ก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ควรวางแผนไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอสำหรับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เได้ค่ะ รวมทั้งอาการ HELLP Syndrome หรือครรภ์เป็นพิษรุนแรง ในแม่ตั้งครรภ์นในช่วงไตรมาสที่สาม แต่หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และพบคุณหมอติดตามอาการอย่างใกล้ชิดก็จะปลอดภัยทั้งแม่และลูก และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดน่ารู้ดี ๆ จากนิตยสาร รักลูก พร้อมวิธีรับมือครรภ์เป็นพิษรุนแรง มาฝากกันค่ะ
หากแม่ท้องมีอาการจุกใต้ลิ้นปี่ หายใจไม่ออก ปวดหัว ตามัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน นี่คือสัญญาณฉุกเฉินของภาวะครรภ์เป็นพิษ และที่สำคัญอาจเป็นชนิดรุนแรงเป็นพิเศษหรือ HELLP Syndrome
HELLP คาดว่าเกิดจาก...
การฝังตัวของเนื้อรกที่ไม่ดี ทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงถุงการตั้งครรภ์ไหลเวียนไม่ดี ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์บริเวณที่เกิดการฝังตัวมีภาวะขาดออกซิเจน และหลั่งสารกระตุ้นความผิดปกติของร่างกายแม่ขึ้นมา จนเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษหรือภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงได้
HELLP Syndrome
คืออาการครรภ์เป็นพิษชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ เสี่ยงแท้งหรือเสียชีวิตทั้งแม่และลูก เพราะ
H (Hemolysis) ภาวะะเม็ดเลือดแตก
EL (Elevated Liver enzyme) ระดับเอนไซม์เติบในเลือดเพิ่มสูงขึ้น บ่งบอกถึงกรทำงานของตับที่ผิดปกติ
LP (Low Platelet) เกล็ดเลือดต่ำ เลือดหยุดยากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกผิดปกติ
ระดับ HELLP
ครรภ์เป็นพิษธรรมดา
มีความรุนแรงน้อย ความดันจะสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท เจอไข่ขาวในปัสสาวะ ขาบวม ส่วนใหญ่จะพบตอนท้องแก่ใกล้คลอด อาจรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่จะต้องให้คลอดก่อนกำหนด
ครรภ์เป็นพิษรุนแรง
มีอาการความดันจะสูงเกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท หรือมีลักษณะที่บ่งชี้ต่างของการทำงานที่ผิดปกติ ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ค่าการทำงานของตับและไตผิดปกติ มีอาการทางระบบประสาท หรือน้ำท่วมปอด แม่ท้องจะปวดหัวมาก ความดันอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เริ่มตามัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน จุกใต้ลิ้นปี่ หรือปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หายใจไม่ออก และหากมีอาการชักด้วยจะรุนแรงมากที่สุด ต้องยุติการตั้งครรภ์ เพราะมีโอกาสเสียชีวิตทั้งแม่และลูกได้ แต่โอกาสเกิดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับครรภ์เป็นพิษธรรมดาและแบบรุนแรงทั่วไป หรืออาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นพิเศษ ลักษณะจะคล้ายกับครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรงแต่พบว่าผลเลือดมีความผิดปกติที่เป็นลักษณะจำเพาะดังที่กล่าวไปข้างต้น
HELLP เสี่ยงเป็นตอนไหน
เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ท้องแรก และเกิดซ้ำในท้องที่สองได้ แม่ท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่จะพบในแม่ท้องไตรมาสสามเป็นต้นไป แม่ที่ท้องตอนอายุน้อยหรือมากเกินไป รวมถึงแม่ท้องกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น แม่ท้องที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด อาทิ โรคไต เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
การรักษาแม่และลูก
ฉีดยากระตุ้นการทำงานของปอดทารกในครรภ์ จำนวน 4 เข็ม ห่างกัน 12 ชั่วโมง ในกรณีที่อายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ และระดับความรุนแรงของโรคเล็กน้อย-ปานกลาง และติดตามอาการของของแม่และลูกอย่างต่อเนื่อง ทั้งตรวจความดันของแม่ และอัลตร้าซาวด์การเจริญเติบโตของลูก ติดเครื่องประเมินสุขภาพของทารกเป็นระยะ
พิจารณาให้คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะหากอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์และอาการรุนแรง ถ้าปากมดลูกพร้อมตลอด ก็จะให้คลอดเองโดยเร็ว หรืออาจผ่าตัดคลอดถ้าปากมดลูกไม่พร้อม
ควบคุมความดันให้แม่ เมื่อไรก็ตามที่ความดันเริ่มควบคุมไม่ได้ แสดงว่าโรคมีความรุนแรงมาก การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ อาจผิดปกติมากขึ้นจนต้องยุติการตั้งครรภ์ทันที
ป้องกันภาวะชักเกร็งด้วยยาแมกนีเซียมซัลเฟส โดยให้ยาทันทีเมื่อพบว่าครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง เนื่องจากหากเกิดการชักขึ้นจะถือเป็นการวิกฤติขั้นสูงสุด
ให้ยาป้องกันอาการชักต่อเนื่องไปถึงหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมง ความเสี่ยงต่อการชักยังคงมีอยู่จนถึงหลังคลอดประมาณ 48 ชั่วโมง และระยะเวลานานที่สุดถึง 2 อาทิตย์หลังคลอด
ป้องกัน HELLP ด้วยการดูแลตัวเอง
แม่ที่มีโรคประจำตัวที่ยังควบคุมโรคไม่ได้ ไม่ควรตั้งครรภ์ ต้องคุมกำเนิดอย่างเหมาะสม และรักษาโรคประจำตัวจนกว่าแพทย์จะแนะนำว่าสามารถตั้งครรภ์ได้
ตั้งครรภ์เมื่อพร้อม ทั้งร่างกาย สุขภาพ จิตใจ และเศรษฐกิจในครอบครัว
ฝากครรภ์ต่อเนื่อง รีบพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ แม้ไม่มีอาการเจ็บครรภ์
ควบคุมอาหารและกินอาหารให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำหนักเกินตอนตั้งครรภ์และได้รับสารอาหารที่ดีอย่างเพียงพอ เพื่อดูแลร่างกายทั้งแม่และลูกในครรภ์
ระมัดระวังเรื่องความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะแม่ตั้งครรภ์อายุมาก เพื่อป้องกันภาวะครรภ์เป็นพิษ
HELLP Syndrome แม้รุนแรงและเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก คุณหมอติดตามดูแลใกล้ชิด และทันท่วงที ให้ยาป้องกันอาการชัก ส่วนใหญ่จะปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ปีที่ 33 ฉบับที่ 394 พฤศจิกายน 2558