x close

นักวิจัยชี้ พัฒนาการสมองลูกน้อย สามารถเรียนรู้ได้แม้ในยามหลับ

แอลฟา แล็คตัลบูมิน

          ผลวิจัยชี้ พัฒนาการสมองของเด็กทารก สามารถพัฒนาได้แม้ในยามหลับ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยเป็นผู้ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อยอย่างไรบ้าง มาศึกษาข้อมูลกันเลยค่ะ

          คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายรู้ไหมคะว่าในสมองของลูกน้อยนั้น สามารถที่จะตื่นตัวและพร้อมที่จะเรียนรู้ได้แม้ในขณะที่ยังหลับอยู่ ซึ่งตรงนี้ได้มีผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ออกมาแล้วว่า ในช่วง 2-3 เดือนแรกของชีวิตเป็นช่วงเวลาที่ทารกมีพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะพัฒนาการสมองทารกไม่เคยหยุดนิ่ง แม้ช่วงเวลานอนที่มากถึงวันละ 16-18 ชั่วโมง สมองทารกสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับการเรียนรู้ในเวลาตื่นมาประมวลผลเป็นความจำในเวลานอนได้

แอลฟา แล็คตัลบูมิน

          หากพูดถึงเรื่องการนอนของทารกนั้นถ้าได้ศึกษาข้อมูลให้แน่ชัดก็จะรู้ว่าศาสตร์แห่งการนอนของทารกน้อยจะมีรูปแบบเฉพาะ ที่มีความแตกต่างกับการนอนหลับของผู้ใหญ่ โดยลักษณะเฉพาะของการนอนหลับของเด็กนั้นได้มีผลการวิจัยออกมาแล้วว่า การนอนหลับของเด็กจะมี 2 ช่วง คือ ช่วงหลับธรรมดาซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และกระตุ้นการทำงานของร่างกายและมีช่วงหลับลึก ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตทางสมองของลูกน้อย เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นส่วนต่าง ๆ ของสมองในการเรียนรู้ จดจำ อันเป็นรากฐานสำคัญของพัฒนาการของสมองที่ดี ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่จำเป็นต้องดูแลและใส่ใจให้เป็นพิเศษ

แอลฟา แล็คตัลบูมิน

          และนี่ก็คือกราฟที่แสดงให้เห็นว่า การนอนหลับในวัยเด็กนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่ โดยในช่วง 1 ขวบปีแรกเด็กวัยนี้ มีทั้งหลับยาว 8-10 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนและหลับเป็นช่วง ๆ ในเวลากลางวัน แสดงว่า การนอนสำคัญมากกับเด็กทารก

แอลฟา แล็คตัลบูมิน

          นอกจากนี้ นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ก็ยังได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของหนูน้อยเพิ่มเติม ในช่วงอายุ 6-12 เดือนจำนวน 216 คน พบว่าหนูน้อยเหล่านี้ จะไม่สามารถจดจำกิจกรรมใหม่ ๆ ได้เลย ถ้าไม่ได้นอนหลับแบบเต็มอิ่ม หลังจากเรียนกิจกรรมนั้น ๆ

          โดยในระหว่างการศึกษา นักวิจัยได้ทดลองสอนให้หนูน้อยทำกิจกรรมหลายอย่างรวมทั้งเล่นกับหุ่นกระบอกประเภทสวมมือ เสร็จแล้วแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้นอนหลับภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากทำกิจกรรมเสร็จ ส่วนอีกกลุ่มไม่ได้นอน หรืองีบหลับไปไม่เกิน 30 นาที พอวันรุ่งขึ้น นักวิจัยบอกให้หนูน้อยลองทำกิจกรรมที่สอนไปให้ดู ปรากฏว่า เด็กที่ได้นอนหลับเต็มอิ่มจะสามารถทำกิจกรรมซ้ำได้โดยเฉลี่ยอย่างน้อย 1.5 กิจกรรม ส่วนเด็กที่ไม่ได้นอนหรือนอนน้อยนั้นกลับทำไม่ได้เลย

          แล้วถ้าลูกน้อยมีปัญหาหลับยาก คุณแม่จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร สำหรับปัญหานี้ได้มีการศึกษาแล้วว่า "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" ในนมแม่ สามารถช่วยทำให้ลูกหลับปุ๋ย เรียนรู้ และจดจำได้อย่างรวดเร็ว

          ดังนั้น การให้นมแม่ก่อนนอน จึงถือเป็นหมัดเด็ดที่ช่วยให้ทารกนอนหลับปุ๋ย และรีเฟรชสมองทารกให้สดชื่นขึ้น เพื่อที่จะเรียนรู้ รับความรู้ใหม่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่เรียกว่า "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" โปรตีนคุณภาพสูง ย่อยง่าย และให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ "ทริปโตเฟน" ที่มีบทบาทสำคัญทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน เพราะทริปโตเฟน เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท ช่วยในการสื่อสารของเซลล์ประสาทและการทำงานของสมอง และยังมีส่วนช่วยในควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอน ให้หลับเร็วขึ้น นอกจากนี้ นมแม่ ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่สำคัญสำหรับสมองอีก ได้แก่ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก เป็นต้น

แอลฟา แล็คตัลบูมิน

          ทั้งนี้สามารถยืนยันเหตุผลนี้ได้จากการศึกษาของ Cubero, et. Al พบว่า เด็กที่กินนมแม่จะนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากนมแม่มีระดับทริปโตเฟนในช่วงกลางคืนสูงกว่าในช่วงกลางวัน ขณะที่เด็กกินนมผสมก็จะใช้เวลาเพื่อที่จะหลับนานกว่านั่นเอง

          กล่าวโดยสรุปก็คือ พัฒนาการของลูกน้อยจะมีพัฒนาการที่ดีและรวดเร็วได้ก็ต่อเมื่อ "ได้รับการนอนหลับที่เพียงพอทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน" และการได้รับสารอาหาร "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" จากนมแม่ เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานและช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองที่มีการเรียนรู้ไม่หยุดนิ่งแม้ในยามหลับ ซึ่งหัวใจหลักทั้งสองอย่างนี้จะช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์และสมองไวถูกใจคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง

         1. Tarullo AR, Balsam PD, and Fifer WP. Sleep and Infant Learning. Infant and Child Development 2011: 20; 35-46

         2. Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91

         3. J. Cubero1, V. Valero1, J. Sánchez2, M. Rivero3, H. Parvez1, A. B. Rodríguez1 & C. Barriga, The circadian rhythm of tryptophan in breast milk affects the rhythms of 6-sulfatoxymelatonin and sleep in newborn 2005






เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นักวิจัยชี้ พัฒนาการสมองลูกน้อย สามารถเรียนรู้ได้แม้ในยามหลับ อัปเดตล่าสุด 13 พฤษภาคม 2558 เวลา 12:24:21 3,342 อ่าน
TOP