
วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เฟซบุ๊ก ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว ได้เผยแพร่แถลงการณ์จากสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ที่ออกมาระบุว่า ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบดื่มน้ำผลไม้ โดยรายละเอียดนั้น ทาง นพ.พิรัตน์ โลกาพัฒนา เจ้าของเพจดังกล่าว ได้แจงแจกไว้ดังนี้
- น้ำผลไม้แบบ 100% อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมื้ออาหารของเด็กอายุเกิน 1 ขวบ ได้ แต่ทั้งนี้ เครื่องดื่มรสผลไม้บางชนิดอาจจะไม่เทียบเท่าน้ำผลไม้
- ไม่ให้ใช้น้ำผลไม้มารักษาอาการท้องเสีย
- การกินน้ำผลไม้มากไป สัมพันธ์กับภาวะทุโภชนาการ ทั้งแบบเกินและขาด และสัมพันธ์กับ ท้องเสีย ท้องอืด ลมขึ้น ฟันผุ
- น้ำผลไม้แบบไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาจมีเชื้อที่ก่อโรคติดไปที่เด็กได้จึงควรหลีกเลี่ยง
- ถ้าให้น้ำผลไม้แบบหลากหลายในปริมาณเหมาะสมตามวัยก็โอเค
- น้ำผลไม้แบบผสมแคลเซียม ให้แคลเซียม แต่ขาดสารอาหารที่พบใน นมแม่ นมผง และนมวัว
อย่างไรก็ดี ทางสมาคมกุมารแพทย์ ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า ไม่ควรให้เด็กต่ำกว่า 12 เดือนดื่มน้ำผลไม้ โดยมีปริมาณกำหนดว่าอายุเท่าใดไม่ควรดื่มเกินปริมาณเท่าไรต่อวัน และไม่ควรให้เด็กและดื่มจากขวด หรือกระติกที่หิ้วไปไหนต่อไปไหนได้, ไม่ควรดื่มก่อนนอน, ควรสอนให้เด็กกินผลไม้เป็นผล ๆ เพราะมีไฟเบอร์และพลังงานน้อยกว่าแบบคั้นเป็นน้ำ อีกทั้งนมแม่-นมผง หรือนมปราศจากไขมัน ก็ให้น้ำเพียงพอแล้ว, เด็กทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์, ควรระวังการดื่ม grapefruit ในเด็กที่กินยาบางชนิด
ทั้งนี้การประเมินภาวะทุโภชนาการ ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องอืด และฟันผุ แพทย์ควรประเมินและคุยเรื่องน้ำผลไม้ และควรคุยเรื่องความแตกต่างของน้ำผลไม้และเครื่องดื่มรสผลไม้ ซึ่งแพทย์ควรทุ่มเทสรรพกำลังในการลดการบริโภคน้ำผลไม้ในเด็ก และให้เลิกน้ำผลไม้ในเด็กที่น้ำหนักเกิน สรุปแล้ว เด็กต่ำกว่า 1 ขวบ อย่าให้ดื่มน้ำส้มคั้น เพราะทำให้เด็กสุขภาพเสื่อม
ภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว, aappublications.org