โรค Perfectionist มนุษย์สมบูรณ์แบบ ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป มาเช็กกันสักนิดว่าลูกของคุณเป็น Perfectionist หรือไม่ ลักษณะอาการเป็นอย่างไร และพ่อแม่ควรหาทางแก้ไขอย่างไรดี
คุณพ่อคุณแม่บางท่านคงเคยได้ยินคำว่า Perfectionist กันมาบ้าง ซึ่งหมายถึงผู้ที่นิยมความสมบูรณ์แบบ ทำอะไรต้องเป๊ะ อยู่ในกรอบ ไม่มีข้อผิดพลาดแม้แต่นิดเดียว แต่อาการนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะผู้ใหญ่เท่านั้น เด็ก ๆ ก็มีโอกาสเป็น Perfectionist ได้ด้วยเช่นกัน อย่างคุณแม่ พลอย ชิดจันทร์ ที่เธอเองก็เป็นห่วงว่าลูกชายคนโต น้องชิโน่ จะเป็นโรคนี้ หลังลูกร้องไห้หนักกว่า 3 ชั่วโมง เพียงเพราะต่อเลโก้ผิด (อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่นี่) เพราะฉะนั้น กระปุกดอทคอมจึงขอพาคุณไปทำความรู้จักกับโรค Perfectionist ให้มากขึ้นกันค่ะ พร้อมเผยวิธีเลี้ยงลูกว่าจะรับมือกับเด็กที่มีอาการนี้อย่างไร
โรค Perfectionist คืออะไร
Perfectionist หมายถึง คนที่ชื่นชอบความความสมบูรณ์แบบ เป็นลักษณะนิสัยที่ต้องการหรือปรารถนาความสมบูรณ์เพียบพร้อมจากตนเองหรือผู้อื่น และพยายามไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความบกพร่องใด ๆ คนที่เป็นโรคนี้จะไม่มีความยืดหยุ่น อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม คล้ายกับว่าชีวิตเต็มไปด้วยไม้บรรทัด
แม้ Perfectionist หรือมนุษย์สมบูรณ์แบบ จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายไม่เบา โดยข้อมูลจาก Medical News Today ได้กล่าวถึงการศึกษาของโธมัส เคอร์แรน (Thomas Curran) และคณะ จากมหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ที่ระบุว่าสิ่งที่ตามมาจากการยึดติดในความสมบูรณ์แบบ คือปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งความกังวล ความกดดัน ความเครียด ที่ส่งผลให้เหล่า Perfectionist มีโอกาสซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง หรือถึงกับฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยมากกว่า 40,000 คน ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปี 2016 ยังพบว่า ช่วงวัยรุ่นมีอัตราการเป็น Perfectionism ได้ถึง 33%
นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และเชื่อมโยงกับอาการป่วยต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
เช็กกันหน่อย ลูกเป็นเด็ก Perfectionist หรือไม่ มารู้จักลักษณะเด็ก Perfectionist กันเลย
1. คาดหวังสูงกับตัวเอง
2. รู้สึกแย่ถึงแย่ที่สุด ถ้าหากทำอะไรผิดพลาดต่อหน้าคนอื่น คิดแต่ว่าคนอื่นจะมองตัวเองอย่างไร
3. หวั่นไหวง่าย เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์
4. ถ้าต้องทำอะไรที่คิดแล้วว่าทำได้ไม่ดี จะพยายามหลีกเลี่ยงสุดฤทธิ์
5. พยายามปกปิดความรู้สึกของตัวเอง และไม่ค่อยอยากสุงสิงกับคนอื่น
6. จัดลำดับความสำคัญไม่ค่อยเป็น ลังเลไปมา ตัดสินใจไม่ได้เสียที ไม่เลือกทางไหนไปสักทาง
7. ถ้าทำอะไรแล้วผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าที่คาดหวังไว้ อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า เด็กที่เป็น Perfectionist เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด และจากการเลี้ยงดู ซึ่งปัจจัยหลังนี้เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพิจาราณาว่าในการเลี้ยงลูกนั้น เด็กได้รับคำชม “มากเกิน” จากคนรอบตัวหรือไม่ ทำให้ประเมินมาตรฐานของตัวเองสูงขึ้น หรือพ่อแม่เรียกร้องและคาดหวังจากลูกมากเกินไป สร้างเงื่อนไขว่าลูกต้องประสบความสำเร็จอย่างที่พ่อแม่หวัง ทำให้ตัวเด็กเครียด และรู้สึกว่าต้องพยายามไปให้ถึงจุดนั้น มิเช่นนั้นพ่อแม่จะไม่รัก หรือแม้แต่การที่พ่อแม่คนใดคนหนึ่งมีลักษณะ Perfectionist ก็อาจกลายเป็นต้นแบบให้ลูกได้โดยไม่รู้ตัว
โรค perfectionist แก้ไขอย่างไร นี่แหละ... สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
1. ปรับทัศนคติของตัวเองก่อน
คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจและยอมรับในตัวลูก มองให้ดีว่าชีวิตลูกเป็นของเขา อย่าคิดว่าลูกเป็นของเราแล้วยัดเยียดให้ทำตามสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ แต่ควรเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน ให้เขาได้รู้จักตัวเองว่าชื่นชอบอะไร ถนัดอะไร ทำสิ่งใดได้ดี และให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในแบบของเขา
2. มองลูกด้วยสายตาความเป็นจริง
ประเมินความสามารถของลูกตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามสายตาที่พ่อแม่อยากให้เป็น เช่น หากลูกไม่ใช่เด็กหัวดี ก็อย่าพยายามกดดันด้วยการส่งลูกไปเรียนพิเศษ เพื่อที่จะได้เรียนเก่งเหมือนคนอื่น ลองเปลี่ยนเป็นส่งเสริมให้ลูกเรียนหนังสืออย่างมีความสุข ไม่บังคับกดดัน โดยพ่อแม่อาจเข้าไปมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เขารับผิดชอบต่อการเรียนของตัวเอง และสร้างความมั่นใจให้กับลูกว่า ไม่ว่าผลการเรียนของลูกจะเป็นอย่างไร ถ้าลูกทำเต็มที่แล้ว พ่อแม่ก็ภูมิใจในตัวลูก
3. ลดความคาดหวังลง
พ่อแม่มักจะคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กเรียนเก่ง อยากให้ได้เกรดดี ๆ หรือทำกิจกรรมบางอย่างให้ดีเลิศ เป็นที่หนึ่งในทุกด้าน ซึ่งบางทีก็เผลอพูดหรือแสดงท่าทีที่สร้างความกดดันให้ลูกโดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีพ่อแม่ควรลดความคาดหวังลง ไม่ต้องถึงขนาดเคี่ยวเข็ญมาก ชมเชยลูกบ้าง และปล่อยให้ลูกได้เดินตามความฝันของเขาเต็มที่แบบไม่ต้องเครียดจะดีกว่า
4. อย่าเปรียบเทียบ
กรณีที่ครอบครัวมีลูกมากกว่าหนึ่งคน ควรระมัดระวังความรู้สึกของลูกแต่ละคนให้มาก ๆ ไม่ควรนำความสามารถของลูกคนหนึ่งไปเปรียบเทียบกับพี่หรือน้อง ถ้าชื่นชมลูกคนใดคนหนึ่ง ก็ควรสอนให้อีกคนชื่นชมยินดีและให้กำลังใจพี่น้องด้วย หรือแม้แต่การนำลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะเด็กแต่ละคนย่อมมีความสามารถเฉพาะตัวและพื้นนิสัยที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
5. ทำให้ลูกเข้าใจว่า “ไม่ Perfect ไม่ใช่ปัญหา”
หลังจากพ่อแม่ปรับในส่วนของตัวเองแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการปรับเปลี่ยนความคิดของลูกกันบ้าง ข้อแรกเลยก็คือต้องแสดงให้เขาเห็นถึงความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง และให้รู้สึกว่าเป็นธรรมชาติของชีวิต ฝึกการปล่อยวาง เพื่อให้เด็กสามารถยอมรับข้อผิดพลาดและดำเนินชีวิตต่อไป เช่น ในด้านการเรียน เมื่อลูกไม่ได้เกรด 4 ทุกวิชา คุณอาจจะถามว่าลูกรู้สึกอย่างไร คำตอบของลูกอาจจะออกแนว “ฉันยังทำไม่ดีพอ” ตามสไตล์ของเด็ก Perfectionist ขอให้พ่อแม่รับฟังสิ่งที่ลูกพูด ทำความเข้าใจ แล้วค่อย ๆ ปรับแต่งความคิดของลูกว่า “ลูกทำได้ดีมากอยู่แล้ว อย่าเอาแต่มองสิ่งที่ขาด เพราะลูกจะไม่มีความสุขเลย พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข เพราะมันจำเป็นกับชีวิตของลูกมากกว่าการได้เกรด 4 ทุกวิชา”
6. ฝึกให้ลูกชนะได้ก็แพ้ได้
พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักทั้งการเป็น “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” โดยอาจส่งเสริมให้ลูกฝึกเล่นกีฬาตั้งแต่เด็ก หาโอกาสให้มีการแข่งขัน ค่อย ๆ ให้ลูกเรียนรู้ความรู้สึกของการชนะและการพ่ายแพ้ เมื่อชนะก็ต้องชื่นชมผู้แพ้ ลูกจะได้เข้าใจและไม่ยึดติดกับการเป็นผู้ชนะเท่านั้น และเมื่อแพ้ก็ควรยินดีกับผู้ชนะ แต่ต้องไม่สิ้นหวัง ต้องมีพลังและทัศนคติที่จะผลักดันให้มีความพยายามในครั้งต่อไป
7. เรียนรู้แบบมีเป้าหมาย
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถปลูกฝังและสอดแทรกไปกับการเรียนรู้เรื่องแพ้-ชนะ ก็คือการมุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมาย แต่ต้องใส่ใจรายละเอียดระหว่างทางด้วย เพราะกว่าจะไปถึงเป้าหมายนั้นต้องอาศัยทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความพยายาม การเรียนรู้ความผิดพลาด เป็นต้น รวมถึงฝึกให้ลูกมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผนและสอดคล้องกับความเป็นจริง
8. สอนลูกจัดการความเครียด
เด็กที่เป็น Perfectionist มักจะมีความเครียดและกดดันในตัวเองสูง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรช่วยลูกจัดการความเครียดด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ฝึกทำสมาธิ ฝึกเจริญสติ ฝึกการหายใจ ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วิธีการเหล่านี้ไม่ได้แก้ที่ต้นตอ แต่เป็นวิธีสากลที่ยอดเยี่ยมสำหรับลดความเครียดทุกประเภท
การแก้ไขความเป็น Perfectionist ของเด็ก ๆ ต้องอาศัยทั้งความเข้าใจ เห็นใจ และยินดีช่วยเหลือลูกด้วยความจริงใจ แม้ทุกสิ่งทุกอย่างจะดูยากและต้องค่อยเป็นค่อยไป แต่ในที่สุดแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะได้ลูกที่มีคุณภาพมาก ๆ คนหนึ่งเลย และยังได้ความภูมิใจที่ได้ช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรคในการเลี้ยงดูลูกไปด้วยกัน
อ่านเพิ่มเติม รู้จักกับโรคซึมเศร้า
ข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต, เฟซบุ๊ก Dad Mom and Kids, เฟซบุ๊ก Psychology CU
โรค Perfectionist คืออะไร
Perfectionist หมายถึง คนที่ชื่นชอบความความสมบูรณ์แบบ เป็นลักษณะนิสัยที่ต้องการหรือปรารถนาความสมบูรณ์เพียบพร้อมจากตนเองหรือผู้อื่น และพยายามไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความบกพร่องใด ๆ คนที่เป็นโรคนี้จะไม่มีความยืดหยุ่น อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยม คล้ายกับว่าชีวิตเต็มไปด้วยไม้บรรทัด
แม้ Perfectionist หรือมนุษย์สมบูรณ์แบบ จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็เป็นอันตรายไม่เบา โดยข้อมูลจาก Medical News Today ได้กล่าวถึงการศึกษาของโธมัส เคอร์แรน (Thomas Curran) และคณะ จากมหาวิทยาลัยบาธ ประเทศอังกฤษ ที่ระบุว่าสิ่งที่ตามมาจากการยึดติดในความสมบูรณ์แบบ คือปัญหาด้านสุขภาพจิต ทั้งความกังวล ความกดดัน ความเครียด ที่ส่งผลให้เหล่า Perfectionist มีโอกาสซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง หรือถึงกับฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป ทั้งนี้ จากการเก็บข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยมากกว่า 40,000 คน ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ตั้งแต่ปี 1989 จนถึงปี 2016 ยังพบว่า ช่วงวัยรุ่นมีอัตราการเป็น Perfectionism ได้ถึง 33%
นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังกระทบต่อสุขภาพ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และเชื่อมโยงกับอาการป่วยต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นโรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
Perfectionist อาการเป็นอย่างไร
เช็กกันหน่อย ลูกเป็นเด็ก Perfectionist หรือไม่ มารู้จักลักษณะเด็ก Perfectionist กันเลย
1. คาดหวังสูงกับตัวเอง
2. รู้สึกแย่ถึงแย่ที่สุด ถ้าหากทำอะไรผิดพลาดต่อหน้าคนอื่น คิดแต่ว่าคนอื่นจะมองตัวเองอย่างไร
3. หวั่นไหวง่าย เมื่อถูกวิพากษ์วิจารณ์
4. ถ้าต้องทำอะไรที่คิดแล้วว่าทำได้ไม่ดี จะพยายามหลีกเลี่ยงสุดฤทธิ์
5. พยายามปกปิดความรู้สึกของตัวเอง และไม่ค่อยอยากสุงสิงกับคนอื่น
6. จัดลำดับความสำคัญไม่ค่อยเป็น ลังเลไปมา ตัดสินใจไม่ได้เสียที ไม่เลือกทางไหนไปสักทาง
7. ถ้าทำอะไรแล้วผลลัพธ์ออกมาแย่กว่าที่คาดหวังไว้ อาจมีอาการทางกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง
ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า เด็กที่เป็น Perfectionist เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ ติดตัวเด็กมาตั้งแต่เกิด และจากการเลี้ยงดู ซึ่งปัจจัยหลังนี้เป็นสิ่งสำคัญมากทีเดียว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพิจาราณาว่าในการเลี้ยงลูกนั้น เด็กได้รับคำชม “มากเกิน” จากคนรอบตัวหรือไม่ ทำให้ประเมินมาตรฐานของตัวเองสูงขึ้น หรือพ่อแม่เรียกร้องและคาดหวังจากลูกมากเกินไป สร้างเงื่อนไขว่าลูกต้องประสบความสำเร็จอย่างที่พ่อแม่หวัง ทำให้ตัวเด็กเครียด และรู้สึกว่าต้องพยายามไปให้ถึงจุดนั้น มิเช่นนั้นพ่อแม่จะไม่รัก หรือแม้แต่การที่พ่อแม่คนใดคนหนึ่งมีลักษณะ Perfectionist ก็อาจกลายเป็นต้นแบบให้ลูกได้โดยไม่รู้ตัว
โรค perfectionist แก้ไขอย่างไร นี่แหละ... สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
1. ปรับทัศนคติของตัวเองก่อน
คุณพ่อคุณแม่ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจและยอมรับในตัวลูก มองให้ดีว่าชีวิตลูกเป็นของเขา อย่าคิดว่าลูกเป็นของเราแล้วยัดเยียดให้ทำตามสิ่งที่พ่อแม่ต้องการ แต่ควรเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน ให้เขาได้รู้จักตัวเองว่าชื่นชอบอะไร ถนัดอะไร ทำสิ่งใดได้ดี และให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในแบบของเขา
2. มองลูกด้วยสายตาความเป็นจริง
ประเมินความสามารถของลูกตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามสายตาที่พ่อแม่อยากให้เป็น เช่น หากลูกไม่ใช่เด็กหัวดี ก็อย่าพยายามกดดันด้วยการส่งลูกไปเรียนพิเศษ เพื่อที่จะได้เรียนเก่งเหมือนคนอื่น ลองเปลี่ยนเป็นส่งเสริมให้ลูกเรียนหนังสืออย่างมีความสุข ไม่บังคับกดดัน โดยพ่อแม่อาจเข้าไปมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เขารับผิดชอบต่อการเรียนของตัวเอง และสร้างความมั่นใจให้กับลูกว่า ไม่ว่าผลการเรียนของลูกจะเป็นอย่างไร ถ้าลูกทำเต็มที่แล้ว พ่อแม่ก็ภูมิใจในตัวลูก
3. ลดความคาดหวังลง
พ่อแม่มักจะคาดหวังให้ลูกเป็นเด็กเรียนเก่ง อยากให้ได้เกรดดี ๆ หรือทำกิจกรรมบางอย่างให้ดีเลิศ เป็นที่หนึ่งในทุกด้าน ซึ่งบางทีก็เผลอพูดหรือแสดงท่าทีที่สร้างความกดดันให้ลูกโดยไม่รู้ตัว ทางที่ดีพ่อแม่ควรลดความคาดหวังลง ไม่ต้องถึงขนาดเคี่ยวเข็ญมาก ชมเชยลูกบ้าง และปล่อยให้ลูกได้เดินตามความฝันของเขาเต็มที่แบบไม่ต้องเครียดจะดีกว่า
4. อย่าเปรียบเทียบ
กรณีที่ครอบครัวมีลูกมากกว่าหนึ่งคน ควรระมัดระวังความรู้สึกของลูกแต่ละคนให้มาก ๆ ไม่ควรนำความสามารถของลูกคนหนึ่งไปเปรียบเทียบกับพี่หรือน้อง ถ้าชื่นชมลูกคนใดคนหนึ่ง ก็ควรสอนให้อีกคนชื่นชมยินดีและให้กำลังใจพี่น้องด้วย หรือแม้แต่การนำลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะเด็กแต่ละคนย่อมมีความสามารถเฉพาะตัวและพื้นนิสัยที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
5. ทำให้ลูกเข้าใจว่า “ไม่ Perfect ไม่ใช่ปัญหา”
หลังจากพ่อแม่ปรับในส่วนของตัวเองแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการปรับเปลี่ยนความคิดของลูกกันบ้าง ข้อแรกเลยก็คือต้องแสดงให้เขาเห็นถึงความไม่สมบูรณ์แบบของตนเอง และให้รู้สึกว่าเป็นธรรมชาติของชีวิต ฝึกการปล่อยวาง เพื่อให้เด็กสามารถยอมรับข้อผิดพลาดและดำเนินชีวิตต่อไป เช่น ในด้านการเรียน เมื่อลูกไม่ได้เกรด 4 ทุกวิชา คุณอาจจะถามว่าลูกรู้สึกอย่างไร คำตอบของลูกอาจจะออกแนว “ฉันยังทำไม่ดีพอ” ตามสไตล์ของเด็ก Perfectionist ขอให้พ่อแม่รับฟังสิ่งที่ลูกพูด ทำความเข้าใจ แล้วค่อย ๆ ปรับแต่งความคิดของลูกว่า “ลูกทำได้ดีมากอยู่แล้ว อย่าเอาแต่มองสิ่งที่ขาด เพราะลูกจะไม่มีความสุขเลย พ่อแม่อยากให้ลูกมีความสุข เพราะมันจำเป็นกับชีวิตของลูกมากกว่าการได้เกรด 4 ทุกวิชา”
6. ฝึกให้ลูกชนะได้ก็แพ้ได้
พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักทั้งการเป็น “ผู้ชนะ” และ “ผู้แพ้” โดยอาจส่งเสริมให้ลูกฝึกเล่นกีฬาตั้งแต่เด็ก หาโอกาสให้มีการแข่งขัน ค่อย ๆ ให้ลูกเรียนรู้ความรู้สึกของการชนะและการพ่ายแพ้ เมื่อชนะก็ต้องชื่นชมผู้แพ้ ลูกจะได้เข้าใจและไม่ยึดติดกับการเป็นผู้ชนะเท่านั้น และเมื่อแพ้ก็ควรยินดีกับผู้ชนะ แต่ต้องไม่สิ้นหวัง ต้องมีพลังและทัศนคติที่จะผลักดันให้มีความพยายามในครั้งต่อไป
7. เรียนรู้แบบมีเป้าหมาย
สิ่งสำคัญที่พ่อแม่สามารถปลูกฝังและสอดแทรกไปกับการเรียนรู้เรื่องแพ้-ชนะ ก็คือการมุ่งมั่นที่จะไปสู่เป้าหมาย แต่ต้องใส่ใจรายละเอียดระหว่างทางด้วย เพราะกว่าจะไปถึงเป้าหมายนั้นต้องอาศัยทักษะชีวิตในด้านอื่น ๆ เช่น ความอดทน ความพยายาม การเรียนรู้ความผิดพลาด เป็นต้น รวมถึงฝึกให้ลูกมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผนและสอดคล้องกับความเป็นจริง
8. สอนลูกจัดการความเครียด
เด็กที่เป็น Perfectionist มักจะมีความเครียดและกดดันในตัวเองสูง ดังนั้นพ่อแม่จึงควรช่วยลูกจัดการความเครียดด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น ฝึกทำสมาธิ ฝึกเจริญสติ ฝึกการหายใจ ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ วิธีการเหล่านี้ไม่ได้แก้ที่ต้นตอ แต่เป็นวิธีสากลที่ยอดเยี่ยมสำหรับลดความเครียดทุกประเภท
อ่านเพิ่มเติม รู้จักกับโรคซึมเศร้า
ข้อมูลจาก : กรมสุขภาพจิต, เฟซบุ๊ก Dad Mom and Kids, เฟซบุ๊ก Psychology CU