แม่ให้นมห้ามกินอะไร อาหารแม่ลูกอ่อนห้ามกินนั้นมีอะไรที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงบ้าง เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ที่กำลังอยู่ในช่วงให้นมลูกและพัฒนาการที่ดีของลูกน้อย อย่ารอช้า มาเช็กลิสต์กันเลยค่ะ
1. อาหารทะเลมีอันตรายต่อพัฒนาการของเด็ก
คุณแม่ทราบไหมคะว่า อาหารทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลาบางประเภทนั้น มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่สูงมาก ดังนั้นการทานอาหารทะเลในช่วงให้นมอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการและระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อย ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าและผิดปกติได้ค่ะ แต่ถ้าหากคุณแม่อดใจไม่ไหวอยากกินอาหารทะเลจริง ๆ แนะนำให้กิน ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยทดแทนจะดีกว่าค่ะ
2. อาหารปรุงไม่สุกและอาหารค้างคืน อาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย
เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ในช่วงที่กำลังให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น ซูชิ แหนม ปลาร้า ที่อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อจนมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษตามมาได้ รวมไปถึงอาหารค้างคืนที่นำมาอุ่นกินทีหลังหรืออาหารที่ผ่านการต้มหรือตุ๋นเป็นเวลานาน ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องเสียได้ง่ายทั้งสิ้นค่ะ
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อย
คุณแม่ลูกอ่อนหลายคนคงมีข้อสงสัยว่า ในช่วงที่ให้นมลูกสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ไหม ? คำตอบคือดื่มได้ค่ะ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 1-2 แก้ว ดื่มได้ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อวัน และห้ามดื่มมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์ หากดื่มแล้วควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับออกจากกระแสเลือดให้หมดแล้วจึงสามารถให้นมลูกได้ค่ะ แต่ทั้งนี้หากเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก็ควรเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อยและเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณแม่เองค่ะ
4. ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิดอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการผื่นคัน
ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิดจะมีกรดที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการระคายเคืองได้ เช่น ส้มและมะนาว ที่อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการจุกเสียด รู้สึกไม่สบายตัว มีอาการคันตามผิวหนังหรือเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่อยากรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเพื่อเพิ่มวิตามินซีในน้ำนม แนะนำให้กินสับปะรดหรือมะม่วงแทนก็ได้ค่ะ
5. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว ที่อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้
คุณแม่ลูกอ่อนที่ยังอยู่ในช่วงให้น้ำนมลูก ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ทำจากนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่ว เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้จากการได้รับโปรตีนที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ได้ค่ะ โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่มีอยู่ในถั่วลิสง อาจทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง มีผื่นขึ้นตามตัวหรือเป็นลมพิษได้ รวมถึงอาการแพ้กลูเตนที่พบได้ในข้าวสาลี อาจทำให้เด็กมีอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะและท้องเสียได้ค่ะ
6. เครื่องดื่มและขนมที่มีสารคาเฟอีน
คาเฟอีนที่มีมากใน กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต และไอศกรีมนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก เมื่อคุณแม่ดื่มหรือกินเข้าไปคาเฟอีนจะคงอยู่ในร่างกายนานถึง 5-7 ชั่วโมง และใช้เวลานาน 24 ชั่วโมงกว่าจะถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมด ทั้งนี้หากทารกกินนมที่มีสารคาเฟอีนเข้าไปอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย น้ำมูกไหล และหลับยากได้ค่ะ
7. อาหารรสจัดส่งผลทางอารมณ์ของลูกน้อย
รสชาติของน้ำนมจะเปลี่ยนไปตามอาหารที่คุณแม่ลูกอ่อนกิน หากชอบกินอาหารรสจัดในช่วงที่กำลังให้นมก็จะส่งผลในเรื่องของอารมณ์ของลูกน้อย สังเกตได้ว่าลูกจะมีอาการหงุดหงิดง่าย ร้องไห้ไม่หยุด นอนหลับน้อย และตื่นขึ้นมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นคุณแม่ควรเลี่ยงกินอาหารรสจัด และหันมากินอาหารที่มีส่วนผสมของกระเทียมที่มีสารอัลลิซินแทน จะช่วยในการผลิตน้ำนมและช่วยให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้เยอะมากขึ้นค่ะ
8. อาหารที่ทำจากนมวัว อาจทำให้ลูกน้อยแพ้โปรตีนนม
ในช่วงที่เพิ่งคลอดและให้นมลูก หากคุณแม่ลูกอ่อนกินอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้โปรตีนนมได้ค่ะ ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยเกิดกรดไหลย้อน อุจจาระผิดปกติ และมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มได้ค่ะ
9. หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
ผักและผลไม้ที่คุณแม่ลูกอ่อนควรเลี่ยงในช่วงให้นมลูก คือผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ดอกกะหล่ำปลี บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง และควรเลี่ยงกินผลไม้บางประเภท เช่น กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี เชอร์รีและลูกพรุนที่เต็มไปด้วยแก๊ส ที่อาจส่งผลทำให้ทารกมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด และไม่สบายตัวได้ค่ะ
ในช่วงหลังคลอดถือเป็นช่วงที่ลูกน้อยต้องการสารอาหารจากน้ำนมแม่มากที่สุด ดังนั้นคุณแม่ลูกอ่อนจึงควรเลือกกินอาหารที่บำรุงน้ำนม และควรหลีกเลี่ยงอาหารทั้ง 9 ประเภทที่กระปุกดอทคอมแนะนำไปในวันนี้ด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เจ้าตัวน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีนั่นเองค่ะ
ข้อมูลจาก : mom365.com, livestrong.com, babycenter.com, kellymom.com/
หลังตั้งครรภ์ เมื่อคลอดแล้วคุณแม่ลูกอ่อนต้องเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
ดังนั้นทั้งคุณแม่และลูกน้อยจึงจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
และต้องระมัดระวังเรื่องอาหารการกินให้มากเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีสารอันตรายเข้าไปปนเปื้อนกับน้ำนม
จนอาจถึงขั้นส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางด้านสมอง ร่างกาย
และอารมณ์ของลูกน้อยได้ รวมไปถึงอีกสารพัดคำถามของคุณแม่ลูกอ่อนที่ว่า
สามารถกินอาหารทะเลและอาหารรสจัดได้ไหม ? ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนได้หรือไม่ ? เพื่อสุขภาพที่ดีของทั้งคุณแม่และลูกน้อย วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำตอบดี ๆ เกี่ยวกับเรื่อง แม่ให้นมห้ามกินอะไร มาฝากกันค่ะ
คุณแม่ทราบไหมคะว่า อาหารทะเลจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลาบางประเภทนั้น มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่สูงมาก ดังนั้นการทานอาหารทะเลในช่วงให้นมอาจเป็นอันตรายต่อพัฒนาการและระบบประสาทส่วนกลางของลูกน้อย ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าและผิดปกติได้ค่ะ แต่ถ้าหากคุณแม่อดใจไม่ไหวอยากกินอาหารทะเลจริง ๆ แนะนำให้กิน ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อยทดแทนจะดีกว่าค่ะ
2. อาหารปรุงไม่สุกและอาหารค้างคืน อาจทำให้คุณแม่ท้องเสียได้ง่าย
เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ในช่วงที่กำลังให้นมลูก ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ปรุงไม่สุก เช่น ซูชิ แหนม ปลาร้า ที่อาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อจนมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษตามมาได้ รวมไปถึงอาหารค้างคืนที่นำมาอุ่นกินทีหลังหรืออาหารที่ผ่านการต้มหรือตุ๋นเป็นเวลานาน ๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ซึ่งเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้คุณแม่เกิดอาการท้องเสียได้ง่ายทั้งสิ้นค่ะ
3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อย
คุณแม่ลูกอ่อนหลายคนคงมีข้อสงสัยว่า ในช่วงที่ให้นมลูกสามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ไหม ? คำตอบคือดื่มได้ค่ะ แต่ควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 1-2 แก้ว ดื่มได้ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อวัน และห้ามดื่มมากกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์ หากดื่มแล้วควรรอประมาณ 1-2 ชั่วโมงเพื่อให้แอลกอฮอล์ถูกขับออกจากกระแสเลือดให้หมดแล้วจึงสามารถให้นมลูกได้ค่ะ แต่ทั้งนี้หากเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ก็ควรเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด เพื่อพัฒนาการที่ดีทางด้านสมองของลูกน้อยและเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณแม่เองค่ะ
4. ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิดอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการผื่นคัน
ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวบางชนิดจะมีกรดที่ทำให้ลูกน้อยเกิดอาการระคายเคืองได้ เช่น ส้มและมะนาว ที่อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการจุกเสียด รู้สึกไม่สบายตัว มีอาการคันตามผิวหนังหรือเป็นผื่นผ้าอ้อมได้ค่ะ แต่สำหรับคุณแม่ที่อยากรับประทานผลไม้รสเปรี้ยวเพื่อเพิ่มวิตามินซีในน้ำนม แนะนำให้กินสับปะรดหรือมะม่วงแทนก็ได้ค่ะ
5. หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่ว ที่อาจทำให้ลูกน้อยเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้
คุณแม่ลูกอ่อนที่ยังอยู่ในช่วงให้น้ำนมลูก ควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ทำจากนมถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพดและถั่ว เพราะอาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้จากการได้รับโปรตีนที่มีอยู่ในอาหารเหล่านี้ได้ค่ะ โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ที่มีอยู่ในถั่วลิสง อาจทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง มีผื่นขึ้นตามตัวหรือเป็นลมพิษได้ รวมถึงอาการแพ้กลูเตนที่พบได้ในข้าวสาลี อาจทำให้เด็กมีอาการท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะและท้องเสียได้ค่ะ
คาเฟอีนที่มีมากใน กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต และไอศกรีมนั้น มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก เมื่อคุณแม่ดื่มหรือกินเข้าไปคาเฟอีนจะคงอยู่ในร่างกายนานถึง 5-7 ชั่วโมง และใช้เวลานาน 24 ชั่วโมงกว่าจะถูกขับออกจากร่างกายทั้งหมด ทั้งนี้หากทารกกินนมที่มีสารคาเฟอีนเข้าไปอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย น้ำมูกไหล และหลับยากได้ค่ะ
7. อาหารรสจัดส่งผลทางอารมณ์ของลูกน้อย
รสชาติของน้ำนมจะเปลี่ยนไปตามอาหารที่คุณแม่ลูกอ่อนกิน หากชอบกินอาหารรสจัดในช่วงที่กำลังให้นมก็จะส่งผลในเรื่องของอารมณ์ของลูกน้อย สังเกตได้ว่าลูกจะมีอาการหงุดหงิดง่าย ร้องไห้ไม่หยุด นอนหลับน้อย และตื่นขึ้นมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นคุณแม่ควรเลี่ยงกินอาหารรสจัด และหันมากินอาหารที่มีส่วนผสมของกระเทียมที่มีสารอัลลิซินแทน จะช่วยในการผลิตน้ำนมและช่วยให้ลูกน้อยกินนมแม่ได้เยอะมากขึ้นค่ะ
8. อาหารที่ทำจากนมวัว อาจทำให้ลูกน้อยแพ้โปรตีนนม
ในช่วงที่เพิ่งคลอดและให้นมลูก หากคุณแม่ลูกอ่อนกินอาหารหรือขนมที่มีส่วนผสมของนมวัวเข้าไป อาจทำให้ลูกน้อยเกิดอาการแพ้โปรตีนนมได้ค่ะ ซึ่งถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ลูกน้อยเกิดกรดไหลย้อน อุจจาระผิดปกติ และมีปัญหาน้ำหนักตัวเพิ่มได้ค่ะ
9. หลีกเลี่ยงผักและผลไม้ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
ผักและผลไม้ที่คุณแม่ลูกอ่อนควรเลี่ยงในช่วงให้นมลูก คือผักตระกูลกะหล่ำ เช่น ดอกกะหล่ำปลี บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง และควรเลี่ยงกินผลไม้บางประเภท เช่น กล้วยหอม สตรอว์เบอร์รี เชอร์รีและลูกพรุนที่เต็มไปด้วยแก๊ส ที่อาจส่งผลทำให้ทารกมีลมในกระเพาะอาหาร มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด และไม่สบายตัวได้ค่ะ
ข้อมูลจาก : mom365.com, livestrong.com, babycenter.com, kellymom.com/