
โรคไทรอยด์ เป็นโรคที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์กังวลใจไม่น้อย วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้เรื่อง โรคไทรอยด์ และการวางแผนก่อนตั้งครรภ์สำหรับคุณแม่ที่เป็นไทรอยด์ก็เป็นสิ่งสำคัญมากค่ะ เพราะถ้าคุณแม่ดูแลตัวเองดีและพบคุณหมออย่างสม่ำเสมอก็สามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัยค่ะ มาดูคำแนะนำดี ๆ จากนิตยสาร รักลูก กันเลยค่ะ
ผู้หญิงที่เป็นโรคไทรอยด์ หรือเคยมีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อาจเกิดความกังวลว่าถ้าตั้งครรภ์แล้วจะทำให้อาการกำเริบได้ไหม หรือจะมีผลต่อลูกในท้องหรือเปล่า แต่ถ้ามีการรักษาอย่างสม่ำเสมอก็ตั้งครรภ์ได้สบายค่ะ
คุณแม่ท้อง...ต่อมไทรอยด์ทำงานเปลี่ยนไป
ช่วงท้อง ปกติต่อมไทรอยด์จะมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อยอยู่แล้ว และอาจทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์เปลี่ยนแปลง มีการเผาผลาญในร่างกาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ดังนี้

พบไม่บ่อย เพราะผู้หญิงที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนได้น้อย ส่วนใหญ่จะมีปัญหามีบุตรยากอยู่แล้ว เนื่องจากไข่ไม่ตก หรือไข่ไม่สมบูรณ์นั่นเอง
ในคุณแม่ที่เคยมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์มาก่อน และวางแผนจะมีลูก ไม่ต้องกังวล เพราะการตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อการกำเริบของโรค
อาการขณะตั้งครรภ์
คุณแม่ที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ขณะท้อง อาจมีโลหิตจาง ความดันโลหิตสูง ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ อาจทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด มีโอกาสแท้ง หรือทารกอาจเสียชีวิตขณะคลอดได้ หากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม
การดูแลรักษา



ผู้หญิงที่เป็นโรคไทรอยด์ หากวางแผนจะมีลูก ควรกินยาสม่ำเสมอ ตรวจเลือดตามที่แพทย์นัด ที่สำคัญควรคุมกำเนิดก่อน จนกว่าอายุรแพทย์ด้านต่อมไร้ท่อจะอนุญาตให้ตั้งครรภ์ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์

ทำให้มีอาการคอพอกเป็นพิษ อาจพบร่วมกับครรภ์ไข่ปลาอุก หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกายด้วย คุณแม่จะรู้ได้จากการตรวจเลือด แล้วพบว่าร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากกว่าปกติ และสังเกตอาการได้จากน้ำหนักลดหรือไม่ขึ้นตามเกณฑ์ ขี้ร้อน ผิวอุ่น ใจสั่น ชีพจรเต้นเร็วกว่าปกติ
ในช่วงท้อง ฮอร์โมนในร่างกายจะเปลี่ยนแปลง รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย ทำให้ช่วงไตรมาสแรกมีโอกาสที่โรคจะกำเริบขึ้นมาได้ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 และ 3 อาการจะดีขึ้น แต่ในคุณแม่ที่ควบคุมโรคไทรอยด์ได้ไม่ดี อาจมีโอกาสที่โรคจะกำเริบอีกครั้งช่วงหลังคลอด จึงต้องระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลให้หัวใจล้มเหลวได้
หากมีอาการขณะตั้งครรภ์
และไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมหรือควบคุมโรคได้ไม่ดี อาจทำให้มีความดันโลหิตสูง ทารกเจริญเติบโตช้า รกลอกตัวก่อนกำหนด มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด และถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้แท้งได้
ดูแลรักษาขณะตั้งครรภ์




แม้จะมีภาวะไทรอยด์ แต่ถ้าคุณแม่ท้องดูแลตัวเอง กินยาอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพท้องเป็นระยะ ก็จะช่วยควบคุมโรคได้ดี และพร้อมต้อนรับลูกน้อยได้อย่างสบายใจค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 33 ฉบับที่ 391 สิงหาคม 2558