
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังพบได้ในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ วันนี้กระปุกดอทคอมมีเกร็ดความรู้ พร้อมคำแนะนำเมื่อลูกน้อยเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ เพราะหากไม่รีบรักษาอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจเรื้อรังและไม่หายขาด แต่หากดูแลอาการอย่างใกล้ชิดลูกน้อยก็จะดีขึ้นค่ะ พร้อมแล้วเราไปดูวิธีรักษาและป้องกันให้ลูกน้อยห่างไกลโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจากนิตยสาร รักลูก กันเลยค่ะ
หากสังเกตเห็นว่าลูกมีผื่นที่ผิวหนัง มีอาการคันเป็น ๆ หาย ๆ หรือผิวหนังมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณที่เป็นผื่น ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพราะลูกอาจเสี่ยงเป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเรื้อรัง รวมทั้งติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสบริเวณผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้
สาเหตุผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม มักพบในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ร้อยละ 50 โดยมักมีอาการในขวบปีแรกร้อยละ 85 และอีกร้อยละ 20 มีอาการเรื้อรังต่อจนถึงเป็นผู้ใหญ่
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยลักษณะของผื่นและการกระจายของผื่นจำเพาะตามวัย เช่น ในเด็กเล็กแรกเกิด - 2 ปี จะพบบริเวณใบหน้า ซอกคอ ด้านนอกของแขนและขา ส่วนเด็กโตพบผื่นบริเวณแขนขา เนื่องจากเป็นโรคที่เรื้อรัง และอาการแสดงคล้ายกับผื่นในโรคผิวหนังอีกหลาย ๆ โรค
ตรวจวินิจฉัยตามความรุนแรงของโรค
การวินิจฉัยโรคคุณหมอจะเลือกการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยพิจารณาอายุ ประวัติการเริ่มมีผื่น ระยะเวลาที่เป็นผื่น การเกิดผื่นซ้ำ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การทดสอบทางภูมิแพ้ จะเลือกตรวจในรายที่สงสัยว่ามีประวัติผื่นกำเริบหรือแย่ลง เมื่อได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนจากสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนจากสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ต้นหญ้า ละอองเกสรดอกไม้ โดยทดสอบทางผิวหนัง (skin prick test) และตรวจด้วยการเจาะเลือด
2. การทดสอบการแพ้อาหาร ส่วนใหญ่โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังที่มีประวัติสัมพันธ์กับการแพ้อาหารมักพบในทารก หรือช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะการแพ้โปรตีนนมวัว อาการอาจเกิดได้หลังกินหรือสัมผัสนมวัวทันที หรือไม่เกิน 2 ชั่วโมง ทั้งอาจมีอาการร่วม เช่น อาเจียน ถ่ายเหลว มีน้ำมูกเป็น ๆ หาย ๆ หายใจดัง มีผื่นลมพิษ ซึ่งการวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือการทดสอบการแพ้อาหารโดยการกิน (Gold standard) สังเกตอาการผิดปกติหลังกินอาหารชนิดนั้น ๆ อาจทำร่วมกับการส่งเลือดตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
การรักษาและป้องกัน
หากได้รับการวินิจฉัยโรคแล้ว คุณหมอจะรักษา โดยมีเป้าหมายให้ลูกน้อยมีผื่นลดลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดังนี้









โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมีลักษณะการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง แต่มีความรุนแรงแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน หากดูแลผิวหนังและเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดผื่น ร่วมกับติดตามการรักษากับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะช่วยให้อาการดีขึ้นเรื่อย ๆ และมีโอกาสที่โรคจะหายขาด
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 33 ฉบับที่ 389 มิถุนายน 2558