ทำไมต้องฉีดวัคซีนระหว่างท้อง (Mother & Care )
การหาความรู้ และมีการเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับลูกและแม่ได้เป็นอย่างมาก เช่น การกินโฟเลทก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้ร่างกายแม่ มีสารตัวนี้เพียงพอป้องกันภาวะกะโหลกศีรษะไม่ปิดใน ทารกอย่างได้ผล หรือการเตรียมสุขภาพร่างกายของคุณแม่ให้แข็งแรง ก็ช่วยลดปัญหาระหว่างการตั้งครรภ์ไปได้มาก
การฉีดวัคซีนก็เช่นเดียวกัน ครอบครัวที่มีการวางแผนที่ดีนั้นมักจะมีการตรวจเลือด ตรวจร่างกายทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อเช็คดูว่า มีโรคร้ายแรงที่จะส่งผลต่อลูก หรือสุขภาพของตนเองหรือไม่ รวมทั้งภูมิต้านทานโรคที่มีอยู่ในตัวว่าพร้อมหรือยัง ถ้ายังไม่มีและสามารถฉีดวัคซีนได้ คุณหมอมักจะแนะนำให้ฉีดก่อนตั้งครรภ์ เป็นเวลา 3 เดือน เช่น วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน วัคซีนตับอับเสบเอ เป็นต้น
สำหรับวัคซีนที่คุณหมอจะให้ฉีดระหว่างตั้งครรภ์ก็คือ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ซึ่งการฉีดวัคซีนนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี
1.เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน
ฉีด 2 ครั้งระหว่างตั้งครรภ์ และฉีด 1 ครั้งหลังคลอด โดย ครั้งแรกฉีดระยะแรกของการตั้งครรภ์ ครั้งที่ 2 เว้นระยะห่างจากครั้งแรก อย่างน้อย 1 เดือน ส่วนครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่ 2 อย่างน้อย 6 เดือน
2. กรณีที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้ว
ถ้า...
เคยฉีดมาแล้ว 1 ครั้ง จะฉีดเพิ่ม 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์
เคยฉีดมาแล้ว 2 ครั้ง จะฉีดเพิ่ม 1 ครั้ง ระหว่างตั้งครรภ์
เคยฉีดมาแล้ว 3 ครั้ง แต่เกิน 5 ปี ฉีดกระตุ้นอีกเพียง 1 ครั้ง
เคยฉีดมาแล้ว 3 ครั้ง และยังไม่เกิน 5 ปี ไม่จำเป็นต้องฉีด
และนับรวมทุกเข็ม แม้จะเคยตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ก็ตาม
ทำไมต้องฉีดป้องกันบาดทะยัก
ถ้าเด็กแรกเกิดได้รับเชื้อโรคบาดทะยักจะมีความรุนแรงมาก สมองจะได้รับความเสียหาย สมองฝ่อ มีภาวะปัญญาอ่อน และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งเชื้อบาดทะยัก อาจจะเข้าสู่ร่างกายบริเวณสายสะดือที่ถูกตัด ถ้าเครื่องมือทำการคลอดไม่สะอาดพอก็อาจติดเชื้อได้ และในเด็กทารกที่สายสะดือยังไม่แห้ง ก็มีโอกาสติดเชื้อได้เช่นกัน คุณแม่จึงจำเป็นต้องรักษาความสะอาดสะดือตามขั้นตอนที่พยาบาลแนะนำ
การฉีดวัคซีนในช่วงตั้งครรภ์นั้น จะทำให้ทารกมีภูมิคุ้มกันอยู่ชั่วคราว ดังนั้นคุณหมอจึงแนะนำให้คุณแม่ฉีดวัคซีนตัวนี้นั่นเอง
การฉีดวัคซีนให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น นอกจากวัคซีนป้องกันบาดทะยักแล้ว โดยทั่วไปจะไม่มีการฉีดให้ ยกเว้นจำเป็นจริง ๆ เช่น ต้องเดินทางไปในเขตที่มีการระบาดของโรค ซึ่งต้องอยู่ในดุลยพินิจของคุณหมอด้วย เพราะต้องคำนึงถึงอัตราการเสี่ยงของตัวคุณแม่ และลูกในท้อง
วัคซีนที่สามารถฉีดได้ เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ โปลิโอชนิดกิน โรคพิษสุนัขบ้า ไวรัสตับอักเสบเอ ไวรัสตับอับเสบบี วัณโรค ไอกรน คอตีบ เป็นต้น
เรื่องราวผู้หญิง ความสวยงาม แฟชั่น ความรัก มากมาย คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อน ๆ ได้ที่นี่ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก