ครูทำร้ายเด็ก ความรุนแรงในโรงเรียน เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่ากับใครก็ตาม แล้วเมื่อลูกของเราถูกครูรังแก คุณพ่อคุณแม่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง เรามีวิธีรับมือมาฝาก
![ทำร้ายเด็ก ทำร้ายเด็ก]()
จากข่าวครูทำร้ายเด็กนักเรียนที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ทำให้ผู้ปกครองหลายคนเริ่มเป็นกังวล เพราะแทนที่โรงเรียนจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ รองจากบ้าน แต่กลับกลายเป็นว่าลูกอาจถูกรังแกได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นกรณีโดนเพื่อนแกล้งหรือบูลลี่แล้ว ยังมีโอกาสที่เด็กจะโดนครูรังแก ใช้ความรุนแรง หรือทำโทษเกินกว่าเหตุด้วย ถึงแม้เรื่องเช่นนี้มีให้เห็นมาโดยตลอดและอาจเกิดขึ้นกับบุตรหลานของใครก็ได้ ทว่าการทำร้ายร่างกายเด็กจะเห็นเป็นเรื่องปกติไม่ได้ เพราะไม่เพียงแต่จะเกิดผลกระทบเป็นบาดแผลทางร่างกาย แต่ยังส่งผลถึงจิตใจเด็กโดยตรง ทั้งเป็นโรควิตกกังวล ซึมเศร้า หวาดผวากลัวการถูกกระทำซ้ำ
วิธีเลี้ยงลูก เมื่อลูกถูกครูรังแก คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรได้บ้าง หรือควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อปกป้องลูกรัก กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำมาบอกต่อกันค่ะ
1. ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
อย่างแรก พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาจะปลอดภัย ไม่โดนทำร้ายซ้ำ เพื่อจัดการเรื่องความกลัว โดยควรหลีกเลี่ยงให้เด็กกลับไปอยู่ในสถานที่นั้นชั่วคราว เช่น ย้ายห้องเรียน ไม่บังคับให้ลูกไปโรงเรียน หรือให้เด็กพักการเรียนไปก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กแต่ละคน แต่ที่แน่ ๆ คือผู้ปกครองต้องอยู่เคียงข้างและให้เด็กอยู่กับกลุ่มคนที่ปลอดภัยและพร้อมจะรับฟังพวกเขาอย่างเข้าใจ
ในภาวะเช่นนี้เด็กอาจจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เช่น ปัสสาวะรดที่นอน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าที่ไม่เคยมี หรืองอแงมากขึ้นคล้ายกับเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องอดทนและให้เวลาเขาปรับตัวกับเหตุการณ์เหล่านี้สักพักด้วย
2. พูดคุยกับลูกแบบเปิดใจ
เมื่อลูกถูกทำร้าย อาจรู้สึกกลัวจากการถูกขู่ ไม่กล้าบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ยิ่งคนที่รังแกเป็นคุณครูด้วยแล้ว ก็ทำให้ลูกรู้สึกสับสน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกอย่างเปิดใจ แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เขากำลังเผชิญ ลองเริ่มจากพูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้เป็นกิจวัตร เช่น วันนี้สิ่งที่เจอที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง มีคนมาแกล้งไหม หรือมีเพื่อนไปแกล้งคนอื่นหรือเปล่า ครูเป็นอย่างไรบ้าง
3. เชื่อใจลูก
เวลาลูกมาเล่าอะไรให้ฟัง การเชื่อใจลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเกราะคุ้มกันลูกด้วยความอบอุ่นแล้ว ยังเป็นวิธีช่วยให้ลูกเปิดใจ กล้าระบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟังมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ควรพูดกับลูกทันทีคือ “เกิดอะไรขึ้น เล่าให้ฟังซิ” ในเด็กเล็กอาจต้องถามนำและเจาะรายละเอียดหน่อย เพราะลูกยังเล่าได้ไม่ดีนัก ส่วนสิ่งที่พ่อแม่บางคนถามลูกกลับว่า “ครูทำอย่างนั้นเพราะหนูซน หนูดื้อหรือ ?” ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นการกล่าวโทษเหยื่อ (Victim Blaming) และทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณไม่เชื่อใจพวกเขานั่นเอง
![ทำร้ายเด็ก ทำร้ายเด็ก]()
4. หาสาเหตุของการรังแก
หลังจากได้รับทราบเรื่องราวจากลูกแล้ว ลองคิดว่าปัญหาที่ลูกโดนคุณครูแกล้งนั้นมาจากอะไรได้บ้าง ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ทั้งคุณครูอารมณ์ร้อน หรือความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณครูและนักเรียน จนทำให้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อพอจะรู้สาเหตุแล้วจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับปัญหาของลูกได้ตรงจุดมากขึ้น
5. พูดคุยกับคุณครู
แน่นอนว่าหากเกิดความไม่เป็นธรรมกับลูก ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องปกป้อง กล้าชน อย่ากลัวหรือเกรงใจคนอื่นมากกว่าลูกของเรา ขั้นนี้แนะนำว่าให้หาโอกาสคุยกับคุณครูที่รังแกลูกของเราโดยตรง แต่ถ้าไม่สามารถพูดคุยโดยตรงได้ ให้ลองคุยกับคุณครูท่านอื่นเพื่อหาทางรับมือต่อไป และให้คุณครูช่วยสอดส่องดูแลลูกอีกแรง หากยังไม่ดีขึ้น ควรแจ้งฝ่ายบริหารของโรงเรียน ตลอดจนแจ้งฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำการตรวจสอบ และจัดการตามความผิด เพื่อไม่ให้เด็กถูกรังแกซ้ำ
6. สอนลูกให้รู้จักระวังตัวเอง
นอกจากรับมือกับโรงเรียนแล้ว ก็ต้องไม่ลืมหันมาปลูกฝังลูก ๆ ให้มีความเข้มแข็งทางใจด้วย โดยสอนให้ลูกรู้จักระวังตัวเอง ไม่ไปไหนมาไหนคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อจำเป็น รวมถึงฝึกให้ลูกรู้จักทักษะจัดการปัญหาหรือวิธีป้องกันตัวเมื่อโดนรังแก และควรสอนด้วยว่าถ้าลูกถูกใครทำร้ายที่โรงเรียน ต้องมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง โดยไม่ต้องกลัวใครขู่ เพราะพ่อแม่จะเป็นคนปกป้องลูกเอง ที่สำคัญอย่าลืมให้กำลังใจลูกในวันที่ถูกแกล้งด้วยนะคะ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีกลุ่มผู้ปกครองทั้งออนไลน์และในชีวิตจริง เพื่อช่วยกันเป็นหูเป็นตา และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีอาการแปลก ๆ ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ จะได้รู้ปัญหาได้เร็วขึ้น
![ทำร้ายเด็ก ทำร้ายเด็ก]()
7. อย่าเครียดเกินไป
ปัญหาเหล่านี้ บางครั้งก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่เครียดกว่าลูกเสียอีก หรือวิตกกังวลเกินไปแล้วก็รู้สึกผิดทำให้แทนที่ภายในบ้านจะมีการพูดกันอย่างสนุกสนานผ่อนคลาย กลับกลายเป็นว่าพ่อก็เครียด แม่ก็เครียด ลูกก็เลยพลอยเครียดมากขึ้นไปด้วย ทางที่ดีเราต้องสร้างกำลังใจให้กับตัวเองมาก ๆ พยายามคิดว่าที่ผ่านมาได้ทำดีที่สุดให้กับลูกแล้ว และต้องเดินหน้าด้วยการเลี้ยงลูกให้มีความสุขอย่างปลอดภัย ส่วนกระบวนการอื่น ๆ เช่น การสอบสวน ก็ปล่อยให้ดำเนินไปตามระบบและกฎหมาย
8. พาลูกไปพบจิตแพทย์เด็ก
ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก หลังจากโดนครูรังแก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยปัญหานั้นไว้โดยคิดว่าเดี๋ยวลูกก็หาย แต่ควรหาตัวช่วยด้วยการพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อให้ประเมินสภาพจิตใจและรับการช่วยเหลือ เพราะการเยียวยารักษาจิตใจตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เด็กฟื้นฟูได้ดีกว่าปล่อยปัญหาไว้นาน ๆ
ปัญหาครูรังแกเด็ก ถือเป็นเรื่องความรุนแรงในโรงเรียนที่ใครก็ตามไม่ควรปล่อยผ่าน นอกจากวิธีรับมือข้างต้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถป้องกันปัญหานี้ได้ด้วยการหมั่นสังเกตและติดตามการดำเนินชีวิตลูกอย่างใกล้ชิด พูดคุยกันสม่ำเสมอ มีเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่ หากเกิดปัญหาอะไรก็จะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที
ขอบคุณข้อมูลจาก : understood.org, bbc.com, เฟซบุ๊ก ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, เฟซบุ๊ก เลี้ยงลูกนอกบ้าน

วิธีเลี้ยงลูก เมื่อลูกถูกครูรังแก คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรได้บ้าง หรือควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อปกป้องลูกรัก กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำมาบอกต่อกันค่ะ
1. ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
อย่างแรก พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาจะปลอดภัย ไม่โดนทำร้ายซ้ำ เพื่อจัดการเรื่องความกลัว โดยควรหลีกเลี่ยงให้เด็กกลับไปอยู่ในสถานที่นั้นชั่วคราว เช่น ย้ายห้องเรียน ไม่บังคับให้ลูกไปโรงเรียน หรือให้เด็กพักการเรียนไปก่อน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและจิตใจของเด็กแต่ละคน แต่ที่แน่ ๆ คือผู้ปกครองต้องอยู่เคียงข้างและให้เด็กอยู่กับกลุ่มคนที่ปลอดภัยและพร้อมจะรับฟังพวกเขาอย่างเข้าใจ
ในภาวะเช่นนี้เด็กอาจจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เช่น ปัสสาวะรดที่นอน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้าที่ไม่เคยมี หรืองอแงมากขึ้นคล้ายกับเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องอดทนและให้เวลาเขาปรับตัวกับเหตุการณ์เหล่านี้สักพักด้วย
2. พูดคุยกับลูกแบบเปิดใจ
เมื่อลูกถูกทำร้าย อาจรู้สึกกลัวจากการถูกขู่ ไม่กล้าบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้คนอื่นรู้ ยิ่งคนที่รังแกเป็นคุณครูด้วยแล้ว ก็ทำให้ลูกรู้สึกสับสน ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกอย่างเปิดใจ แสดงให้ลูกเห็นว่าคุณแม่เป็นที่พึ่งพาได้และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่เขากำลังเผชิญ ลองเริ่มจากพูดคุยถึงเรื่องที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้เป็นกิจวัตร เช่น วันนี้สิ่งที่เจอที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง มีคนมาแกล้งไหม หรือมีเพื่อนไปแกล้งคนอื่นหรือเปล่า ครูเป็นอย่างไรบ้าง
3. เชื่อใจลูก
เวลาลูกมาเล่าอะไรให้ฟัง การเชื่อใจลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นเกราะคุ้มกันลูกด้วยความอบอุ่นแล้ว ยังเป็นวิธีช่วยให้ลูกเปิดใจ กล้าระบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้ฟังมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ควรพูดกับลูกทันทีคือ “เกิดอะไรขึ้น เล่าให้ฟังซิ” ในเด็กเล็กอาจต้องถามนำและเจาะรายละเอียดหน่อย เพราะลูกยังเล่าได้ไม่ดีนัก ส่วนสิ่งที่พ่อแม่บางคนถามลูกกลับว่า “ครูทำอย่างนั้นเพราะหนูซน หนูดื้อหรือ ?” ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะเป็นการกล่าวโทษเหยื่อ (Victim Blaming) และทำให้ลูกรู้สึกว่าคุณไม่เชื่อใจพวกเขานั่นเอง

หลังจากได้รับทราบเรื่องราวจากลูกแล้ว ลองคิดว่าปัญหาที่ลูกโดนคุณครูแกล้งนั้นมาจากอะไรได้บ้าง ซึ่งก็อาจเป็นไปได้ทั้งคุณครูอารมณ์ร้อน หรือความไม่เข้าใจกันระหว่างคุณครูและนักเรียน จนทำให้เกิดปัญหาขึ้น เมื่อพอจะรู้สาเหตุแล้วจะทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับปัญหาของลูกได้ตรงจุดมากขึ้น
5. พูดคุยกับคุณครู
แน่นอนว่าหากเกิดความไม่เป็นธรรมกับลูก ผู้ปกครองมีหน้าที่ต้องปกป้อง กล้าชน อย่ากลัวหรือเกรงใจคนอื่นมากกว่าลูกของเรา ขั้นนี้แนะนำว่าให้หาโอกาสคุยกับคุณครูที่รังแกลูกของเราโดยตรง แต่ถ้าไม่สามารถพูดคุยโดยตรงได้ ให้ลองคุยกับคุณครูท่านอื่นเพื่อหาทางรับมือต่อไป และให้คุณครูช่วยสอดส่องดูแลลูกอีกแรง หากยังไม่ดีขึ้น ควรแจ้งฝ่ายบริหารของโรงเรียน ตลอดจนแจ้งฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อทำการตรวจสอบ และจัดการตามความผิด เพื่อไม่ให้เด็กถูกรังแกซ้ำ
6. สอนลูกให้รู้จักระวังตัวเอง
นอกจากรับมือกับโรงเรียนแล้ว ก็ต้องไม่ลืมหันมาปลูกฝังลูก ๆ ให้มีความเข้มแข็งทางใจด้วย โดยสอนให้ลูกรู้จักระวังตัวเอง ไม่ไปไหนมาไหนคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากคนอื่นเมื่อจำเป็น รวมถึงฝึกให้ลูกรู้จักทักษะจัดการปัญหาหรือวิธีป้องกันตัวเมื่อโดนรังแก และควรสอนด้วยว่าถ้าลูกถูกใครทำร้ายที่โรงเรียน ต้องมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง โดยไม่ต้องกลัวใครขู่ เพราะพ่อแม่จะเป็นคนปกป้องลูกเอง ที่สำคัญอย่าลืมให้กำลังใจลูกในวันที่ถูกแกล้งด้วยนะคะ
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีกลุ่มผู้ปกครองทั้งออนไลน์และในชีวิตจริง เพื่อช่วยกันเป็นหูเป็นตา และหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีอาการแปลก ๆ ที่เปลี่ยนไปหรือไม่ จะได้รู้ปัญหาได้เร็วขึ้น

ปัญหาเหล่านี้ บางครั้งก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่เครียดกว่าลูกเสียอีก หรือวิตกกังวลเกินไปแล้วก็รู้สึกผิดทำให้แทนที่ภายในบ้านจะมีการพูดกันอย่างสนุกสนานผ่อนคลาย กลับกลายเป็นว่าพ่อก็เครียด แม่ก็เครียด ลูกก็เลยพลอยเครียดมากขึ้นไปด้วย ทางที่ดีเราต้องสร้างกำลังใจให้กับตัวเองมาก ๆ พยายามคิดว่าที่ผ่านมาได้ทำดีที่สุดให้กับลูกแล้ว และต้องเดินหน้าด้วยการเลี้ยงลูกให้มีความสุขอย่างปลอดภัย ส่วนกระบวนการอื่น ๆ เช่น การสอบสวน ก็ปล่อยให้ดำเนินไปตามระบบและกฎหมาย
8. พาลูกไปพบจิตแพทย์เด็ก
ในเด็กบางรายอาจมีปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก หลังจากโดนครูรังแก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม อย่าปล่อยปัญหานั้นไว้โดยคิดว่าเดี๋ยวลูกก็หาย แต่ควรหาตัวช่วยด้วยการพาไปพบจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เพื่อให้ประเมินสภาพจิตใจและรับการช่วยเหลือ เพราะการเยียวยารักษาจิตใจตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เด็กฟื้นฟูได้ดีกว่าปล่อยปัญหาไว้นาน ๆ
ปัญหาครูรังแกเด็ก ถือเป็นเรื่องความรุนแรงในโรงเรียนที่ใครก็ตามไม่ควรปล่อยผ่าน นอกจากวิธีรับมือข้างต้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถป้องกันปัญหานี้ได้ด้วยการหมั่นสังเกตและติดตามการดำเนินชีวิตลูกอย่างใกล้ชิด พูดคุยกันสม่ำเสมอ มีเวลาให้ลูกอย่างเต็มที่ หากเกิดปัญหาอะไรก็จะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที
ขอบคุณข้อมูลจาก : understood.org, bbc.com, เฟซบุ๊ก ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย, เฟซบุ๊ก เลี้ยงลูกนอกบ้าน