
พัฒนาการเด็กเล็กในช่วงวัยขวบปีแรกของลูกมีอะไรที่หน้าค้นหาและสร้างความประทับให้คุณพ่อคุณแม่ได้มากมาย วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้เรื่องพัฒนาการของลูกในวัยขวบปีแรก และการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตั้งแต่แรกเกิด มาฝากค่ะ มาเก็บเกี่ยวความหัศจรรย์และความน่าทึ่งของเบบี๋กับนิตยสาร MODERNMOM กันค่ะ ><
ในวัยขวบแรกคือช่วงเวลาทองที่ลูกน้อยมีพัฒนาการต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เต็มไปด้วยสิ่งน่ารัก เรื่องราวน่าประทับใจ อย่าลืมเก็บเกี่ยวความทรงจำในช่วงที่คุณพ่อคุณแม่จะไม่มีวันลืมเกี่ยวกับลูกน้อยในวัยนี้

ประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ก่อนที่ทารกน้อยจะสามารถแยกแยะระหว่างคุณแม่กับคนอื่น ๆ ได้ การได้ยินเสียงและการมองเห็นอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ลูกน้อยรับรู้และคิดถึงหากคุณแม่หายไป ที่น่ารักที่สุดคือ ทารกน้อยเก่งกาจมาก แม้ในช่วงแรกเกิดจะมองเห็นได้ชัดเจนแต่ระยะ 8-9 นิ้ว แต่ลูกสามารถจำเสียงและกลิ่นของคุณแม่ได้ตั้งแต่วันแรก ๆ ที่เกิดเลยล่ะ เพราะฉะนั้นการพูดคุยกับลูกโดยแนบใบหน้าเข้าไปใกล้ลูก ให้ลูกจดจำใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยให้ลูกน้อยแยกระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับผู้ใหญ่คนอื่นได้เร็วขึ้น

เมื่ออายุ 6 เดือน ลูกจะคว่ำหงายได้เอง สามารถนั่งโดยที่ศีรษะไม่ตกไปข้างหลังได้เองชั่วครู่ พอเดือนที่ 8 คลานได้คล่องขึ้น เข้าสู่เดือนที 9 นั่งได้มั่นคง คลานและเกาะยืน และประมาณอายุ 12 เดือนก็สามารถเกาะเดิน ยืนเองได้ชั่วครู่ อาจเริ่มต้นโดยแขนขาพัฒนาการด้านร่างกายต่าง ๆ เหล่านี้สำคัญกับลูกมากเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องกระตุ้นให้ลูกฝึกพัฒนาการของร่างกาย เล่นกับลูก ใช้ของเล่นล่อหลอกอย่างสนุกสนานให้ลูกฝึกคว่ำหงาย นั่ง คลาน และหัดเดิน จนเมื่อถึงวันที่ลูกเริ่มออกเดินก้าวแรกด้วยตนเอง นั่นคือรางวัลสำหรับคุณพ่อคุณแม่

การแสดงท่าทางประกอบคำพูดเป็นการสื่อสารภาษากายไปพร้อมกับภาษาพูด ช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาพูดได้เร็วขึ้น แม้ว่าลูกน้อยยังพูดไม่ได้ แต่เบบี๋สามารถสื่อสารด้วยภาษากายได้แล้ว เช่น โบกมือ บ๊ายบาย ตบมือ ชี้มือ และกิริยาอาการอื่น ๆ ที่จะสื่อสารกับพ่อแม่ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ยิ่งลูกสื่อสารด้วยภาษาท่าทางมากเพียงใด ลูกก็จะสามารถสื่อสารด้วยภาพูดได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น เวลาคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกผ้าสามารถแสงดเท่าทางประกอบได้ เช่น ถ้าจะชวนลูกไปกินอาหาร บอกลูกว่าถึงเวลากินอาหาร ไปกินข้าวกัน พูดไปด้วย พร้อมทำท่าทางกินข้าวไปด้วย เป็นต้น
มีผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า เด็กเรียนรู้ภาษาเร็วขึ้น ถ้าพ่อแม่ชี้ไปที่สิ่งของต่าง ๆ ในขณะที่พูดถึงสิ่งของนั้นไปด้วย โดยลูกจะมองตามนิ้วมือที่ชี้ไปของพ่อแม่ และเมื่ออายุประมาณ 9-10 เดือน ลูกจะเริ่มสามารถหยิบสิ่งต่าง ๆ ตามที่บอกได้
"No Language can express He power and beauty and heroism of a mother’s love."
"ไม่มีค่าใด ภาษาไหน ที่จะให้นิยามอานุภาพแห่งความงามของความรักที่แม่มีได้เลย"

สมองของลูกคือสิ่งมหัศจรรย์ที่เสกบันดาลให้ลูกสามารถเป็นอะไรก็ได้ ถึงใจปรารถนา การปลุกพลังสมองของลูกน้อยสามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด

สมองของทารกมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมจากตอนแรกเกิดถึง 64% ในช่วงอายุ 90 วันแรก หรือจะอธิบายอีกอย่างหนึ่งคือ สมองของทารกแรกเกิดมีขนาดเพียง 33% ของสมองผู้ใหญ่โตเต็มวัย และสมองของทารกจะเติบโตขึ้นจนมีขนาดเป็น 55% ของขนาดสมองผู้ใหญ่ในช่วงที่ลูกอายุประมาณ 3 เดือน
โดมินิก ฮอลแลนด์ นักวัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ติดตามการเติบโตของสมองส่วนต่าง ๆ ของทารกอายุ 3 เดือนแรก เขาพบว่าสมองส่วนซีรีเบลลัม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เป็นสมองส่วนที่เติบโตมากที่สุดในช่วงวัยนี้ และขนาดของสมองส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อทารกอายุ 3 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนว่าพัฒนาการในการควบคุมกล้ามเนื้อมัดใหญ่สำหรับทารกวัยนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก


ในขณะที่ลูกยังพูดไม่ได้ แต่สมองในด้านอารมณ์ความรู้สึกของลูกมีการพัฒนาไปมาก หนูน้อยสามารถรู้ได้ว่าพ่อแม่กำลังรู้สึกแย่ เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน ลูกน้อยสามารถแยกระหว่างเสียงที่ให้ความหวังกับเสียงที่เศร้าหมองได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านประสาทวิทยา และเมื่ออายุ 9 เดือนลูกจะแยกแยะได้ถึงเสียงอันโศกเศร้าของซิมโฟนีหมายเลขเจ็ดของบีโฮเฟน ออกจากเสียงเพลงที่สนุกสนานอื่น ๆ ได้

ภาษาแห่งเสียงเพลงคือภาษาของทารก จะเห็นได้ว่าเด็กน้อยเกือบทุกคนไม่สามารถต้านทานต่อเสียงดนตรีได้เลย ไม่ใช่เฉพาะเรื่องหูของลูกที่ปรับจูนเข้ากับจังหวะได้ แต่ลูกน้อยยังสามารถเต้นไปตามจังหวะเพลงได้อีกด้วย มีผลงานวิจัยเมื่อปี 2010 ที่ทดสอบเกี่ยวกับแนวโน้มที่จะเต้นตามเสียงเพลงของเด็กทารก โดยนักวิจัยได้ทดลองเปิดเพลงคลาสสิก เปิดเพลงที่มีจังหวะ และพูดกับทารก แล้วบันทึกภาพปฏิกิริยาของทารก นักวิจัยยังได้ให้นักเต้นบัลเล่ต์มืออาชีพมาวิเคราะห์ว่าเด็กทารกเคลื่อนไหวได้สอดคล้องกับเสียงเพลงอย่างไร
ผลปรากฏว่า เด็กน้อยเคลื่อนไหวแขน มือ ขา เท้า ลำตัว และศีรษะตอบสนองต่อเสียงเพลงมากกว่าตอบสนองต่อคำพูด นี่แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการเต้นของมนุษย์มีติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เมื่อรู้ว่าเด็กน้อยรักเสียงเพลงและการเดินขนาดนี้ ร้องเพลงให้ลูกฟัง เปิดเพลงให้ลูกฟัง และชวนลูกเต้นตามจังหวะเพลงให้ได้บ่อย ๆ จะช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองของลูกได้ เสียงเพลงจะช่วยให้ลูกเรียนรู้จังหวะดนตรี เรียนรู้ภาษาจากเนื้อเพลง รวมไปถึงการได้พัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรพูดคุยกับลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ "สมองคืออวัยวะที่แสวงหารูปแบบของสิ่งต่าง ๆ "จิล สแตมม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสมองในวัยเด็กเล็ก และผู้เขียนหนังสือ Bright From the Start กล่าวว่า "ยิ่งสมองได้ยินเกี่ยวกับรูปแบบของภาษามากเท่าใด จะยิ่งช่วยให้ลูกเรียนรู้ภาษาได้ง่ายขึ้นมากเท่านั้น"
เทรซี่ ศัทโชลว์ บรรณาธิการหนังสือ Brain Rules for baby แนะนำว่า การบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่ทำในชีวิตประจำวันให้ลูกฟัง โดยการพูดบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่ทำ และอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เราคิดออกมาดัง ๆ ให้ลูกได้ฟังยู่เสมอ เสียงพูดของเราที่สอดคล้องไปกับสิ่งที่ลูกทำและเห็นจะช่วยกระตุ้นพลังสมองของลูกได้อย่างมากที่สุด
เมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ เด็กที่พ่อแม่พูดคุยด้วยอย่างสม่ำเสมอ จะมีระดับไอคิวมากกว่าเด็กที่ไม่ค่อยมีใครพูดด้วยประมาณ 1.5 เท่า และเมื่อเข้าเรียนประถมศึกษา เด็กกลุ่มที่มีคนพูดคุยด้วย จะมีทักษะการอ่าน การสะกดคำ และการเขียนที่ดีกว่า

อ่านหนังสือ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง เพื่อส่งเสริมจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และภาษา เด็กเล็ก ๆ ชอบฟังเรื่องราวต่าง ๆ ทั้งเรื่องที่เป็นจินตนาการในโลกแฟนตาชี หรือเรื่องราวในชีวิตประจำวันใกล้ตัวลูกก็ชอบฟังเช่นกัน หนังสือเล่มเดียวกัน หรือเรื่องราวจากนิทานเรื่องเดียวกัน สามารถประยุกต์เป็นกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากเล่าเรื่องหรืออ่านหนังสือได้ เช่น แทนที่จะเล่าให้ฟังอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการปั้นแป้งโดว์ประกอบเรื่องราว หรือช่วยกันวาดภาพระบายสีประกอบเรื่องราวไปด้วย กิจกรรมประกอบการเล่านิทานเหล่านี้จะช่วยให้ลูกได้ทั้งเรื่องของจินตนาการ การใช้เหตุผล และความคิดสร้างสรรค์ การปั้นและการระบายสียังเป็นการกระตุ้นให้สมองใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กให้สัมพันธ์ไปกับการมองเห็น และการคิดจินตนาการเรื่องราวต่าง ๆ


สมองของลูกจะพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพต้องได้รับพลังงานจากสารอาหารที่จำเป็น โดยเฉพาะกลุ่มสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
อาหารเสริมสมองอย่างแรกคือนมแม่ ซึ่งครบถ้วนทั้งสารอาหารเสริมสมอง ภูมิต้านทาน เมื่อถึงวัยอาหารเสริม คุณแม่ควรเลือกอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมตามวัย ทั้งชนิดและลักษณะของอาหาร ในช่วงวัยเล็กนี้ ควรให้ลูกได้เรียนรู้รสชาติ รูปแบบ พร้อมทั้งสร้างลักษณะนิสัยการรู้จักเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับลูกไปด้วย โดยสารอาหารในกลุ่มพัฒนาสมอง เช่น ธาตุเหล็ก ไอโอดีน กลุ่มวิตามินบี และสังกะสี ส่วนแหล่งโปรตีนบำรุงสมองที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือ ปลา เลือกปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาสำลี ฯลฯ นอกจากลูกจะได้โอเมก้า-3 น้ำมันปลา เพื่อพัฒนาสมองแล้วยังได้โปรตีนคุณภาพ เหล็ก สังกะสี และสารอหารอื่น ๆ

ลูกจะเรียนรู้ได้ดีถ้าสามารถมีสมาธิเล่นอิสระได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งของเล่นเสริมสมาธิที่เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ เช่น การต่อบล็อกไม้ การวาดรูประบายสี หรือการต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น สมาธิมีความสัมพันธ์กับการทำงานของสมอง การที่เด็กอยู่นิ่งและมีจิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ สมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเหตุผลและการแก้ปัญหาจะสามารถรับและเก็บข้อมูลในเรื่องที่สนใจได้ดี
"Behind all your stories is always your mother’s story. Because hers is where yours begin."
เบื้องหลังความทรงจำทั้งชีวิตของคุณ มักจะมีเรื่องราวของแม่อยู่เสมอ เพราะแม่อยู่กับเราตั้งแต่เราลืมตาดูโลก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

Vol.20 No.238 สิงหาคม 2558