น้ำคร่ำมาจากไหน ? มีประโยชน์อย่างไรกับแม่ตั้งครรภ์



          น้ำคร่ำทำหน้าที่อะไรในท้องของแม่ตั้งครรภ์ วันนี้กระปุกดอทคอมจะพาไปไขคำตอบจากนิตยสาร Mother & Care เรื่องของน้ำคร่ำ และสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องทำความเข้าใจและพร้อมรับมือต่ออาการต่าง ๆ ในช่วงตั้งครรภ์เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ แล้วน้ำคร่ำมีประโยชน์อย่างไร ? เรามีคำตอบมาบอกกัน ^^

ทำความรู้จักเรื่องของน้ำคร่ำ

          การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดกับคุณแม่ในช่วงที่ตั้งครรภ์ เป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นปกติ สำหรับหญิงตั้งครรภ์และเพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เราจึงเตรียมข้อมูลเพื่ออธิบายถึงที่มาและความสำคัญของน้ำคร่ำมาบอกกันค่ะ

น้ำคร่ำ...มาจากไหน

         เกิดขึ้นตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ มีลักษณะเป็นเยื่อบางใส 2 ชั้น ระหว่างการเติบโตของทารก ถุงน้ำคร่ำจะขยายมากขึ้นและมีน้ำอยู่ภายใน

         เกิดจากน้ำเหลืองและเลือดของแม่ ที่ซึมผ่านรกต่อมาจากของเหลวที่ซึมผ่านจากผิวของทารกในท้อง

  หลัง 16 สัปดาห์ไปแล้ว ปริมาณน้ำคร่ำ
จะเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ที่มากขึ้นโดย
 อายุครรภ์  มีน้ำคร่ำประมาณ
 12 สัปดาห์   
 50 มิลลิลิตร
 16 สัปดาห์   
 150-200 มิลลิลิตร
 20 สัปดาห์  400 มิลลิลิตร
 36 สัปดาห์  1,000 มิลลิลิตร

          สิ่งที่คุณแม่ต้องรู้และสังเกตไปด้วยคือ ไม่ว่าจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็เป็นสาเหตุให้ลูกมีอาการผิดปกติได้

          ปริมาณน้อย : ท้องอาจเล็กเกินไป ครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูง ทำให้ทารกขยับแขนขาไม่สะดวก ทำให้การเจริญเติบโตของลูกไม่ได้ และอาจพบร่วมกับอาการโครโมโซมผิดปกติ ไม่มีไตหรือท่อปัสสาวะอุดตัน

น้ำคร่ำ...ทำหน้าที่อะไร

         คือของเหลวที่คอยปกป้องทารกที่อยู่ในท้องของคุณแม่

         ช่วยป้องกันการกระเทือนจากภายนอก (มีส่วนประกอบเป็นน้ำ 98% อีก 2% เป็นสารประกอบต่าง ๆ )

         รักษาอุณหภูมิให้ทารกในครรภ์รู้สึกอบอุ่น

          ปริมาณมาก : ทำให้ท้องใหญ่ผิดปกติ คลอดก่อนกำหนด เป็นโรคเบาหวานแทรกซ้อน ทารกอาจพบกับภาวะไม่มีกะโหลกไขสันหลังไม่ปิด

         สามารถเคลื่อนไหวแขนขาได้อย่างอิสระ (เหมือนได้ว่ายน้ำอยู่ในท้องคุณแม่)

         ลูกน้อยได้ฝึกการกลืนตั้งแต่อยู่ในท้อง โดยการกลืนน้ำคร่ำเป็นการเริ่มต้นการทำงานของปอด

น้ำคร่ำ...ช่วงก่อนคลอด

          เมื่อลูกน้อยในครรภ์คุณแม่อายุครบ 20 สัปดาห์ น้ำคร่ำจะซึมผ่านไปมาทางผิวหนังไม่ได้อีกแล้ว จะมาจากทางปัสสาวะของทารก และทารกก็กลืนเอาน้ำคร่ำเข้าไปใหม่วนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไป และการตรวจน้ำคร่ำก็สามารถบอกได้ถึงสุขภาพ ความแข็งแรง และการเติบโตของทารกในครรภ์ รวมไปถึงภาวะผิดปกติหรือโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ก็มีเงื่อนไขอยู่บ้างกับการตรวจน้ำคร่ำ เช่น ถ้าต้องเจาะน้ำคร่ำ ควรเจาะในช่วงอายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์

          อีกหนึ่งเรื่องที่อยากบอกไว้ล่วงหน้าคือ ช่วงที่คุณแม่จะคลอด จะมีน้ำใส ๆ ไหลออกมาที่เรียกกันว่าถุงน้ำคร่ำแตกหรือเรียกกันว่า น้ำเดิน ควรรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน ถ้าเกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ถือว่าอยู่ในภาวะอันตราย ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคุณหมอ

          น่าจะเคลียร์กับข้อมูลเรื่องน้ำคร่ำกันแล้ว เมื่อเกิดอะไรขึ้นคุณแม่จะได้ไม่ตกใจ กังวลใจรับมือกับเรื่องนี้อย่างเข้าใจค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.12 No.133 มกราคม 2559

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
น้ำคร่ำมาจากไหน ? มีประโยชน์อย่างไรกับแม่ตั้งครรภ์ อัปเดตล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 15:23:25 13,845 อ่าน
TOP
x close