูกมาฝาก รับรองว่าไม่ยากเกินความสามารถของคุณพ่อคุณแม่แน่นอน แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่ามีวิธีอะไรบ้างนั้น เรามาทำความรู้จักกับ “เสมหะ” กันก่อนเลยค่ะ
เสมหะ คืออะไร
เสมหะ เกิดจากอะไร
- การระคายเคืองบริเวณลำคอ
- โรคจมูกอักเสบ โรคภูมิแพ้
- โรคไซนัสอักเสบ และเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ
- โรคหลอดลมอักเสบ และโรคหอบหืด
- ติดเชื้อเรื้อรังบริเวณคอ เช่น วัณโรค
วิธีละลายเสมหะของเด็ก
1. ให้ดื่มน้ำอุ่นเพิ่มขึ้น
2. กลั้วคอ หรือดื่มน้ำผสมเกลือ
3. กลั้วคอ หรือดื่มน้ำโซดา
4. รับประทานอาหารประเภทต้ม
5. รับประทานผลไม้รสเปรี้ยว
6. เพิ่มความชื้นภายในห้อง
7. ดูดเสมหะด้วยลูกยาง
เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่รู้วิธีการขับออกมาเอง อีกทั้งเสมหะเหนียวข้นมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้อุปกรณ์ดูดเสมหะ อย่างลูกยางเบอร์ 1 ช่วยดูดเสมหะในปากได้ โดยจับลูกนอนหงาย หันหน้าลูกให้ไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อไม่ให้ลูกสำลักจากการดูดเสมหะ หยดน้ำเกลือเพื่อล้างจมูกลูกก่อน 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้เสมหะหรือน้ำมูกเหนียวข้นเกินไป จากนั้นบีบลูกยางแดงให้แฟบ สอดทางปลายแหลมเข้าไปทางจมูกลูกไม่ต้องลึกมาก ปล่อยลูกยางออกช้า ๆ เพื่อให้เสมหะเข้ามาในลูกยางแดง แล้วดึงลูกยางแดงออก บีบน้ำมูกและเสมหะลงในทิชชูหรือภาชนะที่เตรียมไว้
ทั้งนี้ การดูดเสมหะให้ลูกด้วยลูกยางดูดเสมหะ ต้องดูดหลังจากที่ลูกกินอาหารหรือนมไปแล้วไม่ต่ำกว่า 1.30-2 ชั่วโมงด้วยนะคะ เพื่อป้องกันลูกสำลักอาหารหรืออาเจียนออกมานั่นเอง
8. เคาะปอดระบายเสมหะ
วิธีเคาะ
ทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม ๆ นิ้วชิดกัน เรียกว่า “Cupped Hand” เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะ ท่าละ 3-6 นาที รวมทุกท่าไม่ควรนานเกิน 15-30 นาที แล้วจึงลุกนั่งหรือยืนเพื่อให้ไออย่างมีประสิทธิภาพ แล้วเสมหะจะถูกขับออกมาด้วย
9. รับประทานยาละลายเสมหะ
- ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
ยาละลายเสมหะมีสรรพคุณลดความข้นหนืด มีทั้งแบบออกฤทธิ์กับเสมหะ และออกฤทธิ์ปรับสมดุลของต่อมผลิตเสมหะโดยตรง ซึ่งช่วยยับยั้งและป้องกันการเกิดของเสมหะผิดปกติ ทั้งแบบที่ข้นเหนียวกว่าปกติและแบบที่เหลวเกินให้กลับมาอยู่ในระดับปกติได้ โดยตัวยาชนิดนี้ยังกระตุ้นการทำงานของเนื้อเยื่อในลำคอ ช่วยให้ขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยาละลายเสมหะบางชนิดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีสรรพคุณในการลดอักเสบอีกด้วย
- ยาขับเสมหะ (Expectorants)
ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์เพิ่มความชุ่มชื้นภายในลำคอ ส่งผลให้เสมหะชุ่มชื้นและอ่อนตัวลง ทำให้ขับออกมาได้ง่ายขึ้น แถมตัวยายังช่วยกระตุ้นอาการไอ เพื่อให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้มากขึ้น เมื่อร่างกายขับเสมหะออกแล้ว อาการไอและเสมหะจะบรรเทาลง อย่างไรก็ตาม ยาในกลุ่มนี้อาจทำให้เกิดภาวะข้างเคียงอย่างระคายทางเดินอาหารหรือทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้
ควรให้ยาแก้ไอหรือไม่ ?
ในรายที่ไอมีเสมหะ การให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ จะยิ่งมีผลเสียเพราะเสมหะคั่งค้าง แต่ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลม หรือละลายเสมหะ จะได้ผลดี รวมทั้งยาลดน้ำมูกบางชนิดมีส่วนประกอบที่ทำให้น้ำมูกและเสมหะยิ่งเหนียวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัวด้วยนะคะ
รู้วิธีจัดการกับเสมหะของลูกน้อยกันแล้ว แต่ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรป้องกันไม่ให้ลูกมีเสมหะไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยนะคะ ซึ่งสิ่งที่ทำได้ก็คือ หมั่นให้ลูกออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ทั้งนี้ หากลองทำตามวิธีละลายเสมหะข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือเป็นติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดจะดีกว่า