คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ได้ระวังเรื่องโรคภัยใกล้ตัว กับท่านั่งของลูกน้อยอย่าคิดว่าไม่สำคัญ วันนี้กระปุกดอมคอมมีเกร็ดความรู้เรื่อง ท่านั่ง W ของลูกน้อยว่าทำไมทางการแพทย์จึงแนะนำว่าไม่ควรให้เด็กนั่งท่านี้ แล้วมีความเสี่ยงอย่างไร เรามีคำตอบจากนิตยสาร Momypedia มาฝากคุณพ่อคุณแม่กันค่ะ ...
พ่อแม่จะพบว่าเด็กเล็กหลาย ๆ คน ชอบนั่งในท่างอเข่า เข่าชิดกันขาท่อนล่างแบะออก ในท่าที่เรียกว่า ท่า W เพราะนั่งท่านี้ช่วยเด็กทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กชอบนั่ง แต่ทำไมคุณหมอถึงไม่อยากให้นั่งท่านี้
สาเหตุสำคัญที่ไม่ควรส่งเสริมให้เด็กนั่งท่า W เพราะการนั่งท่านี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดกระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ (Internal Femoral Torsion)
เด็กอายุช่วงระหว่าง 2-5 ปี จำนวนไม่น้อยที่เดินโดยมีปลายเท้านิ้วเท้าบิดเข้าด้านใน แทนที่จะชี้ตรงไปข้างหน้า เมื่อเด็กโตขึ้นกลับพบว่ามีการปรับเป็นปกติได้เอง มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีการบิดจนต้องผ่าตัดรักษา แต่การยืนเดินแบบนี้มักทำความลำบากใจให้ผู้ปกครองเสมอเนื่องจากเกรงว่าลูก ๆ จะพิการ
ตามธรรมชาติเด็กทุกคนกระดูกขาท่อนบนจะบิดเข้าด้านในอยู่แล้วเช่นกันแต่ในขนาดที่น้อยกว่านี้ และเมื่อเด็กโตขึ้นจะปรับสภาพได้เองโดยการบิดของกระดูกจะลดลงเหลือเพียงเล็กน้อยเมื่ออายุประมาณ 7 ปีขึ้นไป และจะคงสภาพการบิดเท่านี้จนเป็นผู้ใหญ่ การปรับสภาพดังกล่าวเกิดได้ในเด็กที่มีปลายเท้าบิดเข้าด้านในเช่นกัน
การรักษากระดูกขาท่อนบนบิดเข้าด้านในมากผิดปกติ(Internal Femoral Torsion)
จะมีการปรับสู่ปกติได้เอง การนั่งท่าขัดสมาธิแทนการนั่งรูปตัวอักษร W อาจมีส่วนช่วยในการปรับสภาพ สำหรับการรักษาการผ่าตัดแก้ไขทำเฉพาะในรายที่เป็นมากและทำในเด็กอายุเกิน 10 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยพิการทางสมอง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก