ลูกสำลักนม เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทารกทุกคน โดยคุณพ่อคุณแม่ไม่ทันระวังด้วยซ้ำ ซึ่งการสำลักนมในเด็กเล็กนั้น อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้เราจะพาไปรู้จักสาเหตุ วิธีสังเกตอาการ พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมกัน
หลายครั้งที่ปัญหาสำลักนมในเด็กเล็กกลายเป็นเหตุไม่คาดคิดที่คร่าชีวิตลูกน้อย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นในกรณีเด็กกินนมจากขวด แล้วคุณพ่อคุณแม่ให้นมลูกไม่ทันระวัง หรือปล่อยให้เด็กดูดนมคนเดียว ขวดนมเกิดเปลี่ยนองศาสูงขึ้น จนนมไหลทะลักมามากเกินไป ทำให้ลูกสำลักนมและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เรื่องน่าเศร้าเช่นนี้เกิดขึ้น เรามาดูสาเหตุ วิธีสังเกตอาการ ถ้าลูกสำลักนมควรทำอย่างไร พร้อมวิธีป้องกันไม่ให้ลูกสำลักนมกันเลย
ลูกสำลักนมได้อย่างไร ?
การสำลักเกิดขึ้นเมื่อลูกดูดนมเข้าไปในปากมากกว่าที่จะกลืนได้ในแต่ละครั้ง ทำให้นมส่วนที่ล้นออกมาไหลเข้าไปในทางเดินหายใจและอุดกั้นการเข้า-ออกของอากาศ จึงนำไปสู่การสำลักได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยภายในที่เกิดจากตัวเด็กเอง
- เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาอวัยวะเกี่ยวข้องกับการดูดกลืนผิดปกติ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหารกับระบบทางเดินหายใจมีปัญหา หรือภาวะหูรูดทางเดินอาหารที่ยังปิดได้ไม่สมบูรณ์
- เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจหรือปอด ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น จึงมีโอกาสในการสำลักมากกว่าเด็กทั่วไป
- ปัญหาเรื่องพัฒนาการที่ล่าช้า หรือมีประวัติชัก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการให้นม
- ลูกสำลักนมเพราะวิธีการให้นม การให้ลูกดูดนมแม่ โอกาสที่จะเกิดการสำลักมีน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกออกแรงดูด แต่ถ้าให้นมขวด นมจะไหลออกมาเรื่อย ๆ ดังนั้นหากแม่อุ้มให้นมลูกไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมในขณะที่เด็กหลับ ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้อง ใช้อุปกรณ์ช่วยค้ำขวดนม หรือให้ลูกนอนกินนม ก็มีโอกาสทำให้ลูกสำลักนมได้
- ลูกสำลักนมเพราะปริมาณนม คุณแม่หลายคนเข้าใจผิดเรื่องการป้อนนมลูก อย่างเวลาลูกร้องก็มักจะป้อนนมท่าเดียว เพราะนึกว่าหิว ทำให้ปริมาณนมในกระเพาะมากเกินความต้องการ และเกิดการสำลักนมออกมา
- ลูกสำลักนมเพราะการใช้จุกนมที่ผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย หรือรูจุกนมใหญ่เกิน ก็มีส่วนทำให้นมไหลเร็วเกินไปทำให้ลูกกลืนไม่ทัน และเสี่ยงสำลักนมมากขึ้น
อาการสำลักของทารก
วิธีสังเกตอาการลูกสำลักนม เพื่อรับมือกับปัญหาสำลักนมได้อย่างทันท่วงที และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้
1. ในระหว่างที่เด็กกินนมจากขวด แรก ๆ จะมีอาการไอ เหมือนกับจะขย้อนนมออกมา หากสำลักไม่มากก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายเอง คุณแม่ควรนั่งเอามือประคองหน้าลูกไว้ ค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น
2. ถ้าหากไอแรงจนถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติดังครืดคราด คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน
3. บางครั้งการสำลักอาจไม่จำเป็นต้องสำลักขณะที่ลูกกินนม เพราะขณะที่เด็กนอนหลับ หูรูดกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ คลายตัว ทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาจนทำให้สำลักได้
ทำอย่างไร เมื่อลูกสำลักนม
เมื่อลูกเกิดอาการสำลักนม คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็คงตกใจ ซึ่งอาจจะแก้ไขผิดวิธีได้ ซึ่งการช่วยเหลือเมื่อลูกสำลักนมที่ถูกต้องสามารถทำได้โดย...
- ห้ามอุ้มเด็กขึ้นทันทีที่เกิดการสำลัก
- จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมไหลย้อนกลับไปที่ปอด
- ถ้าเด็กยังรู้สึกตัว แต่ไม่หายใจ ทำท่าเหมือนร้องแต่ไม่มีเสียง แปลว่ามีการอุดตันทางเดินหายใจแบบสมบูรณ์ ถ้าไม่รีบช่วยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วิธีช่วยให้จับเด็กคว่ำหน้า หัวต่ำ แล้วเอามือเคาะหลังประมาณ 5 ครั้ง
- ถ้ายังไม่หายใจ ให้ทำ Chest thrust 5 ครั้ง โดยให้เด็กนอนหงายอยู่ในท่าหัวต่ำกว่าลำตัว ผู้ช่วยเหลือให้ใช้สองนิ้วกดลงไปแรง ๆ บนหน้าอกของเด็ก ทำสลับไปจนกว่าจะหายใจหรือร้องได้
วิธีป้องกันการสำลักนม
1. ช่วง 6 เดือนแรกควรให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว และเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือเมื่ออายุ 4-6 เดือนไปแล้ว เพราะทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด สามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง
2. ปรับท่านอนการกินนมให้ถูกต้อง โดยควรเอียง 45 องศาเวลาดูดนม
3. ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ค้ำขวดนม เพราะจะทำให้นมไหลลงมาเร็วและแรงเกินไปได้
4. หลังการให้นม ควรอุ้มพาดบ่าเพื่อให้ลูกน้อยเรอทุกครั้ง สำหรับเด็กเล็ก (0-2 เดือน) ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังขึ้นเบา ๆ ส่วนเด็กที่คอแข็งดีแล้ว อาจใช้วิธีอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองด้านหลัง ลูบขึ้นเบา ๆ
5. หลังเรอเสร็จแล้วให้จับนั่งหรือนอนในท่าศีรษะสูงประมาณ 30 นาทีก่อน ค่อยให้นอนในท่าปกติ หรือจับให้ทารกนอนตะแคงแทนการนอนหงาย เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อนกลับของนมออกมาทางหลอดอาหาร จนเป็นเหตุให้เกิดการสำลักนมได้
6. ตรวจเช็กสภาพจุกนมและเปลี่ยนจุกนมตามระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่และไหลเร็วจนเกินไป
7. สังเกตเวลาลูกดูดนม ควรมีฟองอากาศเล็ก ๆ ในขวดสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตรก็พอ ซึ่งเป็นการดูดที่มีจังหวะพอดี
ลูกสำลักนม แม้จะเป็นอันตรายที่ไม่คาดฝัน แต่ก็สามารถป้องกันได้ หากรู้เท่าทันและเตรียมรับมือเมื่อลูกสำลักนมได้อย่างถูกต้อง ที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรป้อนนมในปริมาณเหมาะสม อย่าปล่อยให้เด็กนอนดูดนมคนเดียว รวมถึงไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ช่วยค้ำขวดนม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจทำให้ลูกสำลักนมได้แล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : natur.co.th, thaichildcare.com, rakluke.com, mamaexpert.com
ลูกสำลักนมได้อย่างไร ?
การสำลักเกิดขึ้นเมื่อลูกดูดนมเข้าไปในปากมากกว่าที่จะกลืนได้ในแต่ละครั้ง ทำให้นมส่วนที่ล้นออกมาไหลเข้าไปในทางเดินหายใจและอุดกั้นการเข้า-ออกของอากาศ จึงนำไปสู่การสำลักได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลูกสำลักนมนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยภายในที่เกิดจากตัวเด็กเอง
- เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาอวัยวะเกี่ยวข้องกับการดูดกลืนผิดปกติ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหารกับระบบทางเดินหายใจมีปัญหา หรือภาวะหูรูดทางเดินอาหารที่ยังปิดได้ไม่สมบูรณ์
- เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจหรือปอด ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น จึงมีโอกาสในการสำลักมากกว่าเด็กทั่วไป
- ปัญหาเรื่องพัฒนาการที่ล่าช้า หรือมีประวัติชัก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยภายนอกที่เกิดจากการให้นม
- ลูกสำลักนมเพราะวิธีการให้นม การให้ลูกดูดนมแม่ โอกาสที่จะเกิดการสำลักมีน้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกออกแรงดูด แต่ถ้าให้นมขวด นมจะไหลออกมาเรื่อย ๆ ดังนั้นหากแม่อุ้มให้นมลูกไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมในขณะที่เด็กหลับ ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้อง ใช้อุปกรณ์ช่วยค้ำขวดนม หรือให้ลูกนอนกินนม ก็มีโอกาสทำให้ลูกสำลักนมได้
- ลูกสำลักนมเพราะปริมาณนม คุณแม่หลายคนเข้าใจผิดเรื่องการป้อนนมลูก อย่างเวลาลูกร้องก็มักจะป้อนนมท่าเดียว เพราะนึกว่าหิว ทำให้ปริมาณนมในกระเพาะมากเกินความต้องการ และเกิดการสำลักนมออกมา
- ลูกสำลักนมเพราะการใช้จุกนมที่ผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย หรือรูจุกนมใหญ่เกิน ก็มีส่วนทำให้นมไหลเร็วเกินไปทำให้ลูกกลืนไม่ทัน และเสี่ยงสำลักนมมากขึ้น
วิธีสังเกตอาการลูกสำลักนม เพื่อรับมือกับปัญหาสำลักนมได้อย่างทันท่วงที และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น มีดังนี้
1. ในระหว่างที่เด็กกินนมจากขวด แรก ๆ จะมีอาการไอ เหมือนกับจะขย้อนนมออกมา หากสำลักไม่มากก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายเอง คุณแม่ควรนั่งเอามือประคองหน้าลูกไว้ ค่อย ๆ ลูบหลังเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกสบายตัวขึ้น
2. ถ้าหากไอแรงจนถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติดังครืดคราด คุณแม่ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน
3. บางครั้งการสำลักอาจไม่จำเป็นต้องสำลักขณะที่ลูกกินนม เพราะขณะที่เด็กนอนหลับ หูรูดกระเพาะอาหารจะค่อย ๆ คลายตัว ทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมาจนทำให้สำลักได้
เมื่อลูกเกิดอาการสำลักนม คุณพ่อคุณแม่หลายคนก็คงตกใจ ซึ่งอาจจะแก้ไขผิดวิธีได้ ซึ่งการช่วยเหลือเมื่อลูกสำลักนมที่ถูกต้องสามารถทำได้โดย...
- ห้ามอุ้มเด็กขึ้นทันทีที่เกิดการสำลัก
- จับเด็กนอนตะแคง โดยให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมไหลย้อนกลับไปที่ปอด
- ถ้าเด็กยังรู้สึกตัว แต่ไม่หายใจ ทำท่าเหมือนร้องแต่ไม่มีเสียง แปลว่ามีการอุดตันทางเดินหายใจแบบสมบูรณ์ ถ้าไม่รีบช่วยอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วิธีช่วยให้จับเด็กคว่ำหน้า หัวต่ำ แล้วเอามือเคาะหลังประมาณ 5 ครั้ง
1. ช่วง 6 เดือนแรกควรให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว และเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือเมื่ออายุ 4-6 เดือนไปแล้ว เพราะทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด สามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง
2. ปรับท่านอนการกินนมให้ถูกต้อง โดยควรเอียง 45 องศาเวลาดูดนม
3. ไม่แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือต่าง ๆ ค้ำขวดนม เพราะจะทำให้นมไหลลงมาเร็วและแรงเกินไปได้
4. หลังการให้นม ควรอุ้มพาดบ่าเพื่อให้ลูกน้อยเรอทุกครั้ง สำหรับเด็กเล็ก (0-2 เดือน) ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังขึ้นเบา ๆ ส่วนเด็กที่คอแข็งดีแล้ว อาจใช้วิธีอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองด้านหลัง ลูบขึ้นเบา ๆ
5. หลังเรอเสร็จแล้วให้จับนั่งหรือนอนในท่าศีรษะสูงประมาณ 30 นาทีก่อน ค่อยให้นอนในท่าปกติ หรือจับให้ทารกนอนตะแคงแทนการนอนหงาย เพื่อไม่ให้เกิดการไหลย้อนกลับของนมออกมาทางหลอดอาหาร จนเป็นเหตุให้เกิดการสำลักนมได้
6. ตรวจเช็กสภาพจุกนมและเปลี่ยนจุกนมตามระยะเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช้จุกนมที่มีขนาดใหญ่และไหลเร็วจนเกินไป
7. สังเกตเวลาลูกดูดนม ควรมีฟองอากาศเล็ก ๆ ในขวดสูงประมาณ 2-3 มิลลิเมตรก็พอ ซึ่งเป็นการดูดที่มีจังหวะพอดี
ขอบคุณข้อมูลจาก : natur.co.th, thaichildcare.com, rakluke.com, mamaexpert.com