เลี้ยงลูกอย่างไรให้ฉลาด ? คำถามนี้คงเป็นคำถามที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนสงสัย เพราะต่างก็อยากให้ลูกน้อยของตัวเองเป็นเด็กฉลาด มีความรู้ และความสามารถรอบด้าน เพื่อให้เขาสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า "สมอง" เป็นอวัยวะที่มีส่วนสำคัญต่อความเฉลียวฉลาดของลูกน้อย เพราะมีบทบาทต่อการรับรู้ การคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการเคลื่อนไหวของร่างกายแต่สมองมีลักษณะการทำงานอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยให้ดีขึ้นได้อย่างไรนั้น เรามาค้นหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า "สมอง" ประกอบด้วยไขมันถึง 60%1 และในสมองนั้นมีวงจรประสาทอยู่มากมาย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ในทุกระบบของร่างกายให้ทำงานสัมพันธ์กัน โดยรูปแบบการสร้างวงจรประสาทนั้นเกิดขึ้นจากเซลล์ประสาทได้ส่งแขนงประสาทนำออก (Axon) ไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์ เพื่อทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท และเมื่อแขนงประสาทที่นำออกมาจากหลาย ๆ เซลล์ประสาทรวมกัน จะเกิดเป็นวงจรประสาทที่ทำการเชื่อมโยงสมองแต่ละส่วนเข้าด้วยกันนั่นเอง
สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์ภายหลังการปฏิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มเลยทีเดียว โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ วงจรประสาทส่วนพื้นฐานเพื่อการมีชีวิตรอด ได้แก่ วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และวงจรประสาทของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับสัมผัส เป็นต้น หลังจากนั้นในช่วงวัยทารกและวัยเตาะแตะ สมองของลูกน้อยจะค่อย ๆ พัฒนาวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสาร ตามมาด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง อันเป็นพื้นฐานความสามารถทางสติปัญญา เช่น การวางแผน การตัดสินใจ และการควบคุมตัวเอง ซึ่งจะมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงวัยเรียนไปจนถึงวัยรุ่น และไปสิ้นสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพียงแต่ยิ่งมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการปรับโครงสร้างสมองและวงจรประสาทจะเกิดได้ยากกว่าช่วงวัยเด็ก ซึ่งหากต้องการส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทในส่วนใดนั้น จึงควรทำตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก2-3
ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาท ก็คือ "การสร้างปลอกไมอีลิน (Myelin sheath) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเส้นใยประสาท ที่ทำหน้าที่เคลือบและเป็นฉนวนห่อหุ้มเยื่อบาง ๆ ที่เชื่อมต่อเซลล์ประสาทช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด เส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาท เร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า4 จึงช่วยให้สมองประมวลผลเร็วและมีประสิทธิภาพ การสร้างปลอกไมอีลินนั้นถือเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินให้กับลูกน้อยได้ โดยการจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองในช่วงวัยนั้น ๆเช่น การกระตุ้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินของลูกในช่วงขวบปีแรก หรือแม้แต่การฝึกให้ลูกในวัยเรียนรู้จักการแก้โจทย์ปัญหา ก็จะช่วยพัฒนาวงจรประสาทและการสร้างปลอกไมอีลินในสมองส่วนหน้าที่มีบทบาทในด้านการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีค่ะ
นอกจากนี้การได้รับสารอาหารที่พอเพียงและเหมาะสมก็มีส่วนสำคัญ ถ้าเด็ก ๆ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารหลักครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินในสมองได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้ง "สฟิงโกไมอีลิน" หนึ่งในสารอาหารสำคัญและเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างไมอีลิน5 ซึ่งไมอีลินช่วยสมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และประสิทธิภาพการเรียนรู้6 และพัฒนาการทางสติปัญญาและร่างกายของลูกในอนาคตได้อีกด้วย
พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดของลูกนั้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างได้ โดยการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย การทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของสมอง รวมไปถึงการได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้สมองของลูกน้อยพัฒนาได้ดีสมวัย ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลีน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดของลูกน้อยต่อไปในอนาคตค่ะ


สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์ภายหลังการปฏิสนธิระหว่างไข่และสเปิร์มเลยทีเดียว โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ วงจรประสาทส่วนพื้นฐานเพื่อการมีชีวิตรอด ได้แก่ วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และวงจรประสาทของระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น การมองเห็น การได้ยิน การรับสัมผัส เป็นต้น หลังจากนั้นในช่วงวัยทารกและวัยเตาะแตะ สมองของลูกน้อยจะค่อย ๆ พัฒนาวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการสื่อสาร ตามมาด้วยวงจรประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขั้นสูงของสมอง อันเป็นพื้นฐานความสามารถทางสติปัญญา เช่น การวางแผน การตัดสินใจ และการควบคุมตัวเอง ซึ่งจะมีการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงวัยเรียนไปจนถึงวัยรุ่น และไปสิ้นสุดในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แต่ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับเพียงแต่ยิ่งมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการปรับโครงสร้างสมองและวงจรประสาทจะเกิดได้ยากกว่าช่วงวัยเด็ก ซึ่งหากต้องการส่งเสริมการสร้างวงจรประสาทในส่วนใดนั้น จึงควรทำตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก2-3

ปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการส่งสัญญาณประสาท ก็คือ "การสร้างปลอกไมอีลิน (Myelin sheath) ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มเส้นใยประสาท ที่ทำหน้าที่เคลือบและเป็นฉนวนห่อหุ้มเยื่อบาง ๆ ที่เชื่อมต่อเซลล์ประสาทช่วยให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปแบบก้าวกระโดด เส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาท เร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า4 จึงช่วยให้สมองประมวลผลเร็วและมีประสิทธิภาพ การสร้างปลอกไมอีลินนั้นถือเป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองของลูกน้อยเป็นอย่างมาก

แขนงประสาทนำออกที่มีปลอกไมอีลินมาห่อหุ้ม ส่งผลให้การส่งสัญญาณเกิดขึ้น
ในลักษณะของการก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งสัญญาณได้เร็วขึ้น
ในลักษณะของการก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งสัญญาณได้เร็วขึ้น
ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินให้กับลูกน้อยได้ โดยการจัดหาสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองในช่วงวัยนั้น ๆเช่น การกระตุ้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินของลูกในช่วงขวบปีแรก หรือแม้แต่การฝึกให้ลูกในวัยเรียนรู้จักการแก้โจทย์ปัญหา ก็จะช่วยพัฒนาวงจรประสาทและการสร้างปลอกไมอีลินในสมองส่วนหน้าที่มีบทบาทในด้านการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีค่ะ

นอกจากนี้การได้รับสารอาหารที่พอเพียงและเหมาะสมก็มีส่วนสำคัญ ถ้าเด็ก ๆ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารหลักครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินในสมองได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้ง "สฟิงโกไมอีลิน" หนึ่งในสารอาหารสำคัญและเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างไมอีลิน5 ซึ่งไมอีลินช่วยสมองส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับการเรียนรู้และประสิทธิภาพการเรียนรู้6 และพัฒนาการทางสติปัญญาและร่างกายของลูกในอนาคตได้อีกด้วย

พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดของลูกนั้น เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างได้ โดยการส่งเสริมทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย การทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของสมอง รวมไปถึงการได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้สมองของลูกน้อยพัฒนาได้ดีสมวัย ปัจจัยด้านการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมนี้จะช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลีน ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดของลูกน้อยต่อไปในอนาคตค่ะ

อ้างอิง
1. Chang CY, KE DS, Chen JY. Essential Fatty Acids and Human Brain. Acta Neurol Taiwan. 2009 Dec; 18(4): 231–41
2. obert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission - The Mind Project. mind.ilstu.edu
3. Adrienne L. Tierney, et al. Brain Development and the Role of Experience in the Early Years. Zero Three. NIH Public Access Author manuscript; available in PMC 2013 July 25
4. Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
5. Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999
6. Stiles J, Jernigan TL. The Basics of Brain Development. Neuropsychol Rev. 2010;20(4):327-348
1. Chang CY, KE DS, Chen JY. Essential Fatty Acids and Human Brain. Acta Neurol Taiwan. 2009 Dec; 18(4): 231–41
2. obert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission - The Mind Project. mind.ilstu.edu
3. Adrienne L. Tierney, et al. Brain Development and the Role of Experience in the Early Years. Zero Three. NIH Public Access Author manuscript; available in PMC 2013 July 25
4. Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
5. Siegel GJ, Agranoff BW, Albers RW, et al., editors. Characteristic Composition of Myelin. Basic Neurochemistry: Molecular, Cellular and Medical Aspects. 6th edition. Philadelphia: Lippincott-Raven; 1999
6. Stiles J, Jernigan TL. The Basics of Brain Development. Neuropsychol Rev. 2010;20(4):327-348