
โรคเด็กเล็กหากคุณพ่อคุณแม่รู้ทันโรคของเด็กก็ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดค่ะ วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดความรู้ดี ๆ จากนิตยสาร Mother & Care เรื่องอาการชักที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อลูกน้อยมีไข้สูงพร้อมวิธีดูแลเบื้องต้นและทำความเข้าใจเมื่อลูกน้อยมีอาการชักมาแนะนำกันค่ะ
เป็นภาวะที่พบบ่อย พบได้ประมาณร้อยละ 2-4 ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ เมื่อโตขึ้นโอกาสการชักจากไข้สูงก็จะลดลง เชื่อได้ว่าส่วนใหญ่อาจจะเคยเห็น หรือเคยมีประสบการณ์นี้มาแล้ว ภาวะชักจากไข้สูงไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง ความผิดปกติของสมดุลน้ำและเกลือแร่ หรือโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ มักพบในเด็กที่มีไข้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักพบภายใน 24 ชั่วโมงแรกของไข้
มาทำความเข้าใจที่ถูกต้องของภาวะนี้ พร้อมกับแนวทางที่ดีในการดูแลลูกน้อยไปพร้อม ๆ กัน
อาการและอาการแสดง
เด็กจะไม่รู้สึกตัว ตาลอย เกร็งแขนขา หรือกระตุกทั้งตัว บางรายมีน้ำลายฟูมปาก อุจจาระปัสสาวะราดได้ ภาวะนี้แลดูน่ากลัว แต่สิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรทราบเบื้องต้นคือ ส่วนใหญ่แล้วอาการชักในเด็กมักจะหยุดเองภายใน 5 นาที ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นผู้เห็นเหตุการณ์ควรตั้งสติ อย่าตื่นกลัว
การดูแลเบื้องต้น



คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองบางรายอาจได้รับคำบอกเล่ามาว่า เมื่อเกิดอาการชักอาจทำให้กัดลิ้นขาดได้ ในความเป็นจริงโอกาสที่เด็กชักจะกัดลิ้นเกิดขึ้นได้น้อยมาก อาจมีการบาดเจ็บจากการที่ฟันกระทบกันบริเวณด้านข้างลิ้นได้ แต่มักไม่รุนแรง หากใช้สิ่งของใส่เข้าไปในปากจะทำให้เกิดอันตรายจากการช่วยเหลือมากกว่า
การตรวจและรักษา
เมื่อนำส่งถึงสถานพยาบาล คุณหมอก็จะทำการซักประวัติ เกี่ยวกับระยะเวลาของไข้ หาสาเหตุของไข้ สอบถามลักษณะหรือรูปแบบของอาการชัก ระยะเวลาที่เกิดอาการชัก ดังนั้น ผู้เห็นเหตุการณ์อาจจะต้องพยายามเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้คุณหมอทราบด้วย เนื่องจากอาการชักบางรูปแบบอาจต้องมีการตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือมีการตอบสนองดีต่อยาบางชนิด จากนั้นก็จะเป็นการตรวจร่างกาย อาจรวมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เพิ่มเติมในกรณีที่สงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อหรือมีความผิดปกติของสารน้ำและเกลือแร่ของผู้ป่วย
การตรวจทางรังสีวิทยา (CT/ MRI brain)
ส่วนใหญ่จะพิจารณาทำในกรณีที่พบว่า คลื่นสมองมีความผิดปกติหรือพบความผิดปกติจากการตรวจร่างกายแล้วสงสัยว่าอาจมีความผิดปกติในสมอง
การตรวจน้ำไขสันหลัง
พิจารณาทำในรายที่สงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง หรืออาจทำในรายที่ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบที่มีภาวะชักจากไข้สูง (เนื่องจากในเด็กเล็กอาการและอาการแสดงบางอย่างของการติดเชื้อระบบประสาทส่วนกลางไม่ชัดเจน)
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography: EEG)
ไม่มีความจำเป็นในรายที่มีอาการชักจากไข้สูงในครั้งแรก ส่วนใหญ่จะตัดสินใจทำในรายที่มีอาการชักเป็นระยะเวลานาน หรือมีรูปแบบอาการชักที่ผิดแปลกหรือมีรูปแบบเฉพาะบางโรค และอาจพิจารณาทำในรายที่มีภาวะไข้สูงแล้วชักมาแล้วหลาย ๆ ครั้ง
คำถามที่พบบ่อย




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.11 No.130 ตุลาคม 2558