ปอดบวมในทารก โรคยอดฮิตในเด็กเล็กที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักสาเหตุ สังเกตอาการ และวิธีรับมือ ถ้าไม่อยากให้ลูกน้อยเป็นอันตรายถึงชีวิต !
เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าหนาว สิ่งที่มาพร้อมกับอากาศชื้น ๆ แบบนี้ก็หนีไม่พ้นไข้หวัดทั้งหลาย ซึ่ง โรคปอดบวมในทารก (Childhood Pneumonia) ก็เป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตในเด็กเล็ก ที่หากไม่ระวังให้ดีก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้กระปุกดอทคอมมีข้อมูลดี ๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่รู้จักสาเหตุ อาการ การรักษา รวมถึงวิธีสังเกตและป้องกัน เมื่อลูกน้อยเป็นปอดบวมมาฝากกันค่ะ
ปอดบวมในทารก เกิดจากอะไร ?
สาเหตุหลักคือการติดเชื้อที่บริเวณปอด และอักเสบจนกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งตัวเด็กอาจรับเชื้อมาจากทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในได้ตามนี้
ปัจจัยภายใน
- เด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ อาจเพราะไม่ได้ดื่มน้ำนมแม่ หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วน
- ติดเชื้อจากโรคระบาดในช่วงนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก
- เชื้อโรคดื้อยา เป็นผลมาจากอาหารหรือสารในยาที่คุณแม่กิน แล้วส่งต่อมายังลูกผ่านน้ำนม
ปัจจัยภายนอก
- อาศัยอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้เชื้อโรคสะสมและเติบโตได้ง่าย
- รับฝุ่นละออง ควันบุหรี่ และเชื้อโรคติดต่อจากคนรอบข้าง
อาการปอดบวมในทารก มีอะไรบ้าง สังเกตได้อย่างไร ?
ในช่วงเริ่มต้นจะมีอาการซึม เงียบ ไม่ยอมกินนม รู้สึกไม่สบายตัว หายใจลำบาก อาจมีไข้อ่อน ๆ เหมือนคนป่วยไข้หวัดทั่วไป ส่วนเด็กที่มีการติดเชื้อที่ปอดกะทันหัน จะมีอาการไอแห้ง หอบเหนื่อย อาเจียน และไข้ขึ้นสูง
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการเริ่มต้นดังกล่าว และยังไม่หายภายใน 1-2 วัน ให้คุณแม่สังเกตการหายใจของลูกน้อย ว่าช้าหรือเร็วผิดจากอัตราการผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที
โรคปอดบวมในทารก มีวิธีรักษาอย่างไร ?
โดยปกติแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อและรักษาแบบประคับประคอง ถ้าไม่มีอาการดื้อยาก็สามารถหายดีได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่เด็กติดเชื้อแล้วกระทบต่อระบบหายใจ หรือเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง ฝีในปอด หรือเกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
ลูกเป็นปอดบวม รับมือและป้องกันยังไงดี ?
นอกจากการดูแลตามกระบวนการรักษาที่แพทย์สั่งแล้ว คุณแม่ก็ควรรู้จักวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยกลับไปเกิดอาการป่วยอีกครั้ง
- พยายามให้ลูกกินนมแม่ให้ได้นานเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นทางเดียวที่ทารกจะได้รับทั้งสารอาหาร ทั้งภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
- คุณแม่ควรศึกษาเรื่องอาหารและยาที่ตัวเองรับประทานให้ละเอียดถี่ถ้วน ว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อลูกอย่างไรบ้าง
- ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของสิ่งของรอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นภาชนะอาหาร ของเล่น เสื้อผ้า และที่นอน
- เปิดบ้านให้อากาศถ่ายเท และไม่ควรสูบบุหรี่ จุดไฟ จุดธูปเทียน หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดควัน แล้วกระทบต่อการหายใจของลูก
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่เกิดโรคระบาด
รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมเปลี่ยนพฤติกรรม แล้วดูแลเอาใจใส่เรื่องความสะอาดให้พิถีพิถันกว่าเดิมกันด้วยนะคะ ลูกน้อยจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com, nhlbi.nih.gov, everydayhealth.com
ปอดบวมในทารก เกิดจากอะไร ?
สาเหตุหลักคือการติดเชื้อที่บริเวณปอด และอักเสบจนกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งตัวเด็กอาจรับเชื้อมาจากทั้งปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในได้ตามนี้
ปัจจัยภายใน
- เด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ อาจเพราะไม่ได้ดื่มน้ำนมแม่ หรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วน
- ติดเชื้อจากโรคระบาดในช่วงนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก
- เชื้อโรคดื้อยา เป็นผลมาจากอาหารหรือสารในยาที่คุณแม่กิน แล้วส่งต่อมายังลูกผ่านน้ำนม
- อาศัยอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้เชื้อโรคสะสมและเติบโตได้ง่าย
- รับฝุ่นละออง ควันบุหรี่ และเชื้อโรคติดต่อจากคนรอบข้าง
อาการปอดบวมในทารก มีอะไรบ้าง สังเกตได้อย่างไร ?
ในช่วงเริ่มต้นจะมีอาการซึม เงียบ ไม่ยอมกินนม รู้สึกไม่สบายตัว หายใจลำบาก อาจมีไข้อ่อน ๆ เหมือนคนป่วยไข้หวัดทั่วไป ส่วนเด็กที่มีการติดเชื้อที่ปอดกะทันหัน จะมีอาการไอแห้ง หอบเหนื่อย อาเจียน และไข้ขึ้นสูง
หากพบว่าลูกน้อยมีอาการเริ่มต้นดังกล่าว และยังไม่หายภายใน 1-2 วัน ให้คุณแม่สังเกตการหายใจของลูกน้อย ว่าช้าหรือเร็วผิดจากอัตราการผิดปกติหรือไม่ หากผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ทันที
โดยปกติแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อและรักษาแบบประคับประคอง ถ้าไม่มีอาการดื้อยาก็สามารถหายดีได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่เด็กติดเชื้อแล้วกระทบต่อระบบหายใจ หรือเกิดโรคแทรกซ้อนอย่าง ฝีในปอด หรือเกิดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด บางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
ลูกเป็นปอดบวม รับมือและป้องกันยังไงดี ?
นอกจากการดูแลตามกระบวนการรักษาที่แพทย์สั่งแล้ว คุณแม่ก็ควรรู้จักวิธีป้องกัน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยกลับไปเกิดอาการป่วยอีกครั้ง
- พยายามให้ลูกกินนมแม่ให้ได้นานเท่าที่จะทำได้ เพราะเป็นทางเดียวที่ทารกจะได้รับทั้งสารอาหาร ทั้งภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุด
- คุณแม่ควรศึกษาเรื่องอาหารและยาที่ตัวเองรับประทานให้ละเอียดถี่ถ้วน ว่าจะส่งผลดีหรือผลเสียต่อลูกอย่างไรบ้าง
- ระมัดระวังเรื่องความสะอาดของสิ่งของรอบตัวเด็ก ไม่ว่าจะเป็นภาชนะอาหาร ของเล่น เสื้อผ้า และที่นอน
- เปิดบ้านให้อากาศถ่ายเท และไม่ควรสูบบุหรี่ จุดไฟ จุดธูปเทียน หรืออะไรก็ตามที่ทำให้เกิดควัน แล้วกระทบต่อการหายใจของลูก
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือบริเวณที่เกิดโรคระบาด
ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com, nhlbi.nih.gov, everydayhealth.com