ปั๊มนมมีเลือดปน หากปั๊มนมอยู่ดี ๆ แล้วมีเลือดปนออกมาในน้ำนม คงเป็นเรื่องที่น่าตกใจสำหรับคุณแม่นักปั๊มไม่น้อย เหตุใดน้ำนมแม่จึงมีเลือดปน และปลอดภัยหรือไม่สำหรับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง มาหาคำตอบกัน
จากกรณีของคุณแม่ลูกสอง เป้ย ปานวาด ที่ปกติแล้วเธอก็ขยันปั๊มนมเองตั้งแต่คลอด และเป็นแม่ให้นมลูกเองมาตลอด ทั้งน้องโปรด และน้องปาลิน เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะมาก แต่ภาพล่าสุดก็ทำเอาทุกคนตกใจไปตาม ๆ กัน เมื่อ เป้ย ปานวาด ออกมาโพสต์ภาพน้ำนมที่ปั๊มออกมามีสีแดง และมีก้อนเลือดปนออกมาด้วย ทำให้หลายคนเป็นกังวลและสงสัยว่าเกิดความผิดปกติในร่างกายหรือเปล่า (อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่นี่)
ภาพจาก : Instagram ppanward
จากกรณีนี้ ปั๊มนมเป็นเลือด เกิดจากอะไร ลูกน้อยจะสามารถกินนมแม่ที่มีเลือดปนได้หรือไม่ แล้วตัวคุณแม่เองควรทำอย่างไรดีเมื่อน้ำนมมีเลือดปนออกมา วันนี้กระปุกดอทคอมขอชวนคุณแม่ที่ให้นมลูกเองมาหาคำตอบกันค่ะ
ปั๊มนมมีเลือดปน อันตรายหรือไม่
การมีเลือดปนมาในน้ำนมแม่ ทำให้น้ำนมมีสีแดง อาจดูน่ากลัวเมื่อเห็นครั้งแรก แต่ขอให้คุณแม่สบายใจได้ค่ะ เพราะนี่เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้เป็นการบ่งชี้ถึงโรคร้ายใด ๆ
โดยหนังสือ The Womanly Art of Breastfeeding โดยสมาคมนมแม่ในสหรัฐฯ La Leche League International (LLLI) ยืนยันว่า ปกติแล้วน้ำนมแม่ที่มีเลือดปนอยู่นั้นปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อแม่และลูกน้อย
ทั้งนี้ สมาคมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งออสเตรเลีย ระบุว่า น้ำนมแม่จะเปลี่ยนสีตลอดเวลา โดยหัวน้ำนมหรือน้ำนมแรกคลอดมักมีสีเหลืองใส น้ำนมที่สมบูรณ์เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีขาวปนฟ้าจาง หากมีเลือดปนจะทำให้น้ำนมแม่มีสีแตกต่างกันไป ตั้งแต่สีแดง สีชมพู สีน้ำตาลกาแฟหรือสีช็อกโกแลต สีส้ม หรือสีเขียวมะกอก ซึ่งมักไม่เป็นอันตรายต่อทารกและคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดให้นม
นมแม่มีเลือดปน ถ้าในปริมาณน้อยก็จะมีสีชมพู เหมือนนมใส่น้ำหวานสีแดง หรือถ้ามีเลือดปนในปริมาณมาก ก็จะมีลักษณะสีแดงเหมือนน้ำแตงโมปั่น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1. มีแผลที่หัวนม
หัวนมแตกหรือเป็นแผลเปิด เช่น มีรอยแตกหรือตุ่มขาวอุดตันหัวนม ทำให้มีเนื้อเยื่อฉีกขาด มีเลือดปนออกมาในน้ำนม และจะยังเห็นมีเลือดออกแม้หลังจากปั๊มนมแล้ว มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เมื่อลูกน้อยยังไม่รู้จังหวะเข้าเต้า หรือคุณแม่ยังจัดท่าให้นมไม่ถูกต้อง
2. เส้นเลือดฝอยฉีกขาดจากการใช้เครื่องปั๊มนม
เป็นอาการบาดเจ็บหรือมีแผลที่หลอดเลือดฝอยในเต้านม ทั้งจากการปั๊มนมผิดวิธี หรือการปั๊มนมที่ใช้แรงดันมากเกินไป ทำให้มีเลือดออกในท่อน้ำนมและปนออกมากับน้ำนมแม่นั่นเอง
น้ำนมมีเลือดปน ลูกจะกินได้ไหม
ถ้าน้ำนมมีเลือดปนน้อย สีคล้ายนมเย็น ลูกสามารถกินได้ แต่แนะนำให้กินทันที ไม่แนะนำให้เเช่เย็นหรือทำสต็อก แต่ถ้าน้ำนมมีสีแดงหมือนน้ำแตงโมปั่นให้ทิ้งไปดีกว่า เพราะน้ำนมมีส่วนผสมของเลือดมากเกินไป จะมีกลิ่นคาวและรสเค็มจัด
ทำอย่างไรดี เมื่อปั๊มนมเป็นเลือด
วิธีทำให้เลือดหยุด คืองดปั๊มนม แต่สามารถให้ลูกดูดได้ โดยใช้วิธีบีบเต้าด้วยมือแทนการปั๊ม ประมาณ 2-3 มื้อ หรือคุณแม่อาจจะยังปั๊มนมต่อได้ แต่ลดความแรงลง ซึ่งถ้านมออกไม่หมด ให้ใช้มือบีบต่อให้เกลี้ยงเต้าด้วยความนุ่มนวล ร่วมกับการกระตุ้นจี๊ด
ดูวิธีการบีบนมด้วยมือได้ที่นี่
สำหรับแผลที่หัวนม แพทย์แนะนำให้ทายา oral T paste หรือทาครีมลาโนลิน (น้ำมันขนแกะ) บาง ๆ หลังจากทาน้ำนมเคลือบหัวนมหลังใช้งานแล้ว เพื่อบรรเทาอาการแห้งแตกของหัวนม ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น และควรปรึกษาคุณหมอถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตกว่าเกิดจากเหตุใด เช่น ท่างับหัวนมของลูกน้อยไม่ถูกต้อง มีพังผืดใต้ลิ้น ใช้แรงปั๊มมากเกินไป เป็นต้น
หากมีอาการเจ็บปวดขณะให้นม คุณแม่ควรพักเต้า โดยอาจใช้แผ่นประคบเต้าแบบเจลหรือทาครีมที่ปลอดภัย ทั้งนี้ คุณแม่ควรเตรียมน้ำนมแม่ให้เพียงพอ ด้วยการปั๊มนมสำรองไว้ 8-10 ครั้งต่อวัน และศึกษาการให้นมลูกด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย
หากภายใน 1 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ร่วมกับมีอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือมีไข้ แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มนมมีเลือดปน แรก ๆ เห็นแล้วอาจตกใจว่าน่ากลัวจัง ไม่ให้นมแม่แล้วดีกว่าไหม ? ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะกรณีเช่นนี้เจอไม่บ่อย และไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม คุณแม่นักปั๊มนมควรดูแลและใส่ใจสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตามตั้งใจ เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยนั่นเอง
ข้อมูลจาก : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ doctorbreastfeeding.com, mamaexpert.com, amarinbabyandkids.com
ภาพจาก : Instagram ppanward
ปั๊มนมมีเลือดปน อันตรายหรือไม่
การมีเลือดปนมาในน้ำนมแม่ ทำให้น้ำนมมีสีแดง อาจดูน่ากลัวเมื่อเห็นครั้งแรก แต่ขอให้คุณแม่สบายใจได้ค่ะ เพราะนี่เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ ซึ่งอาการนี้ไม่ได้เป็นการบ่งชี้ถึงโรคร้ายใด ๆ
โดยหนังสือ The Womanly Art of Breastfeeding โดยสมาคมนมแม่ในสหรัฐฯ La Leche League International (LLLI) ยืนยันว่า ปกติแล้วน้ำนมแม่ที่มีเลือดปนอยู่นั้นปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อแม่และลูกน้อย
ทั้งนี้ สมาคมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งออสเตรเลีย ระบุว่า น้ำนมแม่จะเปลี่ยนสีตลอดเวลา โดยหัวน้ำนมหรือน้ำนมแรกคลอดมักมีสีเหลืองใส น้ำนมที่สมบูรณ์เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีขาวปนฟ้าจาง หากมีเลือดปนจะทำให้น้ำนมแม่มีสีแตกต่างกันไป ตั้งแต่สีแดง สีชมพู สีน้ำตาลกาแฟหรือสีช็อกโกแลต สีส้ม หรือสีเขียวมะกอก ซึ่งมักไม่เป็นอันตรายต่อทารกและคุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องหยุดให้นม
ปั๊มนมมีเลือดปน เกิดจากอะไร
นมแม่มีเลือดปน ถ้าในปริมาณน้อยก็จะมีสีชมพู เหมือนนมใส่น้ำหวานสีแดง หรือถ้ามีเลือดปนในปริมาณมาก ก็จะมีลักษณะสีแดงเหมือนน้ำแตงโมปั่น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปั๊มนมแล้วมีเลือดปน เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ
1. มีแผลที่หัวนม
หัวนมแตกหรือเป็นแผลเปิด เช่น มีรอยแตกหรือตุ่มขาวอุดตันหัวนม ทำให้มีเนื้อเยื่อฉีกขาด มีเลือดปนออกมาในน้ำนม และจะยังเห็นมีเลือดออกแม้หลังจากปั๊มนมแล้ว มักเกิดขึ้นกับคุณแม่ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด เมื่อลูกน้อยยังไม่รู้จังหวะเข้าเต้า หรือคุณแม่ยังจัดท่าให้นมไม่ถูกต้อง
2. เส้นเลือดฝอยฉีกขาดจากการใช้เครื่องปั๊มนม
เป็นอาการบาดเจ็บหรือมีแผลที่หลอดเลือดฝอยในเต้านม ทั้งจากการปั๊มนมผิดวิธี หรือการปั๊มนมที่ใช้แรงดันมากเกินไป ทำให้มีเลือดออกในท่อน้ำนมและปนออกมากับน้ำนมแม่นั่นเอง
น้ำนมมีเลือดปน ลูกจะกินได้ไหม
ถ้าน้ำนมมีเลือดปนน้อย สีคล้ายนมเย็น ลูกสามารถกินได้ แต่แนะนำให้กินทันที ไม่แนะนำให้เเช่เย็นหรือทำสต็อก แต่ถ้าน้ำนมมีสีแดงหมือนน้ำแตงโมปั่นให้ทิ้งไปดีกว่า เพราะน้ำนมมีส่วนผสมของเลือดมากเกินไป จะมีกลิ่นคาวและรสเค็มจัด
ทำอย่างไรดี เมื่อปั๊มนมเป็นเลือด
วิธีทำให้เลือดหยุด คืองดปั๊มนม แต่สามารถให้ลูกดูดได้ โดยใช้วิธีบีบเต้าด้วยมือแทนการปั๊ม ประมาณ 2-3 มื้อ หรือคุณแม่อาจจะยังปั๊มนมต่อได้ แต่ลดความแรงลง ซึ่งถ้านมออกไม่หมด ให้ใช้มือบีบต่อให้เกลี้ยงเต้าด้วยความนุ่มนวล ร่วมกับการกระตุ้นจี๊ด
ดูวิธีการบีบนมด้วยมือได้ที่นี่
ขอบคุณคลิปจาก : ยูทูบดอทคอม โพสต์โดย Sutheera Uerpairojkit
สำหรับแผลที่หัวนม แพทย์แนะนำให้ทายา oral T paste หรือทาครีมลาโนลิน (น้ำมันขนแกะ) บาง ๆ หลังจากทาน้ำนมเคลือบหัวนมหลังใช้งานแล้ว เพื่อบรรเทาอาการแห้งแตกของหัวนม ทำให้แผลแห้งเร็วขึ้น และควรปรึกษาคุณหมอถึงสาเหตุที่ทำให้หัวนมแตกว่าเกิดจากเหตุใด เช่น ท่างับหัวนมของลูกน้อยไม่ถูกต้อง มีพังผืดใต้ลิ้น ใช้แรงปั๊มมากเกินไป เป็นต้น
หากมีอาการเจ็บปวดขณะให้นม คุณแม่ควรพักเต้า โดยอาจใช้แผ่นประคบเต้าแบบเจลหรือทาครีมที่ปลอดภัย ทั้งนี้ คุณแม่ควรเตรียมน้ำนมแม่ให้เพียงพอ ด้วยการปั๊มนมสำรองไว้ 8-10 ครั้งต่อวัน และศึกษาการให้นมลูกด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย
หากภายใน 1 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ร่วมกับมีอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือมีไข้ แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มนมมีเลือดปน แรก ๆ เห็นแล้วอาจตกใจว่าน่ากลัวจัง ไม่ให้นมแม่แล้วดีกว่าไหม ? ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะกรณีเช่นนี้เจอไม่บ่อย และไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม คุณแม่นักปั๊มนมควรดูแลและใส่ใจสุขภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จตามตั้งใจ เพราะนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยนั่นเอง
ข้อมูลจาก : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ doctorbreastfeeding.com, mamaexpert.com, amarinbabyandkids.com