
ก่อนตั้งครรภ์ คุณแม่ควรวางแผนไปตรวจสุขภาพและปรึกษาคุณหมอสำหรับคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เได้ค่ะ รวมทั้งอาการ HELLP Syndrome หรือครรภ์เป็นพิษรุนแรง ในแม่ตั้งครรภ์นในช่วงไตรมาสที่สาม แต่หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และพบคุณหมอติดตามอาการอย่างใกล้ชิดก็จะปลอดภัยทั้งแม่และลูก และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดน่ารู้ดี ๆ จากนิตยสาร รักลูก พร้อมวิธีรับมือครรภ์เป็นพิษรุนแรง มาฝากกันค่ะ
หากแม่ท้องมีอาการจุกใต้ลิ้นปี่ หายใจไม่ออก ปวดหัว ตามัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน นี่คือสัญญาณฉุกเฉินของภาวะครรภ์เป็นพิษ และที่สำคัญอาจเป็นชนิดรุนแรงเป็นพิเศษหรือ HELLP Syndrome
HELLP คาดว่าเกิดจาก...
การฝังตัวของเนื้อรกที่ไม่ดี ทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงถุงการตั้งครรภ์ไหลเวียนไม่ดี ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เซลล์บริเวณที่เกิดการฝังตัวมีภาวะขาดออกซิเจน และหลั่งสารกระตุ้นความผิดปกติของร่างกายแม่ขึ้นมา จนเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษหรือภาวะครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรงได้
HELLP Syndrome
คืออาการครรภ์เป็นพิษชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ เสี่ยงแท้งหรือเสียชีวิตทั้งแม่และลูก เพราะ



ระดับ HELLP

มีความรุนแรงน้อย ความดันจะสูงเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท เจอไข่ขาวในปัสสาวะ ขาบวม ส่วนใหญ่จะพบตอนท้องแก่ใกล้คลอด อาจรุนแรงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงที่จะต้องให้คลอดก่อนกำหนด

มีอาการความดันจะสูงเกิน 160/110 มิลลิเมตรปรอท หรือมีลักษณะที่บ่งชี้ต่างของการทำงานที่ผิดปกติ ของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ค่าการทำงานของตับและไตผิดปกติ มีอาการทางระบบประสาท หรือน้ำท่วมปอด แม่ท้องจะปวดหัวมาก ความดันอาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้อวัยวะภายในร่างกายต่าง ๆ เริ่มตามัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน จุกใต้ลิ้นปี่ หรือปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หายใจไม่ออก และหากมีอาการชักด้วยจะรุนแรงมากที่สุด ต้องยุติการตั้งครรภ์ เพราะมีโอกาสเสียชีวิตทั้งแม่และลูกได้ แต่โอกาสเกิดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับครรภ์เป็นพิษธรรมดาและแบบรุนแรงทั่วไป หรืออาจเรียกได้ว่ารุนแรงเป็นพิเศษ ลักษณะจะคล้ายกับครรภ์เป็นพิษแบบรุนแรงแต่พบว่าผลเลือดมีความผิดปกติที่เป็นลักษณะจำเพาะดังที่กล่าวไปข้างต้น
HELLP เสี่ยงเป็นตอนไหน
เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ท้องแรก และเกิดซ้ำในท้องที่สองได้ แม่ท้องที่มีภาวะความดันโลหิตสูงหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ แต่ส่วนใหญ่จะพบในแม่ท้องไตรมาสสามเป็นต้นไป แม่ที่ท้องตอนอายุน้อยหรือมากเกินไป รวมถึงแม่ท้องกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น แม่ท้องที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับหลอดเลือด อาทิ โรคไต เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
การรักษาแม่และลูก





ป้องกัน HELLP ด้วยการดูแลตัวเอง





HELLP Syndrome แม้รุนแรงและเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก คุณหมอติดตามดูแลใกล้ชิด และทันท่วงที ให้ยาป้องกันอาการชัก ส่วนใหญ่จะปลอดภัยทั้งแม่และลูกค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ปีที่ 33 ฉบับที่ 394 พฤศจิกายน 2558